คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป
มักจะละเลยในเรื่องของอาหารการกินและการควบคุมอาหาร
รวมถึงไม่ค่อยใส่ใจกับการออกกำลังกายด้วย
โดยอาจจะคิดแค่ว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหายเหมือนกับโรคทั่วๆไป
ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้
ดังนั้นการควบคุมอาหารและรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย
ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาและป้องกันโรคเบาหวานได้
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามรับประทาน ได้แก่ ลูกอม ลูกกวาด ไอศกรีม ขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ช็อกโกแลต ขนมหวานทุกชนิด รวมถึงน้ำแข็งใสที่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำเชื่อมด้วย
- ผลไม้ที่มีรสหวาน รวมถึงผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม เช่นทุเรียน เงาะ ลำไย มะม่วงสุก ลูกพรุน ลูกพลับ อินทผลัมตากแห้ง ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง
- เครื่องดื่ม ให้ระวังน้ำอัดลมเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ใกล้ตัวที่สุดรองลงมาจากน้ำเปล่า ถัดมาเป็นน้ำผลไม้ซึ่งส่วนมากจะมีรสหวานทั้งจากตัวผลไม้เอง และจากน้ำเชื่อมที่เติมลงไป เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่น และน้ำแอปเปิ้ล แต่ถ้าอยากดื่มน้ำผลไม้ให้เลือกเป็นน้ำมะเขือสด เพราะจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จำพวกเบียร์และไวน์ด้วยเช่นกัน
- อาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ ไขมันนม เนย ครีม
หากจะห้ามของหวานกันทุกอย่างแบบนี้
ผู้ป่วยโรคเบาหวานคงไม่ได้ลิ้มรสความหวานกันเลยตลอดชีวิต
แต่เรามีทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการความหวานอย่างปลอดภัย
ซึ่งก็คือการใช้สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือที่เราเรียกกันว่าน้ำตาลเทียม
ซึ่งมีรสหวานแต่ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่แอสพาร์แทม แซคคารีน หรือขัณทสกร
ซูคราโลส และน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล และแมนิทอล รับรองว่าปลอดภัยแน่นอนคะ
2.อาหที่ารรับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ”
ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน
และทุกมื้อให้หลากหลายชนิดในหนึ่งวัน อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่แคลอรี่ต่ำ
และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยซับน้ำตาล
ไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้พอดี
ได้แก่ ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ มะเขือ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า
ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปของผักสด หรือผักต้มก็ได้
แต่ไม่แนะนำในรูปของน้ำผักปั่น โดยเฉพาะน้ำผักปั่นแยกกาก
ทำให้เราได้รับใยอาหารไม่ได้มากเท่าที่ควร
3.อาหารที่รับประทานได้ แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ
อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ข้าว
ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ
อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาลและมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ
ใยอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล
และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ผู้เป็นโรคเบาหวานจึงไม่ควรงดหรือจำกัดจนเกินไป
ควรได้รับให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ
การจำกัดข้าวหรือแป้งมากเกินไปกลับเป็นผลเสีย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดอาจต่ำ
เกิดอาการหิว ส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้การดูดซึมช้าลง
ได้แก่ พวกเมล็ดธัญพืชไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และถั่วเมล็ดแห้ง
เป็นต้น
ฉะนั้นการจะควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่หมัด
จำเป็นต้องลดทั้งหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก
รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอดูแลทั้งหมดนี้ไปพร้อมๆกัน
ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะดูแลสุขภาพของเราได้อย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น