วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

PCNL(Percutaneous Nephrolithotomy) นวัตกรรมใหม่รักษานิ่วในไต

PCNL(Percutaneous Nephrolithotomy)
นวัตกรรมใหม่รักษานิ่วในไต



          การทำPCNLคือการรักษานิ่วแบบใหม่ โดยการส่องกล้องเข้าในไต เพื่อเอานิ่วออก นับเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งในอดีตการรักษานิ่วในไต สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคในการรักษา เช่น เกิดนิ่วใหม่ขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ต้องผ่าตัดแล้วผ่าตัดอีก หลายๆครั้ง หรือนิ่วมีจำนวนมาก ขนาดใหญ่มากเกินไปจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการสลายนิ่วได้ จึงทำให้บางท่านรู้สึกท้อแท้กับการรักษา แต่สำหรับปัจจุบันความรู้สึกเหล่านี้จะหมดไป เพราะเทคโนโลยีพัฒนาก้าวล้ำไปทำให้การรักษานิ่วในไตทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัดอีกต่อไป

          ในการรักษาโรคนิ่วในไตได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีที่รู้จักคุ้นเคยกันคือ”การสลายนิ่ว” (ESWL,Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy) สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกราย เช่น กรณีที่มีขนาดใหญ่ และแข็งมาก นอกจากนั้นผลลัพธ์การรักษายังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ เพราะนิ่วอาจจะไม่สลายตัวเลย หรือสลายตัวได้ทีละน้อย ทำให้ต้องสลายกันหลายครั้งใช้เวลารักษากันหลายเดือน และจำเป็นต้องผ่าตัดในผู้ป่วยหลายๆราย ทางการแพทย์จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นที่เรียกกันว่า PCNL



PCNL (Percutaneous Nephrolithotomy) 
คือการส่องกล้องเข้าในไต เพื่อเอานิ่วออก โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ทำการส่องกล้องผ่านทางรูขนาดเล็ก เพียงรูเดียวที่บริเวณหลังของผู้ป่วย โดยเลือกตำแหน่งที่เหมาะสม ที่จะทำการส่องกล้องโดยอาศัยเครื่องมือ Fluoroscope ในการกำหนดพิกัด แล้วเจาะรูขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ซึ่งขนาดเล็กเท่ารูกุญแจ เพื่อเป็นช่องทางที่จะส่องกล้อง Nephroscope เข้าภายในไต เมื่อพบก้อนนิ่วแล้ว แพทย์จะทำให้นิ่วนั้นแตกออกเป็นขนาดเล็กโดยอาศัยเครื่องมือ Lithoclast Lithotripsy แล้วคีบเอานิ่วออกจากร่างกายผ่านทารูเดียวกัน

ข้อดีของการรักษาโดยวิธี
PCNL ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดนิ่วสูงเทียบเท่าการผ่าตัดเปิด แต่ได้รับบาดเจ็บจากการรักษาน้อยมาก


        ในการรักษาโรคนิ่วในไตปัจจุบันไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป        เพราะมีนวัตกรรมใหม่ๆทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยที่สุด แต่กระนั้นก็ไม่ควรที่จะใช้ชีวิตด้วยความประมาท ควรระวังและป้องกันจากโรคนี้ โดยวิธีการปฏิบัติตัวแบบง่ายๆ เช่น ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน เพื่อให้มีปริมาณน้ำปัสสาวะเพียงพอ ไม่ให้เข้มข้นมาก ลดการทานอาหารที่เค็มจัด เนื่องจากปริมาณเกลือที่ทานเข้าไปจะขับออกทางปัสสาวะและมีส่วนชักนำให้ปริมาณแคลเซียมที่ขับออกมามากตามด้วย ถ้ามีระดับกรดยูริคในเลือดสูง ต้องควบคุมให้ลงมาอยู่ในระดับปกติ โดยการทานยา หรือควบคุมอาหารที่มีกรดยูริคสูง และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อที่จะให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นการเขย่าไม่ให้ผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้น ที่สำคัญเมื่อเกิดอาการควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...