วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images

 โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder) 

          ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆทางจิตเวช อย่างเช่นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพล่าร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้น เหมือนกินน้ำตาลมากในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเบาหวาน

Embed from Getty Images

          โรคไบโพล่าร์หรือที่เราเรียกว่าโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ มีอารมณ์สองขั้วที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน แบบที่หนึ่ง มีพฤติกรรมเศร้า และแบบที่สอง มีอาการพลุ่งพล่านหรือเรียกว่าแบบเมเนีย อารมณ์ของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆไป อาจมีอาการแบบแรกคือแบบเศร้าก่อน แล้วสักพักก็จะมีอาการเมเนีย บางคนอาจมีอาการแบบเมเนียก่อน แล้วจึงมีอาการแบบเศร้าขึ้นมา หรืออาจจะสลับกับอาการปกติต่อเนื่องกันไป

Embed from Getty Images

 สาเหตุการเกิดโรคไบโพล่าร์ 

        โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น  จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือมีความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม

Embed from Getty Images

 อาการ 

อาการของโรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกทางอารมณ์ มีอาการ 2 แบบดังนี้

  1. อาการระยะซึมเศร้า ระยะของอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเบื่อหน่าย อ่อนไหว ซึมเศร้า อยู่ๆก็ร้องไห้ เบื่ออาหาร หลงๆลืมๆขาดความมั่นใจในตนเอง มองสิ่งต่างๆรอบตัวในแง่ลบไปหมด
  2. อาการระยะเมเนีย ระยะนี้จะผิดแปลกจากอารมณ์ที่มีความเศร้าปกติ จะอารมณ์ดี มีความมั่นใจในตนเอง คิดเร็ว ทำเร็ว คล่องแคล่ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ป่วยจะมีความขยันขันแข็ง มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง ต้องทำทุกอย่างไปหมด มีความอดทนน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆหากจะทำอะไรก็จะทำทันที จะแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อมีใครขัดขวาง ทำให้ไม่พอใจ
Embed from Getty Images

 8 สัญญาณเตือนของโรคไบโพล่าร์ 


  1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ คือเมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นงานต่างๆที่ยังค้างคายาวเป็นหางว่าวคือหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไบโพล่าร์
  2. มีอาการต่างๆของโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอน ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง
  3. พูดเร็ว จะพูดเร็วขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้น หรือพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้างและมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ
  4. หงุดหงิดง่าย ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะถึงจุดที่มีความหงุดหงิดเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของความสัมพันธ์ต่างๆกับคนรอบข้าง
  5. ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้ทั้งสองอย่างเพื่อช่วยคลายอาการซึมเศร้าระหว่างที่อยู่ในช่วงซึมเศร้า
  6. อารมณ์ดีมากเกินไป(ไฮเปอร์)
  7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน เขามักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากจึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาภายหลัง ทำให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆที่พวกเขาไม่มีทางทำหากอยู่ในภาวะปกติ


Embed from Getty Images

 การรักษา 

         สำหรับการรักษาโรคความผิดปกติ ไบโพล่าร์ แพทย์จะมีการใช้ยาเป็นวิธีหนึ่งในการรักษา โดยจะมีการจ่ายยาไปพร้อมๆกับการให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและจัดการกับปัญหาต่างๆได้มากขึ้น ผู้ป่วยต้องได้รับยาต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งราว 1-2 ปี หากน้อยกว่านี้อาจจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ซ้ำได้

Embed from Getty Images

       ผู้ป่วยไบโพล่าร์ ขอเพียงความเข้าใจ เพราะผู้ป่วยโรคนี้ไม่ใช่อารมณ์ร้ายเพียงเพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่ใช่คนนิสัยเอาแต่ใจหรือเห็นแก่ตัว แต่เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติจากความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย ฉะนั้นเราต้องเข้าใจ เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รู้ไว้ก่อนวิ่ง!!!

Embed from Getty Images

 รู้ไว้ก่อนวิ่ง!!! 

             ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าคนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกินคลีน การออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนมากที่สุดในตอนนี้ คือ เทรนด์การวิ่งที่คนทุกเพศ ทุกวัย เริ่มหันมาสนใจมากขึ้น ทั้งการวิ่งช้าวิ่งเร็ว ซึ่งจะเห็นได้จากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการวิ่งทั้งการแข่งขันวิ่ง หรือแม้กระทั่งการวิ่งเพื่อการกุศล เนื่องด้วยในระยะการวิ่งที่ไม่ไกลและไม่น้อยจนเกินไป คือระยะ 10.5 กิโลเมตร หรือที่เราเรียกกันว่า มินิมาราธอน เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่นักวิ่งสายสุขภาพนิยมกันมาก เพราะเป็นระยะทางพอเหมาะสำหรับการออกกำลังกาย  ในการวิ่งนั้นเราต้องมีความเตรียมพร้อมร่างกายก่อน ซึ่งหากเตรียมตัวไม่ถูกวิธีก็สามารถสร้างอันตรายแก่ร่างกายแทนที่จะพัฒนาให้แข็งแรงกว่าเดิม

Embed from Getty Images

 “10 วิธีการเตรียมตัวก่อนการวิ่ง รวมถึงการปฏิบัติที่ถูกวิธีสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่” 

  1. ในการฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมควรเริ่มจากน้อยๆก่อน เช่นวิ่งหรือเดินต่อเนื่องประมาณ 10 นาที ในสัปดาห์แรก และค่อยๆพัฒนาให้ใช้เวลามากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งควรจะใช้เวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
  2. ในแต่ละช่วงอายุจะมีการเตรียมตัวต่างกันออกไป ในวัยรุ่นสามารถเตรียมตัวซ้อมได้หนักมากกว่า ส่วนผู้สูงอายุที่อยากลองวิ่งเป็นครั้งแรกและยังเป็นนักวิ่งหน้าใหม่ ควรเริ่มจากระยะน้อยๆก่อน เช่นระยะ 3-5 กม. เพื่อเป็นการฝึกตัวเอง ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่ระยะ 10 กม.ต่อไป
  3. เมื่อจะเริ่มวิ่ง ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อหนักในช่วง 2 ชั่วโมง ก่อนการวิ่ง และควรดื่มน้ำสะอาดก่อนการวิ่ง 30 นาที จำนวน 1-2 แก้ว หรือประมาณ 100-200 ซีซี
  4. เราสามารถประเมินความพร้อมเบื้องต้นก่อนเข้าร่วมวิ่งมินิมาราธอน หรือการวิ่งมาราธอนอื่นๆ ได้ด้วยวิธี” Talk Test” โดยการให้ออกกำลังกายไประยะหนึ่ง แล้วลองพูดคุยดูว่ายังสามารถพูดรู้เรื่องหรือพูดออกมาเป็นประโยคได้หรือไม่ หากยังพูดรู้เรื่องอยู่สามารถเพิ่มความหนักการฝึกซ้อมได้ หากพูดได้แค่คำ ก็แสดงว่าออกกำลังกายหนักไป
  5. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หากอยากวิ่งควรไปพบแพทย์ก่อน เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าสภาพร่างกายเรานั้นพร้อมสำหรับการวิ่งหรือไม่ และเพื่อดูว่าร่างกายเรานั้นไหวสำหรับระยะทางเท่าใด
  6. การแต่งตัวสำหรับมือใหม่หัดวิ่งนั้น ควรดูที่ปัจจัยทางการเงินของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองมาก ก็สามารถเข้าร่วมได้ โดยควรเป็นชุดที่ใส่คล่องตัว ส่วนรองเท้าอาจใส่เป็นรองเท้าหุ้มส้นได้ แต่สำหรับใช้ในการวิ่งระยะยาวนั้นไม่แนะนำ เพราะอาจเกิดปัญหาด้านร่างกาย
  7. สำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ ควรจะตั้งเป้าฝึกซ้อมจากน้อยๆก่อน เช่นตั้งเป้าวิ่งระยะ 10 กม. ก็ควรฝึกซ้อมเริ่มจาก 500 เมตร- 1กิโลเมตร และค่อยๆเพิ่มจำนวนไปทีละขั้น ไม่ควรเพิ่มระยะทางการฝึกซ้อมเร็วเกินไป ซึ่งในแต่ละระยะทางการวิ่ง ก็จะมีการเตรียมตัวที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่โปรแกรมการฝึกซ้อมที่แต้ละบุคคลตั้งขึ้น
  8. นักวิ่งหน้าใหม่ หากลงวิ่งสนามจริงแล้วรู้ตัวว่าไม่ไหวจริงๆก็ไม่ควรฝืนวิ่งต่อ และควรพบเจ้าหน้าที่ประจำจุด อีกทั้งการออกจากการแข่งขันก่อนถึงเส้นชัยก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
  9. ในระยะทางที่เพิ่มขึ้นมาจากการซ้อม มากกว่า 6 กิโลเมตร นั้นสามารถสร้างอันตรายให้แก่นักวิ่งได้ โดยต้องมองว่าระยะทางที่เพิ่มขึ้นมานั้น ไม่ใช่ใกล้ๆ อาจทำให้เกิดตะคริวและอาการบาดเจ็บสูง เนื่องจากเหนื่อยเพราะเกินขีดความสามารถของตนเอง
  10. ก่อนการวิ่งควรจะมีการวอร์มอัพ-คลูดาวน์ โดยสามารถวอร์มอัพร่างกายได้โดยการอบอุ่นร่างกายก่อนลงวิ่งจริงประมาณ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อการทำกิจกรรม และควรยืดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่ง และหลังจากวิ่งเสร็จควรทำคลูดาวน์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกลับสู่สภาวะปกติของร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้โดยการลดความเร็ว การวิ่งให้ช้าลง หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ 10-15 นาที พร้อมด้วยเหยียดมัดกล้ามเนื้อ

