วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza)



          ไข้หวัดใหญ่ หรือ influenza เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน จะพบมากทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ influenza A และB ส่วนไวรัส influenza อีกชนิดหนึ่งคือ influenza C นั้นเนื่องจากมีความรุนแรงน้อยและไม่มีความสำคัญในการแพร่ระบาดจึงอาจจะไม่นับอยู่ในกลุ่มของโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้นติดเชื้อในเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนคือจมูกและคอและอาจลงไปถึงส่วนล่างอันได้แก่หลอดลมและปอดด้วย


ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร
          ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคล้ายๆไข้หวัดใหญ่ แต่ข้อแตกต่างคือไข้หวัดธรรมดามักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ เป็นอาการเด่น และไม่ค่อยมีอาการไข้ แต่ไข้หวัดใหญ่ มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ   ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมากและอาการจะรุนแรงและยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา เกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอาจเกิดภาวะที่รุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น ปอดบวม

การติดต่อ
เชื้อนี้จะติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
     1.เชื้อสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจ การไอ หรือจาม
     2.การสัมผัสน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้จะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูกและปาก
     3.การสัมผัสสิ่งที่ปนเชื้อโรคเช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ

อาการของโรค
          อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการสำคัญได้แก่
1.ระยะฟักตัวของเชื้อคือ 1-4 วันโดยเฉลี่ย 2 วันผู้ป่วยจะมีอาการ

          - อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้
          - ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดตามแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบตา
          - ไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
          - ไอแห้งๆ เจ็บคอและคอแดงมีน้ำมูกใสไหล
          - ตามตัวจะร้อน แดง ตาแดง
          - อาการอาเจียน หรือท้องเดิน ไข้เป็น2-4 วันแล้วค่อยๆลดลงแต่อาการคัดจมูก และแสบคอยังคงอยู่โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์

ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้วติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะทำให้มีการติดไปยังระบบอื่นๆด้วย เช่น
          - อาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรืออาการหัวใจวาย ผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบ
          - ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบผู้ป่วยจะปวดศีรษะมากและซึมลง
          - ระบบหายใจ มีหลอดลมอักเสบ และปอดบวมผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
          - โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายมีอาการไอ และปวดตามตัวนาน 2 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตมักจะเกิดจากปอดบวม และโรคหัวใจหรือโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

         


           ในปัจจุบันวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือการฉีดวัคซีนป้องกันปีละ 1 ครั้ง แต่วิธีนี้อาจจะป้องกันไม่ได้ 100% แต่จะช่วยบรรเทาจากอาการหนักเป็นเบาได้ เนื่องจากวัคซีนที่นำออกมาใช้ในแต่ละปีนั้นๆ จะเกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าสายพันธุ์ใดจะแพร่ระบาด จากนั้นจึงจะทำวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้น ทำให้วัคซีนดังกล่าวอาจจะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่อุบัติใหม่ หรือเป็นสายพันธุ์อันนอกเหนือจากที่วัคซีนจะสามารถป้องกันได้



          ฉะนั้น วิธีการป้องกันนอกจากเข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีแล้ว เราจำเป็นต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อหมั่นล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสกับใบหน้าหรือหยิบจับสิ่งของเข้าปาก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงจะต้องได้รับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัย อีกทั้งถ้ามีอาการมากควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...