วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวดหลัง..ป้องกันไม่ยาก

ปวดหลัง.. ป้องกันไม่ยาก


โรคปวดหลังพบได้บ่อยรองจากโรคปวดหัว
เมื่อคุณอายุมากอาจจะต้องเผชิญกับโรคนี้
"คิดป้องกันตอนนี้จะได้ไม่เป็นโรคปวดหลัง"

สาเหตุ โรคป;ดหลังนั้นมีสาเหตุมากมาย ได้แก่ เป็นโดยกำเนิด อุบัติเหตุ เนื้องอก ติดเชื้อ อักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคในช่องท้อง โรคกระดูสันหลังเสื่อม แต่ สาเหตุที่เป็นกันมาก และสามารถป้องกันรักษาได้คือ

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

เกิดเนื่องจาก

  1. น้ำหนักตัวมาก
  2. ท่าทางที่ไม่เหมาะสม
  3. ขาดการออกกำลังกายทำให้ลงพุงเอวแอ่นมาก หลังค่อมมาข้างหน้า
 

คนที่ลงพุง น้ำหนักที่มากขึ้น คูณกับ พุงที่ยื่นมาด้านหน้าทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงดึงมากขึ้น การดึงเป็นเวลานานๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็ว ทำให้ปวดหลังได้



ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หลังจะค่อมทำให้เอวแอ่นมากขึ้นการที่เอวแอ่นมากขึ้นทำให้ช่องทางออกของเส้นประสาทแคบลง เส้นประสาทถูกเบียดมากขึ้น เป็นสาเหนุทำให้ปวดหลัง เอวแอ่นอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักไม่สมดุลย์กันจึงเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมตามมา



การรักษา ที่ดีที่สุด คืิอป้องกันสาเหตุได้แก่
     1.  ลดน้ำหนักตัว ไม่ใช่การอดอาหาร แต่ เป็นการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดเว้นการกินอาหารที่มีแคลอรีสูงมากเกินความจำเป็น เช่น ดื่มน้ำหวาน กินจุกจิระหว่างมื้อ

 2.  ท่าทางที่เหมาะสม 

ท่ายืนที่ถูกต้อง คือ แขม่วท้องอกผายไหล่ผึ่งเอวแอ่นน้อยที่สุด ถ้าต้องยืนเป็นเวลานานควรมีที่พักเท้า การยืนห่อไหล่พุงยื่น ทำให้เอวแอ่นมาก ปวดหลังได้   

ท่านั่งที่ถูกต้อง สันหลังตรงพิงพนัก เก้าอี้สูงพอดี และควรมีที่พักแขน การนั่งห่างจากโต๊ะมากทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมาก 

ท่านั่งที่เหมาะสม ในการพักผ่อน ควรเอียง 60องศา จากแนวตั้ง มีส่วนหนุนหลัง มีที่วางแขน ทำด้วยวัสดุนุ่มแต่แน่น

ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง หลังพิงพนัก เข่างอเหนือระดับตะโพก การนั่งห่างเกินไป ทำให้เข่าต้องเหยียดออกกระดูกสันหลังตึง

 ท่ายกของที่ถูกต้อง ควรย่อตัว ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา การก้มลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรงทำให้ปวดหลังได้ 

ท่าถือของที่ถูกต้อง ควรให้ชิดตัวมากที่สุด การถือของห่างจากลำตัวทำให้กล้ามเนื้อหลัง ทำงานหนัก ปวดหลังได้ 
ท่าเข็นรถที่ถูกต้อง ควรดันไปข้างหน้า ออกแรงที่กล้ามท้อง การดึงถอยหลังจะออกแรงที่กล้ามเนื้อหลังเป็นเหตุให้ปวดหลัง 

ท่านอน ที่นอน ควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำหรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่ง ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ปวดหลังได้

นอนคว่ำ จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
นอนหงาย ทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนใต้โคนขา จะช่วยให้กระดูกสันหลังไม่แอ่น
นอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรใช่ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอตะโพกและเข่ากอดหมอนข้าง
     3.  การออกกำลังกาย กระดูกสันหลังปกติรับน้ำหนักมากอาจทรุดได้ แต่นักกีฬายกน้ำหนักกระดูกไม่ทรุดเพราะมีกล้ามเนื้อท้องแข็งแรง เปรียบเสมือนมีลูกบอลคอยช่วยรับน้ำหนักไว้ การออกกำลังกายที่คนปกติควรทำเป็นประจำได้แก่
1.  ท่ากอดเข่า ยกหัวจนคางชิดเข่าพร้อมกับเบ่งลมในท้องเป็นการยึดกล้ามเนื้อหลัง ลดการแอ่นของเอว ทำให้ช่องประสาทกว้างขึ้น ควรทำประมาณ 5 นาที

2.  ท่ายกศีรษะและลำตัว  ควรยกขึ้นลงประมาณ 30 ครั้ง หรือประมาณ 30 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อท้องแข็งแรง


3.  ท่ายกขาขึ้นลงทีละข้าง เป็นการออกแรงกล้ามเนื้อหน้ากระดูกสันหลัง เป็นยึดกล้ามเนื้อตะโพกและและเส้นประสาท ทำให้กระดูสันหลังมั่นคงขึ้น และช่วยให้เนื้อเยื่อที่กดเส้นประสาทลดน้อยลง ควรทำเพิ่มขึ้นวันละนิดจนถึงประมาณ 100 ครั้ง การทำหักโหมมากทันทีอาจทำให้เสียวที่เส้นประสาทได้



การออกกำลังกายยังมีอีกหลายท่า  แต่บางท่าอาจเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง จึงควรได้รับคำปรึกษาจากผู้ชำนาญก่อน

การรักษาวิธีอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย ได้แก่ การกินยา การใช้เครื่องพยุงหลัง การทำกายภาพบำบัดวิธีต่างๆ โดยการดึงหลัง การนวดด้วยความเย็นความร้อนคลื่นเสียง มีข้อดีข้อเสียต่างๆกัน แต่ท่านไม่ควรทดลองหากมีอาการดังนี้
     1.  กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก
     2.  กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นส่วนมาก
     3.  อาการค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
     4.  อาการเป็นอยู่นานไม่ดีขึ้นบ้างเลย
     5.  อาการเป็นๆ หายๆ ชีวิตไม่เป็นสุข
อาการเหล่านี้ เป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องทำการผ่าตัด โดยการเจาะผ่ากระดูกสันหลัง เพื่อเอาพยาธิสภาพออก โอกาสเสี่ยงย่อมมีอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันมีความปลอดภัยสูงมาก หากกระทำโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...