Embed from Getty Images

ในการวิ่งมินิฮาล์ฟ มาราธอน และการวิ่งมาราธอนประเภทอื่นๆจะช่วยในการเสริมสร้างร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตรวมไปถึงระบบหายใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น โดยการวิ่งเป็นกีฬาที่ออกกำลังกายได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ อีกทั้งการวิ่งยังเป็นพื้นฐานของกีฬาทุกชนิดที่ต้องมีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น ปิงปอง ยิงปืน ปาเป้า ก็ต้องใช้ทักษะการวิ่งเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น


วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

มะเร็งปอด(Lung Cancer)

Embed from Getty Images

 มะเร็งปอด(Lung Cancer) 

             มะเร็งปอด คือ การเติบโตของเซลล์ปอดอย่างควบคุมไม่ได้ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอกในปอดในบางครั้งอาจเป็นเนื้อดี(ไม่ใช่มะเร็ง)หรือเนื้อร้าย(มะเร็ง)ก็ได้ มะเร็งปอดจะเกิดขึ้นบริเวณท่อลมหรือเนื้อเยื่อปอดซึ่ง เรียกว่า มะเร็งปอดปฐมภูมิ แต่หากมะเร็งที่แพร่กระจายไปปอดผ่านทางกระแสเลือด เรียกว่า มะเร็งปอดทุติยภูมิ โดยการเรียกชื่อมะเร็งจะขึ้นอยู่กับ ต้นกำเนิดของมะเร็ง เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายมาปอดก็ยังคงเรียกว่ามะเร็งเต้านมเหมือนเดิม

Embed from Getty Images

              มะเร็งปอดส่วนใหญ่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ และเนื่องจากมะเร็งปอดมีการลุกลามเร็ว เมื่อมีอาการแสดงชัดเจนมักตรวจพบว่าเป็นระยะท้ายรักษาไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นทางที่ดีควรหาทางป้องกันด้วยการไม่สูบบุหรี่ ซึ่งร้อยละ 80-90 มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ซึ่งมีสารก่อมะเร็งอยู่หลายชนิด ยิ่งสูบปริมาณมากและนาน ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นแม้แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่รับควันบุหรี่จากคนข้างเคียง(เช่น คนในบ้านเดียวกัน หรือในที่ทำงานที่สูบบุหรี่)มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ถ้าเลิกสูบ ก็จะลดความเสี่ยงลงได้

