โดย.... คุณศกุณตลา อินถา
หัวหน้าแผนกโภชนาการ
เชื่อไหมคะว่า…ทำได้จริง….
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
เชื่อไหมคะว่า…ทำได้จริง….
เรื่องมันเริ่มมาจาก…ผู้ป่วยสั่ง…ข้าวต้มปลา….DK จึงต้องสั่งซื้อปลามาจากตลาด…เราจะสั่งปลาทับทิมตัวละ 1 กิโลกรัมมาแล่เอาเฉพาะเนื้อปลามาใช้ แต่ด้วยนักโภชนาการมานั่งคิดว่าเมื่อเราแล่เอาเนื้อปลาออก จะเหลือเนื้อปลาที่ติดอยู่ตามก้างปลา แก้มปลา ความเสียดายก็เกิดขึ้น…เราลองเอาก้างปลาที่เหลือมาต้มแล้วแกะเนื้อปลาออกมาทำน้ำพริกปลา ลาบปลา แกงส้ม หรือขนมจีนน้ำยาเป็นต้น ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่าย การสั่งปลาลง 1-4 กิโลกรัมต่อเมนู
จากนั้นความเสียดายก็เกิดขึ้นอีก…เราเสียดายก้างปลาอีก…จึงมานั่งคิดกันว่า…เราจะเพิ่ม
มูลค่าของก้างปลาได้อย่างไรอีก
…และนี่คือจุดเริ่มต้นของงานวิจัย…
ศึกษาความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ของซุปก้อนแปรรูปจากหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้
จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้ มาผลิตเป็นซุปก้อน พบว่าสามารถทำได้ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในแผนกโภชนาการอาทิ หม้ออัดแรงดันที่มีความดัน 5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เครื่องปั่นอาหาร กระชอน แม้กระทั่งเครื่องปรุงรสต่างๆ สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารในแผนกโภชนาการได้ อีกทั้งยังตรวจพบคุณค่าสารอาหารต่างๆ ในซุปก้อนดังนี้
คุณค่าสารอาหารที่ตรวจพบ
|
ซุปก้อน 10 กรัม
|
แร่ธาตุทั้งหมด
|
3.533 กรัม
|
ไขมัน
|
0.636 กรัม
|
โปรตีน
|
1.155 กรัม
|
คาร์โบไฮเดรต
|
2.300 กรัม
|
น้ำ
|
2.376 กรัม
|
อีกทั้งยังปราศจากการใช้แอมโมเนียหรือยูเรีย และโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นวัตถุดิบหลักเหมือนเช่นซุปก้อนที่มีอยู่ขายกันในปัจจุบัน
ข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้
- จากการนำหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้ มาผลิตเป็นซุปก้อนครั้งนี้ ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในแผนกโภชนาการอาทิ หม้ออัดแรงดันที่มีความดัน 5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เครื่องปั่นอาหาร ซึ่งหากต้องนำหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้ จำนวนมากมาต้มและบดให้ละเอียดนั้น จะต้องใช้หม้ออัดแรงดันที่มีความดัน เครื่องปั่นอาหารที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ในการตรวจสอบหาคุณค่าสารอาหารในซุปก้อนที่ได้จากหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้ ในส่วนของ การวิเคราะห์แร่ธาตุนั้น ได้ทำการวิเคราะห์แร่ธาตุรวม ไม่ได้วิเคราะห์แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งน่าจะพบแร่ธาตุดังกล่าวในปริมาณมาก
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
- น่าจะทำการทดลองวิเคราะห์แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและแร่ธาตุอื่นๆ รวมทั้งตรวจหาเชื้อโรคที่ปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นในซุปก้อนที่ได้จากหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้เมื่อเวลาผ่านไป
- การดัดแปลงต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย
- ทำการจดสิทธิบัตร ซุปก้อนที่ได้จากหัวปลาและก้างปลาทับทิมที่เหลือใช้
- จัดทำเครื่องประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ซุปก้อนเพื่อการต่อยอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น