โรคต้อเนื้อ (Pterygium)
โรคต้อเนื้อเป็นกลุ่มเดียวกันกับต้อลม แต่มีการยื่นเข้าไปในส่วนของกระจกตา
ต้อเนื้อมีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อรูปสามเหลี่ยม งอกจากตาขาวลามเข้าไปในตาดำ
มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา ต้อเนื้อจะค่อยๆโตลุกลามอย่างช้าๆเข้าไปในตาดำ ถ้าเป็นมากจะลามเข้าไปจนถึงกลางตาดำปิดรูม่านตา
ซึ่งจะปิดบังการมองเห็นทำให้ตามัวได้ ซึ่งเนื้อดังกล่าวไม่ใช่มะเร็ง
ไม่ใช่เนื้องอก
แต่เป็นลักษณะของความเสื่อมของเยื่อบุตาซึ่งเกิดจากแสงอัลตราไวโอเลตเป็นหลักและไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดกับดวงตา
แต่จะก่อความรำคาญเวลาอักเสบ บวมแดง จะรู้สึกเคืองตา
ถ้าเป็นเยอะก็จะมีปัญหาเรื่องสายตาเอียงเพราะจะไปกดอยู่ที่กระจกตา
ต้อเนื้อจะพบหรือเกิดกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป พบมากในช่วงอายุ 30 ถึง 55
ปี อัตราการเกิดในเพศชาย พอๆกับเพศหญิง
สาเหตุของโรคต้อเนื้อ
1.ลม
2.แสงแดด(แสงอัลตราไวโอเลต)
3.ฝุ่น
4.ความร้อนจากแสงอาทิตย์ เตาไฟ เป็นต้น
ผู้ที่เป็นโรคต้อเนื้อถ้าโดนสี่ข้อข้างบนเสมอๆ
ทำให้เกิดโรคต้อเนื้อมากกว่าคนอื่น จึงพบมากในกลุ่มผู้ที่มีอาชีพ ได้แก่ ชาวไร่
ชาวนา ชาวสวน คนงานก่อสร้าง ผู้ที่ต้องรับเหมากลางแจ้ง วิศวกรสร้างทางหรือกรรมกรสร้างทาง
เป็นต้น แต่บางคนไม่ได้โดนสิ่งดังกล่าวเลยแม้จะทำงานในห้องแอร์
และอยู่ในระดับนักบริหารก็ยังเป็น ทั้งนี้เชื่อว่าโรคนี้มีส่วนในทาง “กรรมพันธุ์”
เหมือนกัน คือ ถ้าพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนที่มีต้อเนื้อประดับที่ลูกตา
ลูกหลานออกมามีความโน้มเอียงที่จะเป็นโรคนี้ค่อนข้างสูง ทั้งนี้สังเกตได้จาก
บางคนอายุ 17 หรือ18 ก็เป็นโรคนี้แล้ว
ซึ่งตามหลักสี่ข้อที่กล่าวข้างต้นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เร็วขนาดนี้
แสดงว่ามีส่วนที่เป็นโรคนี้มาตั้งแต่เกิดสืบถามไปยังพ่อ
แม่ญาติพี่น้องปรากฏว่ามีโรคนี้เช่นกัน
อาการของโรคต้อเนื้อ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อเนื้อ
จะมีอาการเคืองตาแสบตา น้ำตาไหล ตาแดง คันตา ถ้าเป็นน้อยจะไม่ทำให้ตามัวเพราะไม่ได้กดกระจกตามากแต่ถ้าเป็นมาก
เช่นในกรณีที่ต้อเนื้อลุกลามเข้ามาถึงกลางตาดำจะทำให้ตามัวลง
การป้องกัน
ให้เลี่ยงจากการโดนลมโกรกเสมอๆ
หรือมิให้ฝุ่นเข้าตาเป็นประจำ เลี่ยงมิให้โดนแดดจัดๆโดยเฉพาะเวลาตั้งแต่ 10
โมงเช้าถึงบ่าย3โมงเย็น เป็นช่วงที่แสงแดดจัดมาก ฉะนั้นการใส่แว่นกันแดด
สวมหมวก กางร่ม ในเวลาที่ออกกลางแจ้ง
จะช่วยได้มาก
การรักษา
การรักษาโรคต้อเนื้อ
แบ่งการรักษาได้ดังนี้
1.การรักษาโดยการหยอดยา ใช้ในกรณีเป็นระยะแรกเริ่ม
ยาหยอดตานี้ไม่ได้รักษาให้หาย แต่เป็นการบรรเทาอาการตาแดง ระคายเคือง
เพื่อลดการอักเสบทำให้ต้อเนื้อไม่ลุกลามเร็ว
2.การรักษาโดยการผ่าตัด จะทำต่อเมื่ออาการระคายเคืองเป็นมาก
หยอดยาแล้วไม่หาย หรือต้อเนื้อลุกลามเข้าไปในกระจกตา ทำให้มองเห็นน้อยลง
ทั้งนี้เมื่อเราทราบว่าเป็นแล้ว
การป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งเราทำได้ไม่อยากเลย
เพียงแค่ระวังหรือหลีกเลี่ยงการโดนแดด ฝุ่น ลม เช่น ใส่แว่นกันแดด ใช้ร่ม สวมหมวก
ก็ทำให้เราลดโอกาสการโดนแดดโดยตรง โรคก็จะไม่เป็นมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น