Embed from Getty Images

 สาเหตุของมะเร็งปอด 

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด รวมไปถึงการสูบบุหรี่มือสองด้วยการสูดดมควันบุหรี่ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การสัมผัสกับแร่ใยหิน การสัมผัสกับก๊าซเรดอน กินผักผลไม้น้อย เคยเป็นดรคปอดบางอย่าง เช่น วัณโรค และเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นโรคเอดส์

Embed from Getty Images

 อาการของโรคมะเร็งปอด 

มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น สามารถสังเกตได้จาก
  1. อาการไอเล็กน้อยเกือบตลอดเวลาและไอมากขึ้นเรื่อยๆหรือไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
  2. ไอปนเลือด
  3. หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
  4. เจ็บหน้าอก
  5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  6. ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ

นอกจากนี้ยังมีบางอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อย เช่น หายใจมีเสียงวีด รูปร่างของปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนแปลงไป ไข้ขึ้นสูง กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ ใบหน้าและคอมีอาการบวม

Embed from Getty Images

 การวินิจฉัยมะเร็งปอด 

          แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น และทำการถ่ายภาพรังสีทรวงอก หากอาการหรือภาพรังสีทรวงอกเข้าได้กับมะเร็งปอด คุณจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางทรวงอกเพื่อได้รับการดูแลต่อไป โดยแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย รวมถึงระบุระยะของโรคมะเร็งด้วยการทำ CT scan และ การส่องกล้องทางหลอดลม

Embed from Getty Images

 ระยะของมะเร็งปอด 

 ระยะที่ 1  มะเร็งจำกัดอยู่ภายในปอด อาจลุกลามถึงหลอดลม หรือเยื่อหุ้มปอดชั้นใน แต่ยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
 ระยะที่ 2  มะเร็งลุกลาม ไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด หรือรอบๆ หลอดลม หรือลุกลามไปยังผนังทรวงอก(กระดูก ซี่โครง) กะบังลม เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก หรือเยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก
 ระยะที่ 3  มะเร็งลุกลาม ไปยังผนังทรวงอก กะบังลม เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก ร่วมกับแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอดหรือรอบๆหลอดลม หรือไปยังเนื้อเยื่อภายใน หัวใจ ท่อลม หลอดอาหาร หรือกระดูกสันหลัง หรือแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าหรือประจันอก ข้างเดียวกัน หรือแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดหรือประจันอกในทรวงอกข้างตรงข้าม
 ระยะที่ 4  มะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆที่นอกปอด เช่น สมอง ไขสันหลัง ตับ กระดูกทั่วร่างกาย เป็นต้น

Embed from Getty Images

 การรักษามะเร็งปอด 

          เมื่อได้รับผลการวินิจฉัยที่แน่นอนว่าเป็นมะเร็งปอด แพทย์จึงสามารถระบุถึงวิธีที่ใช้ในการรักษาได้ แต่ทั้งนี้ยังต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบกันด้วย เช่น ความรุนแรงของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นใด ชนิดของมะเร็งปอด วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล หรือแม้แต่โอกาสในการรักษามะเร็งให้หายขาด เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยหลักๆการรักษามี 3 วิธี คือ
  1. การผ่าตัด (Surgery) 
  2. การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือคีโม(Chemotherapy)
  3. การฉายแสง(Radiation Therapy)
Embed from Getty Images

 การป้องกันโรคมะเร็งปอด 

โรคมะเร็งปอดยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
  1. ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่
  3. เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  4. ป้องกันตนเองจากมลภาวะหรือควันพิษ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Embed from Getty Images

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

ภูมิแพ้ในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้


Embed from Getty Images

 ภูมิแพ้ในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้!!! 

