วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

มารู้จัก...โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร  โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุของทางเดินอาหารส่วนปลายที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนมีลักษณะเป็นก้อนขึ้นมา รวมถึงสามารถที่จะกระจายไปยังที่อื่น ๆ ได้ด้วยซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเป็นปีหรืออาจจะหลายปีได้ ในประเทศไทยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในผู้หญิงเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับและมะเร็งปอด



สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
         สาเหตุสของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่ที่ทราบคือปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้โอกาสการเกิดมะเร็งสูงขึ้น แม้จะไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงก็ตาม

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1.อายุ 50 ปี หรือมากกว่า
2.ประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว โดยเฉพาะถ้าบุคคลนั้นเป็นญาติสายตรงและได้รับการวินิจฉัยว่า
    เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี
3. มีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งรังไข่, มะเร็งมดลูก และ มะเร็งเต้านม
4. มีประวัติเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
5. มีประวัติเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease)
6. โรคอ้วน
7. สูบบุหรี่


อาการอะไรที่ควรสงสัยหรือควรมาปรึกษาแพทย์
1. นิสัยในการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลง เช่น มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเกิดขึ้นใหม่ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย
2. มีความรู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด
3. ขนาดของอุจจาระเล็กลงหรือลีบลงกว่าปกติ
4. อุจจาระมีมูกเลือดหรือสีดำคล้ำ
5. มีอาการแน่นท้อง, ท้องอืด หรือ ปวดท้อง
6. มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย, หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
     โดยทั่วไปแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองในประชากรทั่วไปอายุ 50 ปีหรือมากกว่า, หรือบุคคลที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการตรวจคัดกรอง  ได้แก่ การตรวจหาเลือดในอุจจาระ, การเอกซเรย์สวนแป้งตรวจดูลำไส้ใหญ่, การส่องกล้องตรวจดูลำไส้ใหญ่

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
       แพทย์ก็จะทำการซักประวัติ, การตรวจร่างกาย, การตรวจหาเลือดในอุจจาระ, การเอกซเรย์สวนแป้งตรวจดูลำไส้ใหญ่หรือการส่องกล้องร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวิจิจฉัยทางพยาธิวิทยา จากนั้นแพทย์ก็จะทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประเมินระยะของโรคและวางแผนในการรักษาต่อไป

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
      การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับระยะและำตำแหน่งที่เป็น ซึ่งในปัจจุบันการรักษาได้พัฒนามากขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย การรักษานั้นประกอบไปด้วยการผ่าตัด, การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่ใช้ในการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัด หรือการรักษาในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายก็ตาม, และการรักษาประคับประคอง เช่น การฉายรังสีเพื่อควบคุมอาการปวดและอาการอื่น ที่เกิดจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคมะเร็ง เป็นต้น

การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้มาก ๆ
2. ควบคุมการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน
3. ออกกำลังการสม่ำเสมอ
4. งดบุหรี
5. ทำการตรวจคัดกรองกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการที่สงสัย



บทความโดย...พญ.เบญจวรรณ เกษมเศรษฐ์
อายุรแพทย์โรคมะเร็ง โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...