ภาวะพร่องของฮอร์โมนเพศชาย
(Andropause / Testosterone
deficiency syndrome)
โดย นพ.สุทธิพันธ์ วงศ์วนากุล ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ชายวัยทอง คือ ภาวะพร่องของฮอร์โมนเพศชาย หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่แสดงความเป็นชาย
เช่น ทำให้มีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง มีขน ผม เครา ที่ดกดำ แสดงลักษณะของอวัยวะเพศชายที่สมบรูณ์ ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
ความเป็นชาย
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ร้อยละ 95 ผลิตจากอัณฑะทั้ง
2 ข้าง
อีกร้อยละ 5 ผลิตจากต่อมหมวกไต (adnenal
glands) ซึ่งถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง
ให้ผลิตฮอร์โมนได้ปกติ ดังนั้น ถ้าอัณฑะ
หรือต่อมใต้สมองผิดปกติไปก็จะทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายได้
โดยทั่วไปผู้ชายเมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไประดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
จะค่อยๆลดต่ำลงร้อยละ 1-2 ต่อปี โอยพบว่า 50 % ของผู้ชายที่อายุ60ปีขึ้นไปมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง
อาการของผู้ที่พร่องฮอร์โมนนั้นมีหลากหลาย
ไม่เจาะจงและอาจเกี่ยวข้องกับอาการของโรคอื่นๆได้
ภาวะพร่องของฮอร์โมนเพศชายนั้นแสดงออกมาหลายกลุ่มอาการ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต
และครอบครัวอย่างมาก
อาการแสดง
เช่น ความรู้สึกทางเพศลดลง
อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หงุดหงิดง่าย นอนหลับไม่สนิท
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ไม่มีความภูมิใจในชีวิต รู้สึกตัวเตี้ยลง มีภาวะMetabolic Syndrome(อ้วนลงพุง
ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง
น้ำตาลในเลือดสูง) รู้สึกแก่ลงผิดปกติ กล้ามเนื้อรีบลง กระดูกพรุนกระดูกยุบ ร้อนวูบวาบ
ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
นอกจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ
เช่น
ประวัติพันธุกรรมมีคนในครอบครัวเคยเป็นกลุ่มอาการนี้ เครียดจากการทำงาน พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ โรคอ้วน
ป่วยโรคเรื้อรัง(โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง)
รับประทานยาไทรอยด์ โรคขาดสารอาหาร อุบัติเหตุหรือเคยผ่าตัดสมอง/
อัณฑะ
การวินิจฉัย
เริ่มจากการที่ผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวสังเกตอาการเข้าข่ายภาวะพร่องของฮอร์โมนเพศชายหรือไม่
หลังจากนั้นควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกาย
รวมถึงการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
หรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอิสระ โดยจำเป็นต้องตรวจในช่วงเวลาตอนเช้าก่อน11.00น.
การรักษา
ผู้ป่วยภาวะพร่องของฮอร์โมนเพศชายก่อนรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนจำเป็นอย่างมาที่ต้องตรวจ
เรื่องความเข้มข้นของเลือด
มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านมในเพศชาย
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการต่อมลูกหมากโตรุนแรง
และภาวการณ์ทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ เนื่องจากเป็น ข้อห้ามของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
การใช้ฮอร์โมนทดแทนจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง
ฮอร์โมนทดแทนมีได้หลายรูปแบบ เช่น
กินยา อมยาใต้ลิ้น ฉีดยา แผ่นแปะ เจลทาเป็นต้น ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่างกัน
เมื่อได้ฮอร์โมนทดแทนแล้ว อาการต่างๆรวมทั้งผลของโรคในกลุ่ม Metabolic
syndrome จะดีขึ้น
ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
ความจำดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดการเกิดกระดูกพรุน
นอกจากการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงสมบรูณ์ขึ้น
เช่น ลดการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใส รับประทานอาหารครอบ 5
หมู่
ลดอาหารจำพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล
และเนื้อสัตว์ งดบุหรี่ สุรา
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกานสม่ำเสมอเป็นประจำ ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นระยะ
นอกจากนี้บุคคลรอบข้างควรมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย เป็นกำลังใจในยามที่ผู้ป่วยมีอาการของภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย
โรคนี้สามารถรักษาได้ เพียงแต่ต้องได้รับการรักษาและติดตามอย่างถูกวิธี เท่านี้ความสุขในชีวิตและความสุขของครอบครัวก็จะกลับมาดังเดิมครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น