          ภูมิแพ้เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการตอบสนองที่มากผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่นผิวหนัง เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่มาก อาจจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปทุกวันทำให้เด็กมีโอกาสเป็นภูมิแพ้สูงขึ้น ถ้าเด็กเป็นแล้วสุขภาพโดยรวมจะแย่ไปด้วย การเจริญเติบโตก็จะช้าไม่เป็นไปตามช่วงวัย

Embed from Getty Images


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ในเด็ก


  • ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ถึงร้อยละ20-40 และร้อยละ 50-80 ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่อาจจะไม่ได้เป็นภูมิแพ้ชนิดเดียวกันหรือแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกัน ก็ตาม
  • ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ร้อยละ 15 ไม่ได้มีพ่อหรือแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ แต่เกิดจากการอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่นไรฝุ่น แมลงสาป การเลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น สุนัข แมว เป็นต้น ตลอดจนการได้รับมลพิษทางอากาศเช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ หรือการรับประทานนมจากสัตว์ เช่น วัวหรือแพะ รวมทั้งนมถั่วเหลืองในช่วงอายุ 6 เดือนแรกเกิดแทนที่จะเป็นนมแม่ ก็เกิดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้

Embed from Getty Images



ข้อสังเกตที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ และหมั่นสังเกตอาการดังนี้คะ

  1. เป็นหวัดบ่อยเป็นเกือบทุกเดือน
  2. คัดจมูก ชอบขยี้จมูก มีน้ำมูกใส
  3. บางคนมีอาการคันตา เคืองตา ขยี้ตาตลอดเวลา
  4. หายใจติดขัด แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อยง่าย
  5. บางคนทานอาหารบางอย่าง เข้าไปอาจมีผื่นขึ้น
Embed from Getty Images


โรคภูมิแพ้ในเด็กที่พบบ่อยได้แก่


  1.  โรคหืด  เกิด จากทางเดินหายใจที่บวม ตีบแคบลง ซึ่งถูกกระตุ้นโดยปฎิกิริยาภูมิแพ้หรือสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย จะมีอาการหายใจเสียงดัง”วิ๊ด” หอบ แน่นหน้าอก อาจเกิดอาการในตอนกลางคืน ขณะออกกำลัง หรือขณะเป็นหวัด
  2.  โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้  มีอาการ จาม คัน คัดจมูก มีน้ำใส เป็นเรื้อรัง หลายสัปดาห์ ในช่วงฤดูฝน หรือตลอดทั้งปี
  3.  โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง  มี ผื่นคัน จนผิวหนังแดง เป็นเรื้อรัง โดยจะพบในเด็กเล็กและมีอาการมากเมื่อมีสิ่งกระตุ้นเช่น ร้อนเหงื่อออก แพ้อาหาร เป็นต้น
  4.  ผื่นลมพิษ  จะมีอาการคัน บวม ผื่นขึ้นนูนหนาของผิวหนัง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้ยาและอาหารบางชนิด นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดก็เป็นสาเหตุที่พบได้
  5.  แพ้อาหาร  เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาแพ้โปรตีนใน อาหาร ก่อให้เกิดอาการได้หลายๆระบบ ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร จะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายมีมูกปนเลือด อาการทางผิวหนัง มีผื่นขึ้น ลมพิษ หรือระบบทางเดินหายใจเช่น หอบ คัดจมูก มีน้ำมูกเรื้อรัง อาหารที่พบว่าเป็นสาเหตุได้บ่อยๆคือ นมวัว        นมถั่วเหลือง ไข่ และแป้งสาลี เป็นต้น และอาการแสดงมักจะเริ่มต้นในขวบปีแรกและมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ
  6.  เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้  มีอาการแสบตา คันตา น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อย จนขอบตาช้ำ สีคล้ำ โดยพบบ่อยร่วมกับอาการเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้

Embed from Getty Images


วิธีการป้องกันให้เด็กๆห่างจากอาการภูมิแพ้

  1. ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้าน
  2. ภายในห้องนอน ควรมีเฉพาะเครื่องนอนและของใช้ที่จำเป็น ไม่ควรสะสมหนังสือรวมทั้งการใช้พรมทั้งห้องและในบ้าน
  3. ควรทำความสะอาดเครื่องนอน รวมไปถึงผ้าม่าน เครื่องปรับอากาศ เป็นประจำ
  4. ผู้ปกครองไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้านหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่
  5. เด็กที่เป็นโรคหืด ผู้ปกครองควรให้ออกกำลังกายเป็นประจำ หากมีอาการหอบหลังการออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาคุมอาการอย่างสม่ำเสมอ จะป้องกันอาการหอบได้และใช้ยาขยายหลอดลมเมื่อมีอาการ
  6. กำจัดเศษอาหารและขยะต่างที่อาจก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงสาป


