โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบบ่อยในเด็กเล็ก กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 1-4 ปี รองลงมาคือ 20-29 ปี สาเหตุเกิดจากเชื่อไวรัสในตระกูล paramyxovirus ที่พบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย
การติดต่อ
- โรคหัดติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยและเข้าสู่ร่างการทางการหายใจ
- มักพบในเด็กอายุมากกว่า 9 เดือน เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากมารดามี ระดับต่ำลง
- ผู้ป่วยหัดจะมีเชื้อไวรัสในลำคอและแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1-2 วัน ก่อนที่จะมีอาการไข้ ไปจนถึง 4 วัน หลังมีผื่นขึ้น
- ระยะฟักตัว จากที่เริ่มสัมผัสโรค จนถึงมีอาการประมาณ 8 - 12 วัน เฉลี่ยจากวันที่สัมผัสจนถึงมีผื่นเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน
อาการ
- มักมีอาการไข้นำมาก่อน 2 - 4 วัน และมีอาการ
- น้ำมูลไหล ไอ ตาแดง ร่วมด้วย อาการต่าง ๆ จะ มากขึ้นพร้อมกับไข้สูงเต็มที่ เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้
- ลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้น ๆ โดยจะเริ่มขึ้นที่หน้า ไรผม กระจายไปตามลำตัว แขน ขา มักจะลามถึงเท้าภายใน 72 ชั่วโมง พบมากที่บริเวณส่วนกลางลำตัว ผื่นจะมีลักษณะเป็นจุดแดง ๆ ที่มารวมตัวกัน เวลาผื่นจางหายมักพบว่ารอยโรคมีสีเข็มและมักค่อย ๆ จางหายไปภายใน 7 - 10 วัน
- อาการไข้มักจะสูงช่วงที่ผื่นเริ่มขึ้นและค่อย ๆ ลดลงและหายไปหลังจากผื่นลามถึงเท้า ถ้าไม่มีภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน
- การตรวจในระยะ 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาว ๆ บนพื้นแดงที่บริเวณเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เรียกว่า Koplik's spots ซึ่งจะพบอยู่ประมาณ 12 - 15 ซม. และ ค่อย ๆ จางหายไปหลังจากผื่นขึ้น ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยโรคหัดได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น
การวินิจฉัย
อาศัยอาการทางคลินิกเป็นหลัก ร่วมกับประวัติวัคซีนและการสัมผัสโรค
โรคแทรกซ้อน
- ระบบหายใจ อาจเกิดคออักเสบ หลอดลมอักเสบ จนถึงปอดบวม
- ภาวะแทนกซ้อนทางหู อาจเกิดหูชั้นกลางอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนทางตา จะมีเยื่อบุตาอักเสบจนเป็นแผลที่แก้วตา
- ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหาร มีอาการอักเสบของลำไส้ ทำให้ถ่ายเหลว หรืออุจจาระร่วง
- ภาวะแทนกซ้อนระบบส่วนกลาง สมองอักเสบ เป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ และซึมลง
การรักษา
- ให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว
- กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- การให้วิตามิน A เสริมในเด็กที่มีข้อบ่งชี้
- อาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กที่มีการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน
โรคจะหายเมื่อไหร่
โดยทั่วไปโรคจะหายใน 10 - 14 วัน นับจากเริ่มมีอาการวันแรก และสามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้หลังจากไข้ลง หรือผื่นหายไปแล้ว 7 วัน
การป้องกัน
- เมื่อสงสัยว่าเป็นหัด ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อการวิจิจฉัยการรักษาที่ถูกต้อง
- ให้ผู้ป่วยนอนพัก เช็ดตัวในช่วงที่ไข้สูงและให้อาหารอ่อนที่มีคุณค่า
- แยกผู้ป่วยออกจากเด็กอื่น ๆ จนถึงระยะ 4-5 วัน หลังผื่นขึ้น
- ระวังโรคแทรกซ้อนต่ง ๆ เพราะระยะที่เป็นหัด เด็กจะมีความต้านทางโรคบางอย่างลดลง โดยเฉพาะวัณโรค ดังนั้นจึงต้องระวังการติดเชื้อจากผู้ใหญ่
- หลายคนเชื่อว่าเด็กต้องออกหัดทุกคน ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะโรคหัดเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยให้เด็กได้รับวัคซีนหัด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 อายุระหว่าง 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 อายุ 4-6 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น