วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อาหารเพื่อสุขภาพผู้เป็น เบาหวาน





         อาหารที่เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีไขมันสูง หรือต้องการลดน้ำหนัก พบว่าเป็นอาหารจากธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด ใช้น้ำมันน้อยที่สุด คือ อาหารเพื่อสุขภาพที่แท้จริง เช่น แกงจืด แกงเลียง ต้มยำปลาทู แกงป่า ต้มโคล้ง นึ่ง ย่าง ผักต่าง ๆ ที่มีเส้นใยอาหารมาก มีประโยชน์ทำให้อิ่มท้องนานและลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดี ระบบภายในกายสะอาดส่งผลให้ผิวพรรณสดใส

   การเลือกประเภทอาหาร  

1.  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

      1.1  น้ำนมรสหวาน เช่น นมปรุงแต่รสต่าง ๆ ไมโล โอวัลติน โยเกิร์ต รสผลไม้ นมข้นหวาน
              ยาคูลท์
      1.2  น้ำอัดลมทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง และ เครื่องดื่มพลังงานต่ำที่โฆษณาสำหรับผู้ป่วย
              โรคเบาหวาน
      1.3  ของขบเคี้ยวทอดกรอบ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด อาหารชุบแป้งทอด
              ต่าง ๆ ถั่วลิสง ข้าวเกรียบทอด
       1.4 ขนมทุกชนิด ที่ปรุงจาก น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิมะพร้าว
    • ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุ้กกี้ สาคูไส้หมู ขนมชั้น ข้าวเกรียบปากหม้อ ถั่วแปบ   ขนมราดด้วยกะทิ เช่น ครองแครง ข้าวเหนียวถั่วดำ กล้วยบวดชี ไอศครีม ขนมใส่น้ำแข็ง ราดน้ำเชื่อม
       1.5  ผลไม้หวานจัด เช่น น้อยหน่า ละมุด มังคุด ลำไย อ้อย ทุเรียน ขนุน เป็นต้น
       1.6  ผลไม้เชื่อ ดอง กวน แยมผลไม้ต่าง ๆ เยลลี่
       1.7  น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ น้ำลำไย
       1.8  ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่
       1.9  ผลไม้ตากแห้ง เช่น ลูกเกด กล้วยตาก
       1.10  อาหารหมักดอง อาหารเค็ม  เช่น ปลาร้า ผักดอง เต้าเจี๊ยว ถั่วเคลือบ แป้ง กะทิอบ

 2.   อาหารที่รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน

        2.1  ประเภทน้ำนม  เช่น นมสดรสจืด  นมพร่องมันเนย  นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง
        2.2  ผลไม้ เช่น ส้ม กล้าว สับปะรด มะละกอ แตงโม เงาะ ผลไม้เหล่านี้ ถ้ารับประทานมากไปจะ
                ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ควรรับประทานตามปริมาณที่กำหนดให้แต่ละมื้อ
        2.3  อาหารจาก ข้าว แป้ง น้ำตาล เช่น ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน
                มักกะโรนี เผือก มัน ข้าวโพด มันฝรั่ง วุ้นเส้น
        2.4 ไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก ในรายที่ไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรรับประทานไข่
                สัปดาห์ละ 3 ฟอง ส่วนผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงอาจรับประทานสัปดาห์ละ 2 ฟอง เพราะไขแดง
                มีสารที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง แต่รับประทานไข่ขาวได้ทุกวัน ชนิดของไข่ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด
        2.5 ไขมัน
    • ไขมันจากจากสัตว์มีสารทำให้ไขมันในเลือดสูง  ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ ขาดเลือด ชนิดไขมัน ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันวัว มันกุ้ง ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม
    • ควรใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดังกล่าวมีกรดไลโนเลอิค
      เป็นกรดไขมันช่วยลดไขมันในเลือดได้
    • ควรหลีกเหลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มและ น้ำมันมะพร้าว เช่น ครีมเทียมผสมกาแฟ
    • น้ำตาล  การปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เครื่องดื่มควรโรยน้ำตาลเพียงเล็ก น้อย ไม่ให้รสหวานจัด ตลอดจนสารที่ให้ความหวานทุกขนิด เช่น น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายขาว-แดง น้ำมันมะพร้าวอ่อน น้ำตาลผลไม้บรรจุกล่อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ มี ผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงรวดเร็ว
    •  เกลือ อาหารที่ปรุงด้วยเกลือ หรืออาหารรสเค็มจัด จะทำให้เกิดโรคความตัดโลหิตสูง ควรหลีกเหลี่ยงอาหารที่มีเกลือ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสต่าง ๆ น้ำมันหอย ปลาเค็ม เต้าเจี๊ยว กะปี
    • อาหารสำเร็จรูป  ต้องจำกัดปริมาณเช่นเดียวกับอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำอัดลมไดเอทชนิดกระป๋อง คุ๊กกี้ไดเอท (บางชนิดมีเส้นใยอาหารสูงแต่ไม่เหมาะกับ โรคเบาหวาน)

3.    อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ



3.1  ผักใบเขียวที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ  ผักกลุ่มนี้ให้สารอาหารประเภท แป้ง น้ำตาลน้อย
               ได้แก่
    •  ผักกาด เช่น ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียว หัวผักกาดสด
    •  ผักใบเขียว เช่นผักกวางตุ้ง ผักตำลึง ผักบุ้งจีน คะน้า ผักตังโอ๋ สายบัว
    • ผักชนิดหัว  เช่น ฟักเขียว น้ำเต้า บวบ มะระ แตงกวา แตงร้าน มะเขือยาว ต้นหอม มะละกอดิบ พริกต่าง ๆ กะหล่ำปลี
3.2  ผักลักษณะเป็นผล หัว
    •  ผักตระกูลถั่ว  เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วงอก ถั่วงอกหัวโต ถั่วแขก ถั่วลันเตา
    •  ผักชนิดดอก
           -  หัว เช่น ดอกกะหล่ำ กระหล่ำปม ดอกหอม ดอกขจร ดอกแค ดอกกุ๋ยช่ายขาว
           -  ขิง แครอท หัวปลี หัวหอมเล็ก หัวหอมใหญ่ หน่อไม้ เห็ดฟาง หน่อไม้ฝรั่ง ต้นกระเทียม             
           -  ผักชนิดผล  เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ สะตอ
           -  ผักชนิดใบ  เช่น ชะอม สะเดา ผักขม ผักชี
3.3  เครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหารต่าง ๆ  เช่น น้ำส้มสายชู มะนาม พริกไทย มัสตาด และ ประเภทชา
        กาแฟไม่ใส่น้ำตาลหรือนมข้น

             การรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยากลำบาก เพราะหลายเรื่องเป็นสิ่งที่คนปกติกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน  เพียงแต่เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องเพิ่มความสนใจและความระมัดระวังเป็นพิเศษในบางเรื่อง จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น คนปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...