Embed from Getty Images

          ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกด้วยว่าเป็นภูมิแพ้หรือไม่ จากข้อสังเกตหรืออาการจากข้อมูลดังกล่าวที่ให้ไว้เบื้องต้น เราควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะป้องกันได้ก่อนตัวโรคจะลุกลามรวมทั้งพาลูกไปพบแพทย์เมื่อมีอาการมากขึ้น อีกทั้งให้เด็กเจริญเติบโตเป็นไปตามช่วงวัย และมีสุขภาพที่ดี




วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาวะปัสสาวะเล็ด


Embed from Getty Images

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดขึ้นได้กับทุกคน เราอาจจะเคยคิดว่าปัญหาหูรูดเสื่อมสภาพ ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการปัสสาวะเล็ดเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ในเด็กเล็กๆ วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงวัยกลางคน และผู้สูงอายุ

Embed from Getty Images

ภาวะปัสสาวะเล็ด คือปัญหาสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้องรังที่พบมากในผู้หญิงทั่วโลก อาการปัสสาวะเล็ด แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก มักพบในคนที่มีโรคทางระบบประสาทและสมองร่วมด้วยโดยมีปัสสาวะไหลตลอดเวลาจนต้องใช้แผ่นอนามัยซับ แค่เดินปกติหรือเดินเร็วหน่อยปัสสาวะก็เล็ดแล้ว กลุ่มที่สอง ปัสสาวะเล็ดเวลาออกแรงโดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่นไอ จาม เล่นกีฬา ยกของหนัก กลุ่มนี้จะพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด และกลุ่มที่สาม เรียกว่ากระเพาะปัสสาวะไวเกินไป เมื่อเริ่มรู้สึกปวดกำลังจะลุกไปเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะมักเล็ดออกมาเสียก่อนและจะมีอาการปัสสาวะบ่อย

4 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด

Embed from Getty Images

  •  กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง   เกิดจากกล้ามเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกราน มีการยืด หย่อนยานและอ่อนแรง หูรูดท่อปัสสาวะซึ่งอยู่ในกล้ามเนื้อส่วนนี้ด้วยก็เลยพลอยอ่อนแรงไปด้วย  ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ เกิดการเปิดออก ปล่อยให้ปัสสาวะเล็ดออกมา อาจเกิดจากการคลอดบุตรหลายคน อายุที่มากขึ้น หรือแม้แต่กรรมพันธุ์
  •  กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง   โดยปกติแล้ว แม้กระเพาะปัสสาวะจะเต็มแล้ว ก็จะไม่มีการปล่อยปัสสาวะออกมา ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะปัสสาวะ แต่สำหรับคนที่มีปัญหา แม้จะยังไม่อยากปล่อยก็กลั้นไมอยู่
Embed from Getty Images

  •  ความอ้วน   พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลทำให้เกิดการเพิ่มแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะขึ้นนั่นเอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเล็ดของปัสสาวะได้บ่อยๆ รวมถึงน้ำหนักตัวที่มากขึ้น อาจทำให้เกิดการยืดขยายของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานมากไป เช่นเดียวกับคนที่ตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเกิดอาการหย่อนยาน ไม่แข็งแรง
  •  การรับประทานอาหาร   อาหารที่รับประทานก็มีผลอย่างมากต่อกระเพาะปัสสาวะ เพราะก่อให้เกิดความระคายเคืองกับกระเพาะปัสสาวะ เช่นกลุ่มผลไม้ตระกูลส้มทั้งหลาย เครื่องดื่มพวกน้ำอัดลมทุกชนิด ชา กาแฟ และช๊อคโกแลต 

