วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โรคทอลซิลอักเสบ (Tonsillitis)

โรคทอลซิลอักเสบ(Tonsillitis)
         
     ทอลซิลอักเสบเป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล ส่วนคออักเสบ
(Phayngitis)หมายถึงภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ บางครั้งอาจเกิดเพียงทอลซิลอักเสบหรือคออักเสบอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อพูดว่าต่อมทอลซิลอักเสบ จะหมายความถึงการอักเสบของต่อมทอนซิลซึ่งโดยมากเป็นทั้งสองข้างและมักมีอาการของหลอดคอหอยร่วมด้วย
สาเหตุของต่อมทอลซิลอักเสบ
         เมื่อร่างกายติดเชื้อจากผู้อื่นทำให้เชื้อในคอมีปริมาณมาก ต่อมทอลซิลซึ่งมีหน้าที่กรองเชื้อจะบวมแดง โตและเจ็บเกิดภาวะที่เรียกว่าต่อมทอลซิลอักเสบ(Tonsillitis) สาเหตุขึ้นกับอายุ เด็กโตหรือผู้ใหญ่จะเกิดจากเชื้อที่เรียกว่า Streptococcus ส่วนเด็กมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส

อาการของต่อมทอลซิลอักเสบ
1.มีอาการเจ็บคอ อาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยมากจะเจ็บมากกว่า 48 ชั่วโมง
2.กลืนอาหารลำบากโดยเฉพาะ เวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก สำหรับเด็กจะมีอาการน้ำลายไหลเนื่องจากกลืนลำบาก
3.มีอาการไข้ หนาวสั่น ไข้จะสูงหรือไข้ต่ำๆขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วย เชื้อที่เป็นสาเหตุหากเป็นเชื้แบคทีเรียจะมีไข้สูง
4.หากต่อมอักเสบเฉียบพลันจะมีไข้สูง หากต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังไข้จะต่ำๆ
5.คัดจมูก มีน้ำมูกแต่ไม่มาก น้ำมูกมักใส
6.ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
7.ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเจ็บหูเพราะการอักเสบของต่อมทอนซิลอาจจะส่งผลถึงการอักเสบของหู
8.อาจจะมีอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร
9.อาจมีต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอส่วนบน โตทั้งสองข้าง
10.มีกลิ่นปาก
11.มีจุดหนองที่ต่อมทอลซิลและต่อมน้ำเหลืองโตกดเจ็บ



การรักษาต่อมทอลซินอักเสบ
          ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่นๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7วัน


การรักษาโดยการผ่าตัด
          ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดโดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาตัดต่อมทอนซิลก็ต่อเมื่อ เป็นภาวะต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือเกิดการอักเสบปีละหลายครั้ง หลายปีติดต่อกันทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เช่นต้องขาดงาน หรือขาดเรียนบ่อย หรือเมื่อต่อมทอลซิลโตมากๆทำให้เกิดอาการนอนกรน และ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อีกทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยมีต่อมทอลซิลโต และแพทย์สงสัยว่า อาจเป็นมะเร็งของต่อมทอลซิลโดยตรง หรือมีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอแล้วหาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ แต่แพทยืสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมทอลซิล
          ฉะนั้นในการป้องกันโรคต่อมทอลซิลไม่ให้ลุกลามไปมากควรรีบพบแพทย์เพื่่อรักษาและวินิจฉัยเพิ่มเติมเมื่อมีอาการไม่ดีขึ้น เช่นมีอาการมากกว่า 4 วันโดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย และในการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ควรที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และเมื่อมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นทอลซิลอักเสบ(หรือมีไข้ เจ็บคอ) ควรพยายามอย่าอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและระวังอย่าให้ผู้ป่วยไอหรือจามรด อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย และหมั่นล้างมือเพื่อชะล้างเชื้อที่อาจติดมากับมือที่ไปสัมผัสถูกสิ่งของที่แปดเปื้อนของผู้ป่วย เพียงเท่านี้


วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด


สภาวะติดเชื้อราในช่องคลอด หมายถึงภาวะที่เชื้อราที่มีชื่อว่า แคดิดา แอลบิแคนส์(Candida Albicans) เติบโตมากผิดปกติ จนทำให้มีอาการคันและตกขาวบริเวณช่องคลอด หรือปากช่องคลอด สภาวะใดก็ตามที่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในช่องคลอด มักเป็นสาเหตุให้เชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น


