เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และมีตุ่มขึ้นทั่วไป
ตามร่างกาย
การติดต่อ :
ติดต่อทางลมหายใจหรือสัมผัส
บริเวณตุ่มน้ำใสโดยตรง มีระยะฟักตัว
เฉลี่ย 14-16 วัน ผู้ที่เป็นสุกใส สามารถ
แพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้น
จนกระทั่งผื่นผิวหนังตกสะเก็ด
อาการ :
1. อาการสำคัญ จะมีไข้ อ่อนเพลีย บางรายไข้อาจสูงถึง 39 องศาเซลเซียส
ต่อเนื่องได้นาน 3-6 วัน
2. จะมีผื่นขึ้นพร้อมๆ กันกับมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เิริ่มแรกจะขึ้นเป็นตุ่ม
แดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างในและมีอาการคัน
ต่อมาเป็นหนอง หลังจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตาม
ไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัวและแผ่นหลัง
อาการแทรกซ้อน :
ที่อาจพบ ได้แก่ ปอดอักเสบ (คือมีอาการไข้ หายใจหอบ) สมองอักเสบ (มีไข้ ซึม ชัก
หรือหมดสติ) แต่พบเป็นส่วนน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น
ตับอักเสบ ข้ออักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไตอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่าย)
ภาวะโลหิตเป็นพิษ เป็นต้น
หญิงที่ตั้งครรภ์ถ้าเป็นอีสุกอีใสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีผลทำให้
ทารกที่คลอดออกมาพิการได้ประมาณร้อยละ 5 เช่น มือเท้าเล็ก สมองพิการและในช่วง 3 เดือน
สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ถ้าแม่เป็นโรคนี้ 5 วันก่อนคลอดจนถึง 2 วันหลังคลอดทารกที่เกิดมา
มีโอกาสติดเชื้อกลายเป็นโรคอีสุกอีใสชนิดรุนแรง
การป้องกัน :
ปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้ว โดยให้ฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็ก
อายุ 12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี จะป้องกันโรคได้ตลอดไป
สามารถฉีดได้ในทุกอายุ โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
ถึงแม้ได้รับวัคซีนแล้วบางรายอาจเกิดผื่นอีสุกอีใสขึ้นได้หลังไปสัมผัสโรค แต่อาการ
จะไม่รุนแรง มีไข้ต่ำและมีตุ่มน้ำน้อยกว่า 50 ตุ่มและไม่ค่อยเกิดแผลเป็น ยังพบว่าเด็กที่ได้รับ
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เมื่อมีอายุมากขึ้น จะพบอุบัติการณ์และความรุนแรงของการป่วย
เป็นโรคงูสวัด น้อยกว่าเด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสตามธรรมชาติ
การดูแลรักษา :
สามารถรักษาตามอาการ โดยใช้ยาลดไข้ ลดอาการคัน แนะนำเรื่องการดูแล
สุขอนามัยของผิวหนัง เช่น ตัดเล็บให้สั้น และให้ยาปฏิชีวนะถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน
กรณีที่เป็นรุนแรงหรือเด็กโตหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อ
พิจารณาให้ยาต้านไวรัส
การดูแลรักษาตนเองสามารถกระทำได้ ดังนี้ :
1. ตัดเล็บให้สั้นและล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ระวังอย่าแกะหรือเกาตุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้
ตุ่มกลายเป็นหนอง
2. ควรอาบน้ำและฟอกสบู่วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3. ถ้ามีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนโต๊ะ
น้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละ 2-3 ครั้ง และให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อนๆ
4. ให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ปกติและควรบำรุงด้วยอาหารพวกโปรตีน โรคอีสุกอีใสนี้ไม่มี
ของแสลงแต่อย่างใด
5. ถ้ามีไข้สูงให้กินยาลดไข้ พาราเซตามอล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น