วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นอนกรน..หลับลึกหรือหลับร้าย???


     อาการนอนกรน หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาและอาจจะมองข้ามไป แต่แท้จริงแล้วการนอนกรนเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายถึงระบบการหายใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณหยุดหายใจก็เป็นได้. ความผิดปกตินี้จะส่งผลเสียกับคุณทั้งทางด้านสุขภาพ และ การดำเนินชีวิตประจำวัน.

     ดังนั้นหากท่านมีอาการตื่นมาตอนเช้าแล้วมีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่นเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม หรือมีอาการง่วงเหงาหาวนอนทั้งวันเลย หรือมีอาการเหมือนภาพด้านล่างนี้ เป็นไปได้ว่าคุณอาจอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการ หยุดหายใจขณะนอนหลับ



     ในทางการแพทย์มีการรักษาอาการนอนกรน เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เพื่อช่วยรักษาอาการดังกล่าว  โดย การตรวจการนอนหลับ ซึ่ง เป็นวิธีตรวจทางห้องปฎิบัติการ  วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยและประเมินพยาธิสภาพ ในขณะหลับนอน
 
      เนื่องจากการนอนหลับของมนุษย์โดยทั่วไปเริ่มจากการ ค่อย..ๆ..ง่วง..และง่วงมากขึ้นจนเข้าสู่ระยะหลับ..และการเข้าสู่ภาวะหลับจะเกิดขึ้นเป็นวงจรในแต่ละคืนซืึ่งวงจรนี้จะใช้ เวลา 1.5 - 2 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก หลับตื้น - หลับลึก - หลับ ลึกมาก และเริ่มหลับตื้นใหม่เป็นเช่นนี้ตลอดทั้งคืนจนเช้า

      มนุษย์เราจะมีวงจรการหลับนี้ 4-5 วงจรขึ้นอยู่กับความต้อง การของแต่ละบุคคลส่วนอาการที่อาจตรวจพบจะสามารถ พบได้ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ระยะหลับหรืออาจพบเมื่อหลับไปนาน   กว่า 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นในแต่ละคน หรือ บาง ราย พบความผิดปกติเพราะในท่านอนหงาย หรือพบในช่วงหลับลึก มากเท่านั้น
     ดังนั้นการตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจเพื่อหาความ ผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะหลับจึงจำเป็นต้องตรวจ ในเวลาที่หลับ ปกติเพราะต้องใช้เวลาในการตรวจนาน 6 - 8 ชั่วโมง ในการ ตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดมีขึ้น

การตรวจการนอนหลับทำกันอย่างไร 

     การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ ทันสมัย โดยการติดอุปกรณ์ตามส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายที่ เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ คือ
  1. ติดอุปกรณ์ที่ศีรษะ หางตา หลังหู และคางเพื่อดูการหลับของคลื่นสมองและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ
  2. ติดอุปกรณ์ที่จมูก หน้าอก หน้าท้อง และ นิ้วมือ เพื่อดูความผิดปกติของการหายใจขณะหลับไม่ว่าจะเป็นลมหายใจที่สูดเข้าออกหรือการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหายใจทั้งหน้าอก และ หน้าท้อง ที่จะต้องสัมพันธ์กัน
  3. วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดที่ได้จากการหายใจว่าเพียงพอต่อร่างกายหรือไม่ โดยสามารถบอกได้ว่าการหลับในคืนนั้นคลื่นไฟฟ้าสมอง แสดงการหลับเป็นอย่างไรหลับได้คุณภาพมากน้อยเพียงไร หลับได้ลึกหรือตื่นบ่อยมากน้อยเพียงไรจากสาเหตุไหนมีการ ละเมอหรือไม่     การหายใจและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหายใจเป็น อย่างไร สัมพันธ์กันดีหรือไม่ มีความผิดปกติมากหรือน้อย อย่างไร คลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับเป็นเช่นไร มีการกระตุก ของกล้ามเนื้อแขนขาหรือไม่ ซึ่งต้องเฝ้าดูในขณะตรวจตลอด เวลาเพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะพบความผิดปกติส่วน ใดในเวลาไหน
สิ่งที่ผู้ตรวจการนอนหลับจะได้รับหลังการตรวจ

1. รู้ว่าการนอนของท่านอันตรายมากน้อยเพียงไร
2. ผลการตรวจดูจากกราฟการนอนหลับจะแสดงช่วงการนอนหลับตลอดทั้งคืน
3. คำแนะนำหลังจากวินิจฉัยจากแพทย์
     
การเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจการนอนหลับ


1. ต้องสระผมให้สะอาดก่อนมารับการตรวจ
2. ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมที่ผม  เพราะการติดอุปกรณ์ที่หนัง
   ศีรษะ จำเป็นต้องให้บริเวณที่ติดอุปกรณ์ไม่มีไขมันเพื่อให้
   สัญญาณกราฟคมชัด และสามารถอ่านระดับการนอนหลับ
   ได้ถูกต้อง
3. ห้ามทาแป้งหรือครีมที่บริเวณใบหน้า คอ และขา เพราะ
   จะทำให้อุปกรณ์ที่ติดอยู่ได้นานตลอดทั้งคืน
4. ห้ามดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาตรวจ
    เพราะจะทำให้คุณภาพการนอนหลับผิดปกติ ในรายที่ดื่ม
    เป็นประจำไม่สามารถตรวจได้ ต้องให้แพทย์ที่รักษาทราบ
    ก่อนทำการตรวจ
5. ห้ามกินยาถ่าย ยานอนหลับ ก่อนมารับการตรวจเพราะจะ
    ทำให้การตรวจไม่ต่อเนื่องในรายที่กินยาถ่าย และในรายที่
    กินยานอนหลับจะทำให้การนอนหลับไม่เป็นไปตามปกติ
    ที่ควรเป็น ยกเว้นในรายที่แพทย์อนุญาตหรือจัดยา ให้รับ
    ประทานก่อนทำการตรวจ ทั้งนี้แพทย์ที่รักษาต้องแจ้งให้
    เจ้าหน้าที่ทราบด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...