          เชื้อราในช่องคลอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสตรีทั่วไป ซึ่งมักพบว่าเป็นเชื้อราตรงจุดซ่อนเร้น      ร้อยละ 40 โดยการแสดงอาการติดเชื้อราพบมากเป็นอันดับต้นๆ แต่จะไม่เกิดปัญหาถ้าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หากระบบสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนจากกรดเป็นด่าง จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรามากขึ้น



ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอด
          1. ภาวะตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณสารไกลโคเจน ซึ่งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ปริมาณฮอร์โมนที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เชื้อรามีปริมาณมากขึ้นเช่นกัน
          2. โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ดี
          3. การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเกินไป จะไปทำลายเชื้อต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้น
          4. การรับประทานยาเสตียรอยด์ เพราะจะลดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
          5. ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์
          6. การใส่กางเกงที่คับมาก และอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น
      7. ภาวะที่คู่นอนมีการติดเชื้อรา


อาการ
          อาการเริ่มแรก ตกขาวจะมีสีขาวหรือเหลืองเป็นก้อนคล้ายนมบูด มีกลิ่นที่ผิดปกติ โดยช่องคลอด จะเกิดการระคายเคือง จนทำให้คันมากจนแทบทนไม่ได้
          อาการรุนแรงมาก จะคันมาถึงบริเวณขาหนีบและมีอาการแสบ แดง และระคายเคืองอย่างรุนแรงได้ บางคนอาจจะรู้สึก แสบในช่องคลอดเวลาถ่ายปัสสาวะ



วิธีป้องกัน

          1. กินโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด จะสามารถช่วยลดอัตราการเป็น เชื้อราในช่องคลอดได้
          2. กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย
          3. หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ภาวะแพ้อาหารทำให้อาการของโรคแย่ลง
          4. ผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุให้โรคกำเริบ
          5. หลีกเลี่ยงกางเกงชั้นในที่รัดแน่น ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบาย
          6. การทำความสะอาด ควรใช้น้ำสะอาดเท่านั้น
          7. ควรตากกางใน ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และต้องให้โดนแสงด้วยเพราะเชื้อราพวกนี้จะตายด้วยความร้อน
          8. ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาใดๆ ล้างช่องคลอด เพราะนั่นคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง ควรทำความสะอาดด้วยสบู่ธรรมดา และไม่ควรล้างภายในช่องคลอด
          9. ก่อนและหลังร่วมเพศให้ปัสสาวะออกให้หมดกระเพาะปัสสาวะ
          ฉะนั้นเพื่อให้ห่างไกลจากภาวะเชื้อราในช่องคลอดเราควรจะรู้จักปรับสมดุลชีวิต รวมทั้งอย่าลืมป้องกันตัวเองจากภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ อีกทั้งถ้ามีอาการดังกล่าวเบื้องต้นอย่าอายที่จะมาพบแพทย์นะค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะนี้ลุกลาม 

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก



         มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้หญิงไทย โดยส่วนมากพบในผู้หญิงช่วงอายุ 35-50 ปี ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อไวรัส ฮิวแมนแพปพิลโลมา หรือHPV(Human papilloma) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถ้าหากมีการติดเชื้อดังกล่าว เชื้อไวรัส HPV จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูกโดยอาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือบางรายอาจจะใช้เวลานานถึง     15 ปีกว่าอาการจะสำแดงออกมา


          ทั้งนี้เชื้อไวรัส HPV มีมากว่า 40 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่พบการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากที่สุดได้แก่ สายพันธุ์เบอร์ 6 ,11,16,18 แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งมากที่สุดคือสายพันธุ์ 16 และ 18 ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ นั้นจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงและมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้น้อย


ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก       

       
1.การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี เพราะช่วงอายุดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูก และมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
HPV
        2.มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส และหนองใน
        3.สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้น 1.3 เท่า และหากรับประทานติดต่อกันนาน 10 ปี ก็อาจจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เท่า
        4.ผู้หญิงที่มีการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
        5.การสูบบุหรี่  เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
        6.ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วแต่สามีเที่ยวโสเภณีก็มีความเสี่ยงที่จะนำเชื้อ HPV มาสู่ภรรยา


