การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกเพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุน
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง
ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง
ทำให้กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ถ้ากลไกการสร้างและทำลายกระดูกไม่สมดุลกัน
เช่น มีการสลายกระดูกมากเกิน
หรือมีการสร้างกระดูกน้อยเกินไป หรือขาดแคลเซียม ก็จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
มักพบในผู้หญิงมากว่าผู้ชาย ตั้งแต่ช่วงอายุ 30-40 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วง 5
ปีแรกหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้ การไม่ออกกำลังกาย การขาดแคลเซียมและวิตามินดี
การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดก็ทำให้มวลกระดูกลดลงได้รวดเร็วเช่นกัน
ภาวะกระดูกพรุนนับว่าเป็น “มฤตยูเงียบ” เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนนั้นจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อน อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อยๆเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือหรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลงเป็นต้น จะรู้ว่ามีกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเกิดกระดูกหักเสียแล้ว บริเวณที่พบกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย ได้แก่ บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกหลัง และกระดูกสะโพก ซึ่งการหักของกระดูก โยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระดูกสะโพกในคนที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ เดินไม่ได้ต้องทนทุกข์ทรมาน และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเราควรที่จะป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น
เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะกระดูกพรุน
การตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนทำได้หลายวิธี
สำหรับวิธีที่นิยมทำกันในปัจจุบัน คือการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone
Mineral Density-BMD) ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ BMD
(Bone Mineral Density-BMD)
1. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือ ผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
2. ผู้ชายอายุ
65 ปีขึ้นไป
3. ผู้ชายและผู้หญิงทุกกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยง
ดังนี้
3.1
กระดูกหักในผู้สูงอายุ
3.2
มีบิดาหรือมารดาที่เคยกระดูกสะโพกหัก
3.3
คนไข้ที่ได้รับยาเสตียรอยด์เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
3.4
ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย(Body mass index ,BMI) น้อยกว่า
19
4. คนที่มีโรคหรือภาวะที่ทำให้มวลกระดูกลดลงเช่น
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
5. ผู้ป่วยที่แพทย์จะเริ่มให้ยาเพื่อการรักษาภาวะกระดูกพรุน
6.
ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องการติดตามผลการรักษา หลังจากให้ยาเพื่อรักษาภาวะกระดูกพรุน
ข้อดีของการตรวจ BMD
(Bone Mineral Density-BMD)
1. ให้ความถูกต้องแม่นยำสูง
ผู้รับการตรวจได้รับปริมาณรังสีน้อย
2. สามารถใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วน
รวมทั้งมวลกระดูกทั่วร่างกาย ด้วยคลื่นเอกซเรย์ที่มีความแม่นยำสูง
3. ใช้เวลาในการตรวจรวดเร็วและทราบผลทันที
ขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก
การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกด้วยเทคนิค
DEXA ซึ่งเป็นการตรวจที่แพร่หลายที่สุด
จะเริ่มด้วยการที่ผู้รับการตรวจจะเปลี่ยนเสื้อผ้าในชุดที่สบาย
นำชิ้นส่วนโลหะออกจากร่างกาย(ในกรณีที่ผู้รับการตรวจใส่ข้อมือ
สะโพกเทียมจะได้รับการตรวจในข้อสะโพกฝั่งตรงข้ามหรือกรณีใส่เหล็กดามกระดูกสันหลังก็จะได้รับการตรวจในกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ไม่มีเหล็กอยู่)
จากนั้นผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ เจ้าหน้าที่จะจัดตำแหน่งร่างกายที่เหมาะสมแล้วเริ่มการตรวจด้วยการปล่อยรังสีเอกซ์
พลังงานต่ำ
ข้อห้าม 1. ผู้หญิงตั้งครรภ์
2. เพิ่งเข้ารับการตรวจที่ต้องรับประทานสารทึบรังสี
หรือสารกัมมันตรังสี
3. ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการจัดท่าที่เหมาะสมสำหรับการตรวจ
ฉะนั้นเพื่อป้องกันภาวะกระดูพรุน
ควรสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
และรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมมาก เช่นผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กๆ งาดำ
ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบร็อคโคลี่
และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่
และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสุขภาพและตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างน้อย 1
ครั้ง/ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น