โรคเบาหวาน (Diabetes
mellitus)
โดย นพ.อดิศักดิ์ กาญจนากิตติ (อายุรแพทย์ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค)
เบาหวาน คืออะไร
เบาหวาน คือ
ความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ
ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
จนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย โรคนี้มีความรุนแรง สืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม
โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อาการผู้ต้องสงสัย ว่าเป็นเบาหวาน
1. หิวบ่อย
2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมาก
3. กระหายน้ำ
4. น้ำหนักลด
5. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
6. ติดเชื้อบ่อยๆซ้ำๆ
7. ตาพร่ามัว
ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน
1. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
2. มีญาติสายตรง คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง คนใดคนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน
3.
โรคอ้วนและน้ำหนักเกิน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆดื้อต่ออินซูลิน
4.
ไม่ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก
และช่วยให้เซลล์ต่างๆไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้
หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง
5.
มีประวัติเคยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ
หรือเคยตรวจพบความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์เป็น เบาหวาน
6.
เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตร มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
7.
มีภาวะความดันโลหิตสูง (มากว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
8.
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ค่าเอชดีแอล มีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40
มิลลิเมตรต่อเดซิลิตร และหรือไตรกลีเซอร์ไรด์มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 150
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
แพทย์วินิจฉัยเบาหวานได้อย่างไร
แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จากประวัติอาการ
ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย
ที่สำคัญคือการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือด
และดูสารที่เรียกว่าฮีโมโกลบินเอวันซี
ซึ่งค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงค่า FBS(Fasting Blood Sugar) ต้องน้อยกว่า
110มิลลิกรัม/เดซิลิตร และค่า HbA1C น้อยกว่า 6.5%
รักษา เบาหวาน ได้อย่างไร
แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน
ต้องควบคู่กันไประหว่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยา และการรักษาควบคุมโรคร่วมต่างๆ
หรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือการลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก
ลดอาหารแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารประเภทผัก
และออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ
ส่วนการใช้ยาจะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีดอินซูลิน
รวมทั้งยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคร่วมต่างๆ เช่น การรักษาควบคุม
โรคความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่จัดว่ารุนแรง
เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นกับผลของการควบคุมโรคได้
คือการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงปกติที่สุด
ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน จึงต้องรักษาควบคุมโรคตลอดชีวิต ซึ่งการจะควบคุมโรคได้ดี ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำอย่างถูกต้องเคร่งครัดและไม่ขาดยา
ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน จึงต้องรักษาควบคุมโรคตลอดชีวิต ซึ่งการจะควบคุมโรคได้ดี ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำอย่างถูกต้องเคร่งครัดและไม่ขาดยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น