วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

กินอย่างไร คุมเบาหวานให้อยู่หมัด!!!!


Embed from Getty Images


โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิตของคนเรา แต่เมื่อใดที่อินซูลินเกิดความไม่สมดุล คือ อาจจะมีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้พาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้จึงตกค้างอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป เรียกว่าการขาดอินซูลิน หรือมีมากแต่ไม่ออกฤทธิ์ตามปกติจึงเรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว

Embed from Getty Images

คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักจะละเลยในเรื่องของอาหารการกินและการควบคุมอาหาร รวมถึงไม่ค่อยใส่ใจกับการออกกำลังกายด้วย โดยอาจจะคิดแค่ว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหายเหมือนกับโรคทั่วๆไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้นการควบคุมอาหารและรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาและป้องกันโรคเบาหวานได้


อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1.อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน 
  
Embed from Getty Images     
  •  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามรับประทาน ได้แก่ ลูกอม ลูกกวาด ไอศกรีม ขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ช็อกโกแลต ขนมหวานทุกชนิด รวมถึงน้ำแข็งใสที่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำเชื่อมด้วย
  •  ผลไม้ที่มีรสหวาน รวมถึงผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม เช่นทุเรียน เงาะ ลำไย มะม่วงสุก ลูกพรุน ลูกพลับ อินทผลัมตากแห้ง ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง
  • เครื่องดื่ม ให้ระวังน้ำอัดลมเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ใกล้ตัวที่สุดรองลงมาจากน้ำเปล่า ถัดมาเป็นน้ำผลไม้ซึ่งส่วนมากจะมีรสหวานทั้งจากตัวผลไม้เอง และจากน้ำเชื่อมที่เติมลงไป เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่น และน้ำแอปเปิ้ล แต่ถ้าอยากดื่มน้ำผลไม้ให้เลือกเป็นน้ำมะเขือสด เพราะจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จำพวกเบียร์และไวน์ด้วยเช่นกัน
  •  อาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ ไขมันนม เนย ครีม

หากจะห้ามของหวานกันทุกอย่างแบบนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานคงไม่ได้ลิ้มรสความหวานกันเลยตลอดชีวิต แต่เรามีทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการความหวานอย่างปลอดภัย ซึ่งก็คือการใช้สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือที่เราเรียกกันว่าน้ำตาลเทียม ซึ่งมีรสหวานแต่ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่แอสพาร์แทม แซคคารีน หรือขัณทสกร ซูคราโลส และน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล และแมนิทอล รับรองว่าปลอดภัยแน่นอนคะ

2.อาหที่ารรับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ”

Embed from Getty Images

ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน และทุกมื้อให้หลากหลายชนิดในหนึ่งวัน อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยซับน้ำตาล ไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้พอดี ได้แก่ ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ มะเขือ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปของผักสด หรือผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปของน้ำผักปั่น โดยเฉพาะน้ำผักปั่นแยกกาก ทำให้เราได้รับใยอาหารไม่ได้มากเท่าที่ควร


3.อาหารที่รับประทานได้ แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ
Embed from Getty Images

อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาลและมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ผู้เป็นโรคเบาหวานจึงไม่ควรงดหรือจำกัดจนเกินไป ควรได้รับให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การจำกัดข้าวหรือแป้งมากเกินไปกลับเป็นผลเสีย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดอาจต่ำ เกิดอาการหิว ส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
คาร์โบไฮเดรตที่ทำให้การดูดซึมช้าลง ได้แก่ พวกเมล็ดธัญพืชไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น

          ฉะนั้นการจะควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่หมัด จำเป็นต้องลดทั้งหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอดูแลทั้งหมดนี้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะดูแลสุขภาพของเราได้อย่างยั่งยืน
Embed from Getty Images


วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

การดื่มสุรา ภัยโรคตับที่คุณอาจไม่รู้ตัว


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเบียร์หรือสุรานั้น อย่คู่สังคมเรามากกว่า 4000 ปี ตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา ผลข้างเคียงของแอลกอฮอล์ซึ่งพบได้หลังจากดื่มเข้าไปคือทำให้เกิดอารมณ์ดีเมื่อได้รับในขนาดน้อยๆ ไปจนถึงอาละวาดและหมดสติได้ถ้าได้รับในปริมาณมาก เช่นกันมีการพบการเสียชีวิตของคนสำคัญของโลกจากการดื่มสุรา จนทำให้คนเหล่านั้นแทนที่จะทำประโยชน์แก่โลกเรากลับทำให้เสียชีวิตก่อนวัยที่ควรจะเป็น และโรคตับจากการดื่มสุราก็มีลักษณะแปลกๆอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีอาการแล้วมักมีอาการมากทรุดหนักอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีอาการเตือนมาก่อนเลย


“5 คำถามเกี่ยวกับภัยจากการดื่มสุรา”

  1. ในการดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณมากน้อยเท่าไหร่จึงทำให้เกิดปัญหาโรคตับแข็ง

    ตอบ  จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 80 กรัมหรือ 5 หน่วย เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี สามารถที่จะก่อให้เกิดตับแข็งได้ ผู้ที่บริโภคสุราในปริมาณดังที่กล่าวแล้วมีเพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้นที่จะเกิดตับแข็ง ในเมืองไทยอาจเป็นเร็ว และมากว่านี้ โดยปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ดีพอที่จะอธิบายว่าเพราะเหตุใด ผู้ที่บริโภคแอลกอฮอล์จำนวนมากจึงมิได้เป็นตับแข็ง และขอเตือนสำหรับคนที่ตับแข็งไปแล้วอาจไม่รู้ตัวว่าป่วยเพราะจะยังไม่มีอาการใดๆจนกว่าจะมีภาวะแทรกซ้อน ทางที่ควรเช็คกับแพทย์ ว่าเราเกิดปัญหาที่ตับบ้างหรือยัง
    Embed from Getty Images
  2. การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ อะไรบ้าง

    ตอบ โรคตับพอจะแบ่งได้ออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ โรคไขมันสะสมตับในตับ(Alcoholic fatty liver)เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มอย่างต่อเนื่องก็จะมีการลุกลามของโรคไปในระยะที่ 2ทำให้เป็นรุนแรงขึ้น คือโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์(Alcoholic Hepatitis) ในระยะนี้ เป็นระยะซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ได้ด้วยอาการหลายแบบ ตั้งแต่ที่มีอาการน้อย เช่น จุกแน่นที่บริเวณชายโครงด้านขวาไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น อาการดีซ่าน ไข้สูง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางสติสัมปชัญญะตลอดจนตับวายได้ ผู้ที่ดื่มหยุดเหล้าในระยะนี้ ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นและอาจกลับเป็นปกติได้ สำหรับผู้ที่ยังดื่มต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ก็จะมีโอกาสลุกลามเข้าไปสู่ระยะที่ 3 ที่เรียกว่า ตับแข็งจากแอลกอฮอล์(Alcoholic Cirrhosis) เป็นระยะสุดท้ายที่พบว่ามีพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ผู้ที่เป็นตับแข็งยังจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของตับเพิ่มขึ้นอีกด้วย ผู้ที่หยุดดื่มในระยะนี้ตับจะมีการเสียหายอย่างถาวรและจะไม่สามารถกลับเป็นตับปกติได้อีก

  3. ทำไมแต่ละคนบางคนดื่มแล้วไม่ค่อยจะเป็นอะไร บางคนดื่มแล้วเกิดตับอักเสบ หรือตับแข็งได้เร็วกว่า
    Embed from Getty Images
    ตอบ ปัจจัยที่ทำให้ตับอักเสบ แต่ละคนไม่เหมือนกัน การเกิดการเมาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการทำลายตับของตัวเองโดยตรงใดๆ แต่การเกิดตับอักเสบและตับแข็งได้มากหรือน้อยกว่ากันมีปัจจัยต่างกันคือ

