ในปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น
และส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็นโรค เนื่องจากไม่มีอาการแสดง
ดังนั้นการตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยไม่ให้โรคไตมีอาการแย่ลงได้
และช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคไตหรือถ้าสังเกตพบอาการในระยะเริ่มต้น
ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลงได้
โรคไตเรื้อรังคืออะไร
ไตเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับของเสีย
รักษาสมดุลของเหลวและแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย หากไตเสียหายไป
ไม่มีทางทำให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้ เราควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต
หรือถ้าสังเกตพบอาการในระยะเริ่มต้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา
จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลงได้
โรคไตเรื้อรัง คือ
โรคที่ความสามารถของไตในการทำงานลดลง ทำให้การรักษาสมดุลของเหลวและแร่ธาตุต่างๆในเลือด
การกำจัดของเสียออกจากเลือดทำงานผิดปกติ โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ส่วนใหญ่แล้วโรคไตเกิดจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต
โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งคนที่เป็นโรคดังกล่าว จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง
โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น
อายุมาก สูบบุหรี่ ได้รับยาหรือสารพิษบางชนิด มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ดังนั้น หากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงตามที่กล่าวมา
ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ (protein-creatinine
ratio) และตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน (creatinine) เพื่อประเมินค่าการทำงานของ ไตหรือ GFR
(Glomerular filtration rate)
อาการของโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตในระยะเริ่มแรกหลายท่านอาจไม่มีอาการรุนแรง
จนกระทั่งโรคมาถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อาจมีอาการอ่อนแรง คิดอะไรไม่ค่อยออก
รู้สึกเบื่ออาหาร ลมหายใจมีกลิ่นปัสสาวะ มีอาการคันตามผิวหนัง ตัวซีด
เท้าและข้อเท้าบวม ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน แพทย์จะทำการตรวจเพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วย
โดยการตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตหรือ GFR (Glomerular filtration rate) ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์หรือ
CT Scan เพื่อถ่ายภาพไตและทางเดินปัสสาวะ
และในบางกรณีจะตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ โรคไตเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก
การเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตหรือ GFR (Glomerular
filtration rate) เท่านั้นถึงจะทราบว่าโรคดำเนินไปถึงระยะใดแล้ว
ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด
มีประโยชน์ในการวางแผนการรักษา เพื่อช่วยในการชะลอความเสื่อมของไต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น