อาการและอาการแสดง
         มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมากขึ้นแล้ว มักจะมีอาการเหล่านี้แสดงออกมา

          1.มีตกขาวแบบผิดปกติ ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็น และมีสีเข้มๆออกสีน้ำตาลแก่
          2.ประจำเดือนมาไม่ปกติ บางครั้งอาจจะมาแบบกะปริบกะปรอย หรือบางครั้งอาจจะมามากและนานกว่าปกติ
          3.มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยเลือดที่ออกมานั้นไม่ใช่รอบประจำเดือน ลักษณะของเลือดจะออกแบบกะปริบกะปรอย
          4.รู้สึกเจ็บและมีเลือดออกในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ และหลังมีเพศสัมพันธ์
          5.มีเลือดออกหลังตรวจภายใน หรือสวนล้างช่องคลอด
          6.อยู่ในวัยทอง แต่มีเลือดออกคล้ายๆประจำเดือน
          7.อ่อนเพลีย และหน้ามืดบ่อยครั้ง
          8.เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
          9.ปวดท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน เนื่องจากเชื้อมะเร็งลุกลามไปกดทับเส้นประสาท
          10.หากโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระยะลุกลาม เชื้อมะเร็งจะลามไปสู่อวัยวะอื่นๆทำให้มีอาการอื่นๆตามมาเช่น ปวดหลัง ขาบวม ปัสสาวะและถ่ายเป็นเลือดเป็นต้น

         
           มะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบสุดอันตรายที่คุกคามสุขภาพผู้หญิง หลายคนกว่าจะรู้ว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกก็สายเกินแก้ไขจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต แต่ในความอันตรายนั้นก็ใช่ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ หากแค่เพียงเรารู้วิธีการป้องกันตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม และไม่ควรอายที่จะไปตรวจภายในหรือตรวจหาเชื้อไวรัส
HPV ทุกปี เท่านี้คุณสาวๆ ก็สบายใจหายห่วงได้แล้วค่ะ


วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ภัยเงียบจากยุงลาย

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ภัยเงียบจากยุงลาย


โรคติดเชื้อไวรัสซิกา หรือ โรคไข้ซิกา คืออะไร ???

      โรคติดเชื้อไวรัสซิกา หรือ โรคไข้ซิกา คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (Flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มี ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค โรคนี้ส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง อาการโรคไม่รุนแรง มีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ การติดเชื้อในสตรีมีครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในเด็กแรกเกิด (Microcephaly ) หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ



อาการของโรคคือ
·       มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส
·       ตาแดง เยื่อบุตาแดงอักเสบ
·       อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
·       ปวดเมื่อยตามแขนขา และลำตัว หรือปวดข้อ
·       มีผื่นแดงขึ้นตามลำตัว ผื่นมีลักษณะเป็นปื้นหนาๆ

หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการเหล่านี้จะทุเลาลงภายในเวลา 2 - 7 วัน


การรักษา
ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาได้โดย
·       พักผ่อนให้เพียงพอ
·       ดื่มน้ำมากๆ
·  หากมีไข้แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
***หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์



       สำหรับประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกาตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2559) มีทั้งหมด 23 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย โดมินิกัน นิการากัว เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาม เวเนซุเอลา เปอร์โตริโก บาร์เบโดส โบลิเวีย เอกวาดอร์ กัวเดอลุป กายอานา หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และเกาะเซนต์มาร์ติน เพื่อความปลอดภัย




โดยมีคำแนะนำสำหรับประชาชน

      คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ที่คลอดมามีสมองเล็กหรือมีภาวะแทรกซ้อน


      สำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา (ประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน) ขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์ ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทยมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ  สามารถมารับการรักษาและปรึกษาได้ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร  โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล  และสามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

กรมควบคุมโรค ได้เตรียมจัดทำประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องโรคไข้ซิกา" เพื่อให้ประชาชนตระหนักในมาตรการป้องกันโรคและช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่
1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
2. เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆบ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย แ3.เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยให้ดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  สายด่วนกรมควบคุมโรค   โทร.1422



โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...