วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphasia)

เรื่องโดย คุณอนุชิต อุปเวียง  : นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลแมคคอร์มิค


ภาวะกลืนลำบาก มักจะเกิดในผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรัง (myasthenia gravis) เนื้องอกที่ก้านสมอง(brainstem tumor) ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน (embolism) เส้นเลือดในสมองแตก (cerebaral hemorrhage) head lnjury ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด (mechanical deflcits) เช่น การผ่าตัดเอากล่องเสียงออก การใส่ท่อหายใจนาน ๆ ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง (CA laynx) มะเร็งของหลอดอาหาร เป็นต้น

จากประเภทต่าง ๆ ของผู้ป่วยดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากต้องรับอาหารทางสายยาง ซึ่งเป็นภาระของญาติในการจัดหาและเตรียมอาหารพิเศษ ผู้ป่วยเองก็ขาดโอกาสในการรับรสอร่อยของอาหาร หากผู้ป่วยได้รับคำแนะนำในการฟื้นฟูสมมรรถภาพด้านการกลืน ปัญหาที่จะเกิดกับผู้ป่วยและครอบครัวก็จะลดลง

ผลเสียจากการมีภาวะกลืนลำบาก

1. ขาดอาหาร (Malntrltion)
2. สำลักอาหาร (Aspiration)
3. หายใจขัด(Choking) ไอ(Coughing) หายใจไม่ออก (Gaging)
4. ปอดบวมจากการสำลักอาหาร  และน้ำเข้าปอด
     (Aspirated pneumonia)
5. ต้องให้ อาหารทางสายยาง(N-G tube) ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร(lrrutatuib of mucus    membrane) และขาดความสุขในการรับประทานอาหาร

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

1. ประเมินความสามารถในด้านการกลืนของผู้ป่วย
2. ให้การรักษาทางด้านกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับการกลืน
3. ให้คำแนะนำอุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหารหรือเลือกอาหารในการฝึกแต่ละระดัับ
4. ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น

ขั้นตอนในการกลืนอาหาร

1. จัดท่าผู้ป่วยในท่านั่ง  เข่างอ 90 องศา เท้าราบพื้น หลังตรงศรีษะอยู่กึ่งกลางกับเล็กน้อย
2. กระตุ้นกล้ามเนื้อควบคุมริมฝีปากและลิ้น
    2.1 Quick stretch ยึดกล้ามเนื้อปากโดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางที่มุมปากกดแรงลงแล้วปัดลงถ้าเป็นริมฝีปากล่าง ริมฝีปากบนปัดขึ้น
    2.2  การบริหารกล้ามเนื้อปาก เช่น ทำท่ายิ้ม...ทำปากจู๋..เคลื่อนไหวริมฝีปาก  ไปซ้าย - ขวาฝึกออกเสียง อา-อี-อู  เม้มปาก..อ้าปาก..ปิดปาก สลับกัน.

2.3. การบริหารกล้ามเนื้อลิ้น

2.3.1 ใช้ลิ้นแตะมุมปากทั้งสองข้างสลับกัน
2.3.2 ใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง สลับกัน
2.3.3.ใช้ไม้กดลิ้นดันด้านข้างของลิ้นผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยดันต้านกับไม้กดลิ้นทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
2.3.4. ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมาด้านหน้า
2.3.5. ฝึกออกเสียง ลา ๆๆๆ ทา ๆๆ

3. ตักอาหารในปริมาณเล็กน้อย (1/3-1/2่ ช้อนชา)
4. ให้ผู้ป่วยก้มศรีษะก่อนกลืนอาหาร
     4.1 ครั้งที่ 1 กลืนอาหารที่อยู่ในปากลงไป
     4.2 ครั้งที่ 2 กลืนซ้ำอีก 1 ครั้ง
     4.3 ตรวจดูว่ามีอาหารตกค้างอยู่ในปากหรือไม่ ก่อนป้อนอาหารคำต่อไป

** หมายเหตุ ถ้ามีอาการสำลักหรือไอเกิดขึ้นขณะกลืนอาหาร ให้ผู้ป่วยก้มหน้าลงทันที

ลำดับขั้นการเลือกอาหารในการฝึกกลืน

อาหารผู้ป่วยที่ภาวะกลืนลำบาก แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. Thick Puree - No liqlds อาหารในระดับนี้ยกตัวอย่าง เช่น  วุ้น เยลลี่ สังขยา
2. Thick and thin puree-thick liqulds เริ่มเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารระดับ 1 ได้ดี เช่น โจ๊กข้น ๆ  โยเกิร์ต
3. Mechanical soft-thick liquids เช่น ข้าวต้ม เนื้อปลา
4. Mechanical soft dlet - liquids as tolerated เป็นอาหารธรรมดาที่เคี้้ยวง่าย เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มเครื่อง

2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับ ขอบคุณ คุณอนุชิต อุปเวียง นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2555 เวลา 11:51

    ^^ขอบคุณนะคับ คุณอนุชิต อุปเวียง : นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
    สำหรับบทความดีดี ได้สาระมากเลยคับ จากนักโภชนาการ รพ.สวนดอก

    ตอบลบ

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...