อาการปัสสาวะเล็ด

Embed from Getty Images
  • มีปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม โดยเกิดขึ้นมากกว่า 7 ครั้งต่อวัน
  • รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน และมีปัสสาวะเล็ดออกมาก่อนถึงห้องน้ำเป็นประจำ
  • ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ(มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้ง) โดยไม่มีการติดเชื้อหรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • ปัสสาวะราดโดยไม่รู้ตัว มักมีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
  • พบปัสสาวะหยดเปื้อนกางเกงชั้นใน หลังปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

แนวทางการรักษา

Embed from Getty Images

  1. เปลี่ยนพฤติกรรม พยายามอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อีกทั้งควรงดเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้มีอาการปวดปัสสาวะโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยๆได้
  2. ฝึกกลั้นปัสสาวะ  โดยการขมิบหูรูด ลักษณะเหมือนตอนที่กลั้นปัสสาวะ ทำอย่างน้อยวันละ  100 ครั้ง แล้วเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อยๆ วิธีนี้ต้องมีความอดทน เพราะต้องใช้เวลานับเดือนกว่าจะเห็นผลและควรทำต่อเนื่องเพื่อลดการเกิดซ้ำ
  3. บริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรง เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และได้ผลดี เพียงขมิบกล้ามเนื้อหูรูดอย่างแรงเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ และขมิบทำเช่นนั้นนานประมาณ 5 นาที หยุดขมิบ 10 วินาที แล้วทำซ้ำ ให้ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง ในตอนเช้า กลางวัน เย็น ทุกวันแล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งของการขมิบ
Embed from Getty Images

ที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่นไอ จาม หัวเราะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยยา หรือการรักษาด้วยยาไม่บรรลุเป้าหมาย    ในการรักษา แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาแบบอื่น เช่นการฉีดสาร Botulinum toxin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติก  ทำการกระตุ้นเส้นประสาท Sacral หรือ tibial ด้วยไฟฟ้า และทำการผ่าตัด เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561

คุณเป็นโรคซึมเศร้า....หรือไม่


Embed from Getty Images

หลายๆครั้งเมื่อเรารู้สึกเศร้า มักทำให้เรากังวลใจว่า เรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าแล้วหรือไม่ แต่ในความจริงแล้ว การเป็นโรคซึมเศร้านั้น ผู้ป่วยต้องมีความผิดปกติ ทั้งด้าน อารมณ์ ความคิด บางคนมักมีอาการทางกายร่วมด้วย โดยสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า นอกจากจะมาจากปัจจัยความเครียดต่างๆในชีวิตแล้ว มักต้องมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น ความผิดปกติการหลั่งสารเคมีในสมอง ประวัติด้านพันธุกรรม เป็นต้น


 “6 คำถามกับโรคซึมเศร้า”

1.โรคซึมเศร้าต่างจากอารมณ์เศร้าทั่วไปยังไงคะ

Embed from Getty Images

ตอบ    “อารมณ์เศร้า” เป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ มักเกิดเมื่อเราต้องเจอกับความผิดหวัง ความสูญเสีย การไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ ส่วนใหญ่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันจะคงอยู่ซักพักแล้วก็จะค่อยๆจางหายไปเองหรือเมื่อทำกิจกรรมที่ชอบก็จะรู้สึกอารมณ์ดีมากขึ้น แต่ “โรคซึมเศร้า”นั้นอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นจะคงอยู่เกือบตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัปดาห์เป็นเดือนหรือเป็นปีๆ ทำให้มีลักษณะเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ใจ ขาดความสนใจจากสิ่งที่เคยชอบ ขี้ลืมบ่อยมากขึ้น มีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และในรายที่รุนแรงก็อาจมีความคิดอยากตายหรือการฆ่าตัวตายร่วมด้วย ที่สำคัญอาการต่างๆเหล่านี้จะต้องส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงาน การเรียน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จึงจะนับว่าเป็นโรคซึมเศร้า

2.โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไรคะ

Embed from Getty Images



ตอบ    โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน ได้แก่
  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะ สารซีโรโทนิน นอร์อดรีนาลีน และโดปามีน
  • ปัจจัยกระตุ้นทางจิตสังคม เช่น การสูญเสีย การจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก ปัญหาภายในครอบครัว
  • ปัจจัยทางด้านเพศ พบว่าเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า
  • ปัจจัยทางกรรมพันธุ์พบว่าคนที่มีญาติพี่น้องสายตรงป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วๆไป 

