โดย นพ.สุทธิพันธ์ วงศ์วนากุล ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ผู้ป่วยหลายคนกังวลว่าตัวเองจะเป็นโรคไตหรือโรคนิ่วในไตเพราะสังเกตเห็นว่าตัวเอง ปัสสาวะผิดปกติไป เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีฟองมาก ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนผิดปกติ หรือกระทั่งปัสสาวะมีสีเข้มมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้จริงๆแล้ว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนิ่วอย่างเดียวครับ
“นิ่ว”
ก็คือก้อนหิน ที่อยุ่ในร่างกายของคน
เกิดขึ้นได้กับหลายอวัยวะเช่นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ,
นิ่วในระบบน้ำดี, นิ่วในต่อมน้ำลาย และอวัยวะอื่นๆ
นิ่วมีด้วยกันหลายชนิด
หลายสี หลายขนาด ความแข็งมีตั้งแต่ แข็งน้อยไปจนถึงแข็งมาก
โดยทั้งหมดขึ้นอยุ่กับองค์ประกอบของนิ่ว ซึ่งที่นิ่วที่พบมากที่สุด คือนิ่วที่มี
แคลเซียม เป็นองค์ประกอบส่วนนิ่วที่แข็งที่สุดคือนิ่ว Cystine ซึ่งพบได้น้อย
ไตนั้นเป็นอวัยวะทีมีความสำคัญมากคือเป็นที่ขับของเสียในร่างกายออกมาในรูปน้ำปัสสาวะ
และรักษาสมดุลของร่างกาย
ไตของมนุษย์มีด้วยกัน 2
ข้าง อยู่บริเวณสีข้างหรือเอว ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติ
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเอวหรือปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งร่วมกับปัสสาวะที่ผิดปกติไป
นิ่วในไตนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของ
โรคไตวายเรื้อรัง
แต่ถ้ารักษาได้ทันท่วงที
ก็จะทำให้ไตทำงานได้ดีเป็นปกติ
ผู้ป่วยนิ่วในไตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง
มักเจอโดยบังเอิญ จากการตรวจเช็คร่างกายแล้วพบความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ
บางคนอาจมีอาการปวดเอวเรื้อรัง ตอดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ หรือบางครั้งมาพบแพทย์
ด้วยอาการของไตวายซึงเป็นภาวะที่ยากต่อการรักษาให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติ
ดังนั้นผมจึงแนะนำว่า อายุตั้งแต่วัยทำงานขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำทุกปีเพื่อการรักษาได้อย่างทันถ่วงที
การตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วในไต มีด้วยกันหลายวิธี เช่น x- ray ทั่วไป, Ultrasound, X-ray
ฉีดสารทึบรังสี และX-ray computer ( CT
scan ) ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ และการประเมินผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนการรักษาก็มีหลายวิธี
เริ่มตั้งแต่นิ่วขนาดเล็กมาก อาจสังเกตอาการไปก่อนเพื่อให้นิ่วหลุดเอง
การใช้ยาสลายนิ่ว การใช้เครื่องสลายนิ่ว(ESWL) การส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ(RIRS) ส่วนนิ่วที่มีขนาดใหญ่อาจรักษาด้วยการเจาะรูบริเวณสีข้างเพื่อเข้าไปในไตแล้วจึงเอานิ่วออก(PCNL) สุดท้ายคือการผ่าตัดแผลกว้างบริเวณเอวเพื่อนำนิ่วออกจากไต
สาเหตุของการเกิดโรคนิ่วในไต
มีหลายสาเหตุ เช่น
- พันธุกรรม
- ความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม(Metabolism)ใน ร่างกาย
- ดื่มน้ำน้อยและเสียเหงื่อมาก
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
หรือเคยผ่าตัดลำไส้มากก่อน
- คนอ้วน
- รับประทานอาหารที่มีรสเค็ม
- เนื้อสัตว์
อาหารที่มี ออกซาเลต(oxalate) สูง (ชาดำ โกโก้
ผักขม ช็อคโกแลต ถั่ว เป็นต้น)
- ยาบางชนิด เช่น steroid ยาขับปัสสาวะ
ใช้ยาระบายอุจจาระเป็นประจำ- โรคมะเร็ง ภาวะท่อไตอุดตัน
- ผู้ป่วยที่เคยเป็นนิ่วมาก่อนจะมีโอกาสเกิดนิ่วซ้ำได้มากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ป่วยที่เคยเป็นนิ่วมาก่อนจะมีโอกาสเกิดนิ่วซ้ำได้มากกว่าคนทั่วไป
ดังนั้น เราควรปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงของโรคนิ่วในไต
คือ ดื่มน้ำประมาณ 2ลิตรต่อวัน ดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาว ลดความอ้วน ออกกำลังกาย ลดอาหารรสเค็ม เนื้อหมู
เนื้อไก่ เนื้อวัว ควรรับประทานเนื้อปลา ลดอาหารที่มี ออกซาเลต ไม่ควรกินวิตามินซีเกิน 2
กรัมต่อวัน ควรรับประทาน
แคลเซียม เพราะ แคลเซียมจะช่วยลดการดูดซึมของ ออกซาเลตในลำไส้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาบาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น