บทความโดย พญ.สิริรัตน์ วรปราณิ กุมารแพทย์
พลัดตกได้
2.
น้ำร้อนลวก เมื่อเด็กเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ จะชอบคว้าของ
ใกล้ตัว จึงอาจได้รับอันตรายจากของร้อน เช่น ถ้วยกาแฟ ชามน้ำแกง กาน้ำร้อน
เป็นต้น
3.
สำลักของอุดตันทางเดินหายใจ เด็กเรียนรู้ด้วยการเอาสิ่งที่สนใจเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้สำลักอุดตัน ทางเดินหายใจและทำให้สมองตาย
หรือเสียชีวิตได้ในเวลาเพียง 4 นาที
4.
ถูกกดทับปาก จมูก โดยเฉพาะจากการนอนคว่ำ ใช้หมอนขนาดใหญ่ อ่อนนิ่ม การใช้
ผ้าห่มใหญ่และหนา การมีตุ๊กตาตัวใหญ่
5.
ติดค้างจนขาดอากาศหายใจ
เช่น ติดที่ซี่กรงเตียง เสื้อผ้าเกี่ยวรัดกับมุมเสา ทำให้เกิด
การรัดคอจนขาดอากาศหายใจ
6.
เลือดออกในสมอง เมื่อเด็กร้องไห้แล้วจับตัวเขย่าให้เงียบ
ก่อให้เกิดเลือดออกในสมอง
และจอประสาทสมองพิการ ตาบอดหรือ เสียชีวิตได้
7.
บาดเจ็บทางรถยนต์ ทั้งจากการโดยสารรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการถูกรถชน
8.
จมน้ำ ตกน้ำ เด็กเล็กจมน้ำในอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำในบ้านได้บ่อย ขณะที่เด็กโตมีความเสี่ยง
ต่อการจมน้ำบริเวณละแวกบ้าน
เราป้องกันได้อย่างไร ?
1. เลือกของเล่นที่ปลอดภัย
ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นชิ้นเล็ก แตกหักง่าย และหลีกเลี่ยงของเล่นประเภทลูกกลมขนาดเล็ก เช่น ลูกหินและลูกแก้ว
ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เป่าลูกโป่งเอง ไม่เล่นปืนอัดลม
2.
ดูแลอาหาร ไม่ควรให้อาหารที่เป็นชิ้นแข็ง กลม เช่น ถั่ว
ผลไม้ที่มีเมล็ดกลมแข็ง ไส้กรอก เป็นต้น
3.
มีประตูกั้น ควรมีประตูกั้นทางขึ้นลงบันได ห้องน้ำ ห้องครัว
ปะตูทางออกนอกบ้าน เฉลียงและระเบียง และใส่กลอนไว้เป็นประจำ
เพื่อไม่ให้เด็กปีนป่ายโดยลำพัง
4.
ซี่ราวบันไดและระเบียง ต้องห่างกันไม่เกิน 8 ซม.
เพื่อกันไม่ให้เด็กลอดและศีรษะติดค้างได้
5.
ดูแลเฟอร์นิเจอร์ เช่นโต๊ะ ตู้ ต้องไม่มีมุม หากมี
ควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมขอบทุกมุม โต๊ะ ทีวี ของต่างๆต้องวางบนพื้นราบ มั่นคง
ไม่ล้มง่ายเมื่อเด็กโหนหรือปีนป่าย หากไม่แน่ใจให้ยึดติดโต๊ะหรือตู้นั้นด้วยสายยึดกับกำแพง
6.
ไม่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเล่นน้ำโดยลำพังไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำ
กะละมังหรืออ่างอาบน้ำ เด็กเล็กที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้านและละแวกบ้าน
ควรกำจัดแหล่งน้ำเหล่านี้ หรือกั้นรั้วและประตู
ไม่ไห้เด็กเข้าใกล้
ถ้าจำเป็นก็ต้องดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา
7.
ไม่ถือของร้อนขณะอุ้มเด็ก เช่น ถ้วยกาแฟ ชามน้ำแกง
ควรเก็บสายไฟของกาน้ำร้อนให้มิดชิด อย่าวางของร้อนบนพื้น เพราะลูกอาจสะดุดได้
8.
เก็บสารพิษให้พ้นมือเด็กหรือใส่ตู้ที่ป้องกันการเปิดออก
หากเด็กดื่มกินสารพิษ ให้ติดต่อศูนย์พิษวิทยา หมายเลข 02201 1083, 02246
6232 เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฐมพยาบาล
9.
ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่เป็นสายยาว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเล่นที่ต้องนำมาคล้องคอ เช่น โทรศัพท์ที่มีสาย
สร้อยคอ กีตาร์คล้องคอ เพราะสายอาจรัดคอเด็ก ทำให้ขาดอากาศหายใจได้
10.
การโดยสารรถยนต์ที่ปลอดภัย ควรใช้ที่นั่งนิรภัย (car seat) โดยติดตั้งบนที่นั่งด้านหลังรถ
ที่สำคัญไม่ควรไม่ควรให้เด็กนั่งตักพ่อแม่ขณะขับรถ
และไม่ควรทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว เพราะความร้อน
ภายในรถจะทำให้เกิดอันตรายได้
11.
ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี นั่งรถจักรยานยนต์
12.เด็กเล็กที่นั่งรถจักรยาน
ควรจัดที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันมิให้เด็กตกและเท้าติด
เข้าที่ซี่ล้อ
เข้าที่ซี่ล้อ
จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องใกล้ตัวลูกน้อยและง่ายที่จะปฏิบัติ
เพียงคุณพ่อคุณแม่มีความตระหนัก การป้องกันย่อมดีกว่าเสมอค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น