วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำไมเราต้องขูดหินปูน

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อรับประทานอาหาร เศษอาหารที่ตกค้างจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในช่องปากและสารประกอบในน้ำลายรวมกันเป็น "แผ่นคราบจุลินทรีย์" หรือที่เราเรียกว่า ขี้ฟันเมื่อเราแปรงฟังไม่สะอาดทำให้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์หลงเหลือจะพอกพูนหนาตัวขึ้นร่วมกับการตกตะกอนของแคลเซียมในน้ำลายร่วมด้วยทำให้เกิดหินปูน ซึ่งมีลักษณะแข็งสีคล้ายฟัน หรือเข้มจากการติดสีจากอาหารที่ทาน อยู่ติดเแน่นกับฟันทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกเท่านั้น

ทำไมเราต้องขูดหินปูน ??

เพราะไม่มีใครสามารถแปรงฟันได้สะอาดทุกซอกทุกมุม ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสที่จะมีหินปูน หินปูนเป็นแหล่งสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและมีการขับสารพิษที่เป็นกรดออกมาทำลายอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกว่าโรครำมะนาด

อาการของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวม แดง นิ่ม
  3. เหงือกแยกตัวออกจากฟัน
  4. มีคราบจุลินทรีย์ มีหินปูนเกาะบริเวณคอฟัน
  5. มีกลิ่นปาก
  6. มีหนองบริเวณคอฟัน
  7. ฟันโยกจากการทำลายกระดูกรองรับฟัน
การรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนอาการก็จะดีขึ้น
โรคปริทันต์ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งเป็นการกำจัดหินปูนที่เกาะบริเวณรากฟัน กรณีมีฝีหนองเกิดขึ้นก็จะทำการขูดกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออกไป กรณีที่มีฟันโยกมา ๆ จากการทำลายกระดูกรองรับฟันอาจพิจารณาถอนออกไป

การป้องกัน
  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยครั้งละ 2 - 3 นาที วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง และตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟันได้โดยใช้ลิ้นสัมผัสตามผิวฟัน ถ้าสะอาดแล้วจะมีความรู้สึกลื่นไม่สาก  มองด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีคราบขุ่น ๆ ที่ซอกเหงือกและฟัน
  2. พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุก 6 เดือน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการสะสมตัวของหินปูน
  4. ในบางกรณี การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดได้หมดจดโดยเฉพาะตามซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยเสริมในการทำความสะอาดด้วยเช่นไหมขัดฟัน

คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค : โทร.0-5392-1777 ต่อ 1326  
เวลาทำการ: 
จ - ศ    08.00 - 20 .00 น.
ส - อา  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์  08.00 - 16.00 น. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...