โรคหลอดเลือดในสมองแตก
โดย นพ.มาโนช เล้าวงศ์ Surgical Management of Hemorrhagic Stroke
โรคหลอดเลือดในสมองแตกพบได้ประมาณ
20% ของโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง.
ทำให้บริเวณหลอดเลือดนั้นโป่งพองและแตกออกหรือจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นเนื่องจากมีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแตกได้ง่ายเป็นเหตุให้มีเลือดออกในสมองส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้สูงถึง.
30-50%
ปัจจัยที่มีผลลบต่อการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยที่สำคัญได้แก่ ปริมาตรของก้อนเลือดในสมอง,
ขนาดของก้อนเลือดที่เพิ่มขึ้น และมีการแตกของก้อนเลือดเข้าไปในโพรงน้ำของสมอง พบว่าการเพิ่มขนาดของก้อนเลือดในสมองภายใน24ชั่วโมงแรก พบได้ประมาณ 20-40 %. ของผู้ป่วย
การรักษา:
การรักษาเส้นเลือดแตกในสมองมีอยู่ 2 วิธีคือการรักษาทางยา (medical
treatment) และการผ่าตัดรักษา(surgical
treatment) ผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการรักษาทางยาเมื่อแรกเข้ามาในโรงพยาบาล.
แล้วค่อยพิจารณาถึงการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกโดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นรายๆไปซึ่งการรักษาทั้งสองวิธีนี้ต้องพิจารณาร่วมกันเสมอเพื่อผลลัพธ์
ที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย
1. การรักษาทางยา
ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองจะมีการเปลี่ยนแปลงคือความรู้สึกตัวลดลง,
ความดันโลหิตสูง, สมองบวมและภาวะความดันในสมองสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสมอง
การรักษาจะต้องแก้ไขสภาวะผิดปกติเหล่านี้ให้กลับคืนสู่ปกติโดยเร็วหรือไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
การรักษาคือ
1.1
การดูแลทางเดินลมหายใจ
ในผู้ป่วยที่มีอาการซึมมากหรือไม่รู้สึกตัว
มักจะมีการหายใจ ช้า ลิ้นตก อาเจียนและสำลัก เป็นสาเหตุของการอุดตันทางเดินหายใจ
1.2
การควบคุมความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการหลอดเลือดแตกเพิ่มขึ้น
1.3 ลดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะ
1.4 การให้สารน้ำและเกลือแร่
1.5 การให้ยาป้องกันชัก
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ปัจจัยที่ต้องคิดถึงคือ:
2.1
ความรู้สึกตัวพบว่าผ่าตัดรักษาผู้ป่วยขณะรู้สึกตัวอยู่จะได้ผลดีกว่าการผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวแล้ว
2.2 ความดันโลหิตสูง
ถ้าไปทำผ่าตัดในระยะนี้จะมีอัตราการตายสูงเพราะเป็นระยะที่มีภาวะหลอดเลือดในสมองหดตัว
เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงและอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดซ้ำหลังผ่าตัดได้
2.3 ตำแหน่งและขนาดของก้อนเลือด
เส้นเลือดแตกที่แกนสมองจะไม่ผ่าตัด
2.4 การกดเบียดต่อสมองที่ดีของก้อนเลือด
2.5 เวลาของการผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยมีอาการคงที่และไม่ทรุดลง ควรรักษาทางยาก่อน
แล้วค่อยทำการผ่าตัดในวันที่4-5หลังเลือดออก จะให้ผลการผ่าตัดที่ดีกว่าเพราะสมองมีการยุบบวมแล้วและเกิดการแตก ซ้ำหลังผ่าตัดน้อย แต่ในรายที่เมื่อเข้ามารักษาในโรงพยาบาลแล้วความรู้สึกตัวเลวลงเป็นลำดับก็จำเป็นต้องรีบผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกโดยด่วน
ถ้ารอจนอาการโคม่าแล้วการผ่าตัดจะไม่ได้ผลดี
2.6 ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเช่นโรคเบาหวาน
,โรคหัวใจ,ไตวาย และอายุมากจะทำให้ผลลัพธ์การผ่าตัดไม่ดี
2.7
บุคคลากรในหอผู้ป่วยวิกฤติต้องได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง
สรุป :
ภาวะเส้นเลือดในสมองแตกยังเป็นโรคที่มีอัตราเสียชีวิตสูงและผู้ป่วยที่รอดชีวิตก็จะมีความพิการตามมาไม่มากก็น้อย เพราะเลือดที่ออกมาจะทำลายหน้าที่ของสมองที่สำคัญรวมทั้งส่วนที่เกี่ยวกับความรู้สึกตัวผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วยความดันในกระโหลกศีรษะสูงและแกนสมองสูญเสียหน้าที่
การรักษาจึงมีเป้าหมายทำให้ความดันภายในกระโหลกศีรษะลดลงและป้องกันการสูญเสียหน้าที่ของแกนสมองเลือดที่ออกในบางตำแหน่งหรือในรายที่หมดสติแล้ว
การผ่าตัดจะไม่ค่อยมีประโยชน์และมีอัตราตายสูง ผลการผ่าตัดจะได้ผลดีในรายที่ยังไม่ถึงกับหมดสติ
ดังนั้นระยะเวลา ในการตัดสินใจทำผ่าตัดและระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องสำคัญจุดมุ่งหมายในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดคั่งในสมองคือให้ผู้ป่วยมีอัตราตายและความทุพพลภาพลดลงให้เหลือน้อยที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น