3.อาการสำคัญของโรคซึมเศร้าที่เราจะสังเกตได้มีอะไรบ้างคะ

Embed from Getty Images

ตอบ    9 สัญญาณเตือนที่อาจเป็นโรคซึมเศร้า
  • มีอารมณ์ซึมเศร้าติดต่อกันทั้งวัน ทุกวัน
  • ทำกิจกรรมที่เคยชอบแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเหมือนเดิม
  • น้ำหนักลด หรือเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร หรือรู้สึกอยากทานมากกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับ หรืออาจต้องการนอนมากเกินไป
  • ทำอะไรช้าลง หรือหงุดหงิดง่ายมากขึ้น
  • อ่อนเพลีย มักไม่มีเรี่ยวแรง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • เหม่อลอยบ่อย ไม่ค่อยมีสมาธิ จดจ่อ ขี้ลืมบ่อยมากขึ้น
  • คิดหมกหมุ่น เรื่องความตาย

4.ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าคะ

Embed from Getty Images

ตอบ    เมื่อสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า การไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ประโยนช์ที่จะได้จากการไปพบแพทย์ ได้แก่

1.ได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยตามเกณฑ์ทางการแพทย์
2.ได้รับการตรวจเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าโรคทางกายบางโรค มักมี  อาการซึมเศร้าร่วมเกิดขึ้นได้ เช่นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น SLE เป็นต้น
3.ได้รับการตรวจประเมินความรุนแรงของโรคซึมเศร้า
4.ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายและอาการทางจิต เช่นเริ่มมีหูแว่ว/เห็นภาพหลอน ซึ่ง อาการดังกล่าวเป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง ควรรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด
5.ได้รับการบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวม ทั้งการกินยา การทำจิตบำบัด การให้คำแนะนำ และการจัดการปัญหา ที่เป็นสาเหตุ


5.เราจะดูแลสุขภาพจิตเรายังไงได้บ้างคะเมื่อรู้ว่ากำลังซึมเศร้า

Embed from Getty Images

ตอบ    
  • เราควรหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่มีความตึงเครียดรุนแรง
  • หากิจกรรมเพื่อความผ่อนคลาย เมื่อรู้ตัวว่าตนเองเริ่มเครียดมากขึ้น เช่นการดูหนัง ฟังเพลง พูดคุย กับคนสนิท เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หยุดการตำหนิและโทษตัวเอง
  • รู้จักให้กำลังใจตนเอง
  • ฝึกคิดบวก ทั้งต่อตัวเอง สังคม และผู้อื่น
  • ตั้งเป้าหมายไม่สูงหรือยากเกินไปควรเริ่มใช้วิธีตั้งเป้าหมายเล็กๆในชีวิตประจำวัน เพราะเมื่อทำสำเร็จ จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆ
  • เมื่อต้องมีสิ่งสิ่งที่ต้องจัดการหลายอย่าง ควร ค่อยๆเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำก่อนหลัง
  • เฝ้าระวังความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง ต้องบอกคนใกล้ชิดให้ทราบเสมอเมื่อมีความคิดถึงความ ตาย/ความไม่อยากมีชีวิตอยู่


6.เป็นโรคซึมเศร้าไม่ต้องกินยาได้ไหมคะ

Embed from Getty Images

ตอบ    การดูแลรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกัน กรณีซึมเศร้าชนิดไม่รุนแรง อาจจะไม่ต้องกินยาต้านก็ได้ อาจใช้การปรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ออกกำลังกาย ปรับวิธีคิด ฝึกคิดบวก การทำจิตบำบัด การนั่งสมาธิ หรือปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะทำให้โรคดีขึ้น แต่ถ้าหากเป็นโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง การกินยาต้านเศร้า จะมีบทบาทสำคัญต่อการหายของโรคค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งยาต้านซึมเศร้าจะไม่มีฤทธิ์ให้เกิดการเสพติดยา แต่อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้ การดูแลโดยจิตแพทย์ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนให้มากที่สุด


โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...