วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลิ่นปาก


การมีกลิ่นปากเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับหลาย ๆ คน ทำให้เกิดความรำคาญญใจและขาดความเชื่อมั่นเมื่อจะเข้าสังคม สาเหตุของกลิ่นปากนั้นส่วนใหญ่มาจากปัญหาในช่องปาก ส่วนน้อยมาจากสาเหตุภายนอกช่องปาก เช่น โรคของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารส่วนต้น

สาเหตุในช่องปากที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก

1.   การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีพอ ทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับเศษอาหารที่ตกค้างเกิดเป็นสารประกอบมีกลิ่นที่ระเหยได้
2.   เป็นโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ ซึ่งทำให้ร่องเหงือกลึกกว่าคนปกติ เชื้อโรคสะสมได้มากเกิดการอักเสบทำให้มีกลิ่นปาก
3.   ละเลยการทำความสะอาดลิ้น เนื่องจากลิ้นมีลักษณะที่ไม่เรียบ ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์และเศษอาหารมาสะสมมาก
4.   มีฟันผุหรือวัสดุบูรณะที่บกพร่อง ทำให้มีลักษณะเป็นช่อง หรือโพรงเป็นแหล่งกักเก็บเศษอาหารกรณีฟันผุมากจนเป็นหนองยิ่งทำให้เกิดกลิ่นปาก
5.  การใส่ฟันปลอมที่เหมาะสม บางครั้งฟันปลอมจะกดเนื้อเยื่อทำให้การไหลเวียนของน้ำลายใต้ฐานฟันปลอมไม่ดี
6.   การดูแลรักษาฟันปลอมไม่ดี โดยเฉพาะฟันปลอมชนิดถอนได้ ซึ่งมีส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นแหล่งกักเก็บเศษอาหารอย่างดี
7.   ใส่เครื่องมือจัดฟัน  โดยเฉพาะแบบติดแน่นซึ่งมีซอกหลืบต่าง ๆ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
8.  ไม่มีการไหลเวียนของน้ำลาย เช่น ระหว่างนอนหลับ หรือการไม่พูดคุย ทำให้มีการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์มาก เมื่อย่อยสลายอาหารที่ตกค้าง ก็จะทำให้เกิดกลิ่นปากได้
9.   เป็นมะเร็งในจช่องปาก อาจทำให้เกิดกลิ่นที่รุนแรง
10. รับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เช่น กระเทียม เครื่องเทศ เป็นต้น


การป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นปาก


1.   ดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก โดยการแปรงฟันให้ทั่วถึง ใช้ไหมขัดซอกฟันและแปรงลิ้นให้สะอาด
2.   หลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
3.   พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

การรักษา

ทันตแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เช่น อุดฟันที่ผุ รักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ แนะนำทำความสะอาดฟันปลอมเป็นต้น แต่ถ้าพบว่าสาเหตุไม่ได้มาจากภายในช่องปาก ทันตแพทย์จะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหาสาเหตุของกลิ่นปากต่อไป



กรณีของน้ำนยาบ้วนปากหรือสเปรย์ที่ช่วยดับกลิ่นปากนั้น เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดกลิ่นปากเพียงชั่วคราว ไม่ได้ช่วยกำจัดสาเหตุที่แท้จริงออกไป และไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เพระจะไปรบกวนสภาวะของเชื้อต่าง ๆ ในช่องปาก ทำให้เกิดเชื้อราในช่องปากได้




ด้วยความปราถนาดีจาก

คลินิคทันตกรรมโรงพยาบาลแมคคอร์มิค 053-921777 ต่อ 1326
เวลาทำการ 
จ-ศ 08.00 - 20.00 น.
ส - อ  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์ 08.00 - 16.00 น.

 ** วันและเวลาทำการ อาจเปลี่ยนแปลงได้ **

ทำไมเราต้องขูดหินปูน

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อรับประทานอาหาร เศษอาหารที่ตกค้างจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในช่องปากและสารประกอบในน้ำลายรวมกันเป็น "แผ่นคราบจุลินทรีย์" หรือที่เราเรียกว่า ขี้ฟันเมื่อเราแปรงฟังไม่สะอาดทำให้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์หลงเหลือจะพอกพูนหนาตัวขึ้นร่วมกับการตกตะกอนของแคลเซียมในน้ำลายร่วมด้วยทำให้เกิดหินปูน ซึ่งมีลักษณะแข็งสีคล้ายฟัน หรือเข้มจากการติดสีจากอาหารที่ทาน อยู่ติดเแน่นกับฟันทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกเท่านั้น

ทำไมเราต้องขูดหินปูน ??

