วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การออกกำลังกายสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร ?




          การออกกำลังกายช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงได้ ในคนที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ และช่วยลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีได้ ในคนที่มีความดันโลหิตสูง มีการศึกษาวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) สามารถช่วยลดความดันโลหิตในค่า Systolic ได้ประมาณ 3-4 mmHg. และค่า Diastolic ได้ประมาณ 2-3 mmHg. และยังพบว่าถ้าความดันโลหิตลดลงอย่างน้อยประมาณ 2 mmHg. จะส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิด Stroke (หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก) ได้ถึงร้อยละ14 และลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลงร้อยละ 9 การออกกำลังกายจึงถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการรักษา ควบคุม และป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

หากเป็นความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายอย่างไร ?


          ควรออกกำลังกายแบบที่เรียกว่า แอโรบิค (Aerobic) ได้แก่ การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ควรเน้นกิจกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในการเคลื่อนไหว และเป็นกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ การออกกำลังกายควรที่จะอยู่ในระดับที่เบา ถึงระดับปานกลาง แต่ให้ใช้เวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้น กล่าวคือระยะเวลาในแต่ละครั้งของการออกกำลังกายควรจะอยู่ระหว่าง 30-60 นาที/ครั้ง



          ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือถ้าทำได้มากกว่านี้ก็จะให้ผลดีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงต้องการที่จะออกกาลังกายอย่างเป็นกิจลักษณะควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย และควรที่จะได้รับคำแนะนำถึงชนิดของการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...