มะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อไวรัส human papillomavirus (HPV) ชนิดความเสี่ยงสูง
ซึ่ง สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อนี้อยู่ จึงพบบ่อยในสตรีที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
ได้แก่
- สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคน หรือ ถ้าสตรีคนนั้นมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายคนเดียว แต่ผู้ชายคนนั้นมีเพศสัมพันธ์กับสตรีหลายคน ก็จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกเช่นกัน
- การสูบบุหรี่จัด เป็นปัจจัยสำคัญ โดยไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
- การตั้งครรภ์และมีบุตรหลายคน
- ประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส หนองใน เชื้อรา หูดหงอนไก่
- สตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะรับประทานเกิน 10 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
- สตรีที่แต่งงานกับผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือผู้ชายเป็นมะเร็งที่องคชาต
- สตรีที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
3. มะเร็งปากมดลูกมักเกิดกับสตรีวัยทำงาน (มีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว) สำหรับประเทศไทย พบมากสุดในสตรีอายุ 45 – 50 ปี
4. มะเร็งปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจึงสามารถตรวจพบตั้งแต่เริ่มมี dysplastic cell
และรีบให้การรักษาซึ่งจะลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเวลาต่อมา
5. มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบบ่อยของมะเร็งปากมดลูก คือ การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือการมีตกขาวผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแผล มักไม่มีอาการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งชะล่าใจ นึกว่าไม่มีอาการผิดปกติอะไร จึงละเลยการตรวจภายใน
5. มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบบ่อยของมะเร็งปากมดลูก คือ การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือการมีตกขาวผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแผล มักไม่มีอาการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งชะล่าใจ นึกว่าไม่มีอาการผิดปกติอะไร จึงละเลยการตรวจภายใน
6. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีหลายวิธี ได้แก่
6.1 Pap smear (conventional
Pap smear) เป็นวิธีที่ใช้มานานกว่า 60 ปี ด้วยการป้ายเก็บเซลล์จากปากมดลูกลงบนแผ่นสไลด์ แช่แผ่นสไลด์ในน้ำยา
และส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการ ซึ่งเซลล์บนแผ่นสไลด์อาจมีมูกเลือดบดบัง
เซลล์ซ้อนทับกัน อาจบดบังเซลล์มะเร็งได้ ทำให้อ่านผลยาก การตรวจวิธีนี้มีความไวในการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น
53%
6.2 ThinPrep (liquid
based thin layer preparation Nanda) ในปี ค.ศ.1996 เริ่มมีการนำ วิธีนี้มาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยใช้ไม้กวาดยาง ป้ายเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วมาแกว่งในน้ำยาตินแพร็พ
มีลักษณะพิเศษ สามารถสลายมูกเลือดและเม็ดเลือดแดงได้
เซลล์บนกระจกแก้วจึงไม่มีมูกเลือดบดบัง เซลล์เรียงตัวแบบบาง
ค้นหาเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น ใช้ระบบคอมพิวเตอร์คัดกรองเซลล์และยืนยันเซลล์มะเร็งอีกครั้งด้วยนักเทคนิคการแพทย์
มีความไวในการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น
74% แนะนำสำหรับผู้หญิงตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3
ปี หรือผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
6.3 ThinPrep plus
HPV ด้วยการนำเซลล์ปากมดลูกที่ได้จากน้ำยาตินเพร็พไปตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีกลุ่มความเสี่ยงสูง
14 สายพันธุ์ เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคต
โดยมีความไวในการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น 100% แนะนำสำหรับผู้หญิงอายุ 30
ปีขึ้นไปหรือมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย
หากผลการตรวจเป็นลบทั้งคู่
หมายความว่ามีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะ 3 ปี
สามารถเว้นการตรวจได้ตามคำแนะนำของแพทย์
7. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำได้ง่าย ไม่เจ็บ
8. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพสูง
7. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำได้ง่าย ไม่เจ็บ
8. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพสูง
9. การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก มีอัตราการหายสูง
ภาวะแทรกซ้อนน้อยการตรวจคัดกรองที่ดีจะทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เป็นระยะแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น