เพราะไม่มีใครสามารถแปรงฟันได้สะอาดทุกซอกทุกมุม ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสที่จะมีหินปูน หินปูนเป็นแหล่งสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและมีการขับสารพิษที่เป็นกรดออกมาทำลายอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกว่าโรครำมะนาด

อาการของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวม แดง นิ่ม
  3. เหงือกแยกตัวออกจากฟัน
  4. มีคราบจุลินทรีย์ มีหินปูนเกาะบริเวณคอฟัน
  5. มีกลิ่นปาก
  6. มีหนองบริเวณคอฟัน
  7. ฟันโยกจากการทำลายกระดูกรองรับฟัน
การรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนอาการก็จะดีขึ้น
โรคปริทันต์ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งเป็นการกำจัดหินปูนที่เกาะบริเวณรากฟัน กรณีมีฝีหนองเกิดขึ้นก็จะทำการขูดกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออกไป กรณีที่มีฟันโยกมา ๆ จากการทำลายกระดูกรองรับฟันอาจพิจารณาถอนออกไป

การป้องกัน
  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยครั้งละ 2 - 3 นาที วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง และตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟันได้โดยใช้ลิ้นสัมผัสตามผิวฟัน ถ้าสะอาดแล้วจะมีความรู้สึกลื่นไม่สาก  มองด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีคราบขุ่น ๆ ที่ซอกเหงือกและฟัน
  2. พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุก 6 เดือน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการสะสมตัวของหินปูน
  4. ในบางกรณี การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดได้หมดจดโดยเฉพาะตามซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยเสริมในการทำความสะอาดด้วยเช่นไหมขัดฟัน

คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค : โทร.0-5392-1777 ต่อ 1326  
เวลาทำการ: 
จ - ศ    08.00 - 20 .00 น.
ส - อา  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์  08.00 - 16.00 น. 

ทำไมเราต้องขูดหินปูน และกลิ่นปาก

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อรับประทานอาหาร เศษอาหารที่ตกค้างจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในช่องปากและสารประกอบในน้ำลายรวมกันเป็น "แผ่นคราบจุลินทรีย์" หรือที่เราเรียกว่า ขี้ฟันเมื่อเราแปรงฟังไม่สะอาดทำให้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์หลงเหลือจะพอกพูนหนาตัวขึ้นร่วมกับการตกตะกอนของแคลเซียมในน้ำลายร่วมด้วยทำให้เกิดหินปูน ซึ่งมีลักษณะแข็งสีคล้ายฟัน หรือเข้มจากการติดสีจากอาหารที่ทาน อยู่ติดเแน่นกับฟันทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกเท่านั้น

ทำไมเราต้องขูดหินปูน ??

เพราะไม่มีใครสามารถแปรงฟันได้สะอาดทุกซอกทุกมุม ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสที่จะมีหินปูน หินปูนเป็นแหล่งสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและมีการขับสารพิษที่เป็นกรดออกมาทำลายอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกว่าโรครำมะนาด

อาการของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวม แดง นิ่ม
  3. เหงือกแยกตัวออกจากฟัน
  4. มีคราบจุลินทรีย์ มีหินปูนเกาะบริเวณคอฟัน
  5. มีกลิ่นปาก
  6. มีหนองบริเวณคอฟัน
  7. ฟันโยกจากการทำลายกระดูกรองรับฟัน
การรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนอาการก็จะดีขึ้น
โรคปริทันต์ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งเป็นการกำจัดหินปูนที่เกาะบริเวณรากฟัน กรณีมีฝีหนองเกิดขึ้นก็จะทำการขูดกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออกไป กรณีที่มีฟันโยกมา ๆ จากการทำลายกระดูกรองรับฟันอาจพิจารณาถอนออกไป

การป้องกัน
  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยครั้งละ 2 - 3 นาที วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง และตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟันได้โดยใช้ลิ้นสัมผัสตามผิวฟัน ถ้าสะอาดแล้วจะมีความรู้สึกลื่นไม่สาก  มองด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีคราบขุ่น ๆ ที่ซอกเหงือกและฟัน
  2. พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุก 6 เดือน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการสะสมตัวของหินปูน
  4. ในบางกรณี การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดได้หมดจดโดยเฉพาะตามซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยเสริมในการทำความสะอาดด้วยเช่นไหมขัดฟัน

คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค : โทร.0-5392-1777 ต่อ 1326  
เวลาทำการ: 
จ - ศ    08.00 - 20 .00 น.
ส - อา  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์  08.00 - 16.00 น. 

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...