    3.1 เพศ ผู้หญิงจะเกิดเป็นทั้งตับอักเสบและตับแข็งได้เร็วกว่าแม้ว่าดื่มน้อยกว่าผู้ชายและผู้หญิงจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าในขณะที่ดื่มเท่ากันกับผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการกระจายของกล้ามเนื้อ ไขมันต่อแอลกอฮอล์น้อยกว่าผู้ชาย และผู้หญิงมีการดูดซึมแอลกอฮอล์มากว่าผู้ชายนั่นเอง

    3.2 กรรมพันธุ์ ปกติพิษของเหล้าจะเกิดหลังเหล้าผ่านตับ จะเปลี่ยนเป็นพิษที่เรียกว่ Acetaldehydeโดยผ่านเอนไซม์หลายชนิด พบว่ากรรมพันธุ์ในการสร้างสารพิษจากเหล้าในแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    3.3 ภาวะโภชนาการ ถ้าผอมจะเกิดโรคตับเร็วกว่าคนที่อ้วนกว่า

    3.4 การมีไวรัสตับอักเสบทำลายตับร่วมด้วย โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี ห้ามดื่มเหล้าเด็ดขาด ไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าด้วย

  4. เหล้าทำลายส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่

    ตอบ โรคแทรกซ้อนอื่นๆที่เกิดจากแอลกอฮอล์มีมากมาย ได้แก่
    - ระบบสมอง ระบบประสาท เกิดภาวะมือสั่น สับสนตกใจง่าย ตากลอกผิดปกติ เวียนศรีษะ งง มีอ่อนแรงแขนขา ตะคริวง่าย เป็นต้น
    -  ระบบทางเดินอาหาร เช่นกระเพาะอักเสบ อาจเป็นมะเร็งของคอ กล่องเสียง หลอดอาหารได้ง่ายกว่าคนปกติได้ ภาวะดูดซึมอาหารผิดปกติ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ภาวะท้องเสีย ถ่ายเป็นไขมัน เป็นต้น
    - โรคหัวใจ อาจมีหัวใจเต้นผิดปกติ โรคเส้นเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต
    -  ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะน้ำตาลสูงง่ายบางรายอาจเป็นเบาหวานได้ด้วย ภาวะไขมันสูงผิดปกติ เกลือแร่ แมกนีเซียมต่ำ ฟอสเฟตต่ำ
    -ภาวะกรดคีโตนสูง ภาวะเป็นหมัน หรืออัณฑะฟ่อโรคระบบเลือดผิดปกติ เช่นภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ และเกร็ดเลือดต่ำ หรือ สูง
  5. การรักษาภาวะตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ มีอะไรบ้าง

    ตอบ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การหยุดเหล้า ในรายที่ยังไม่มีตับแข็งแบบตับวาย หลังหยุดเหล้าแล้วการอยู่รอดมีอายุยืนยาวได้เท่าคนปกติ ถ้ามีตับแข็งแบบตับวายแล้ว ก็ตาม การอยู่รอดอายุยืนยาวก็ดีขึ้นด้วยกว่ายังดื่มต่อ

จะเห็นได้ว่าการดื่มสุรา ไม่ได้เป็นเป็นผลดีทั้งต่อสุขภาพและสังคม ฉะนั้นหนทางการเลิกสุราเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แรงกระตุ้นที่ทำให้เลิกเหล้า คือเราต้องหาต้นเหตุว่าอะไรที่ทำให้เราดื่ม เช่น สถานที่ ความเครียด เพื่อนชวน มีที่เก็บเหล้าทำให้หยิบดื่มง่าย การหยุดพักดูหนังทีไรชอบหาอะไรเข้าปาก ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหล้า ต้องแก้ต้นเหตุ รวมทั้งต้องประกาศวันเลิกเหล้าต่อเพื่อนหรือคนรัก
    Embed from Getty Images

    วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

    ออฟฟิศซินโดรม

    Embed from Getty Images

    ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะเกิดที่บริเวณ คอ ไหล่ หลัง ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน บางท่าทางจะทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ และบางท่าทางทำให้เกิดอาการตึง ยึด จนเกิดอาการปวดในที่สุด


    สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

    1. การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน 
    2. ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป 
    3. สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
    4. สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่อการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย



     5 สัญญาณเตือน!!
    1. อาการปวดหัวเรื้อรัง อาการปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากความเครียดในการทำงาน หรือการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน เช่นการอ่านเอกสาร การใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงบริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในวันที่ทำงานที่วุ่นวาย ไม่สงบ อาจจะทำให้คุรเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว
    2. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง สาเหตุของอาการนี้มาจากอะไรสังเกตง่ายๆ ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 8 ชั่วโมง อยู่กับกองเอกสารทั้งวัน แล้วมีอาการปวดตึงต้นคอ ปวดบ่า ปวดไหล่อยู่บ่อยๆ หรือบางทีปวดจนหันคอลำบาก ก้มก็ร้องโอย เงยก็ร้องโอย นั่นแหละคืออาการของโรคออฟฟิศซินโดรม 
    3. อาการปวดหลัง อาการปวดหลังนั้น สังเกตได้ง่ายๆเลยเพราะเป็นอาการยอดฮิตอันดับต้นๆเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆทั้งวัน หรือเป็นงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงเป็นประจำนั้น อาการของการปวดหลังนั้นคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากแน่ๆ 
    4. ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค สาเหตุของอาการนี้เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ ซึ่งมาจากการที่เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ในการจับเมาส์ พิมพ์เอกสารในท่าเดิมๆเป็นเวลานานๆจึงทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้ 
    5. อาการปวด ตึงที่ขา หรือเหน็บชา ลองสังเกตอาการนี้ง่ายๆว่าคุณเป็นเหน็บชาบ่อยหรือเปล่า หรืออยู่ดีๆขาไม่มีแรง อาการเหล่านี้เกิดจากการนั่งทำงานนานๆทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติจึงเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย หากมีอาการแต่ไม่รีบรักษาปล่อยไว้ในระยะเวลานาน อาจเกิดอาการชาลามไปถึงข้อเท้า ขาไร้เรี่ยวแรงแล้วละก็ การเดินของท่านอาจถึงขั้นทรุด เดินไม่ได้เลยก็เป็นได้




    วิธีหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม 
    เพียงแค่ในวันการทำงาน ควรแบ่งเวลาในการพักผ่อนบ้าง หรือระหว่างทำงานก็ควรยืดเส้นยืดสาย กายบริหารด้วยท่าง่ายๆ ที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลุกเดินบ้าง ออกไปสูดอากาศนอกห้องบ้าง ถือเป็นการพักสายตาไปในตัวได้ด้วย จัดระเบียบห้องให้โล่งสดใสบ้าง ผ่อนคลายปรับเก้าอี้ ปรับการวางคอมพิวเตอร์ดูว่าเหมาะสมหรือเปล่า พอดีกับเราหรือไม่ อาการที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่เกิดขึ้นกับคุณแน่นอน

    Embed from Getty Images


    แนวทางการรักษากลุ่มออฟฟิศซินโดรม 
    1. การรักษาด้วยยา
    2. การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง  
    3. การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 
    4. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม 
    5. การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
              อย่ารอให้อาการออฟฟิศซินโดรมถามหาในระยะที่เป็นหนัก เพราะนอกจากจะต้องเสียเวลาจนไม่ได้ทำงานอย่างที่ใจคิดแล้ว ยังเสียเงินพบแพทย์ และเสียเวลาทำกายภาพบำบัด หรือทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันสองวัน เราใช้เวลาร่วมเดือนร่วมปีถึงจะมีอาการออกมา เพราะฉะนั้นตอนรักษาให้หาย ก็ไม่ได้ใช้เวลารวดเร็วอย่างที่ใจอยากให้เป็นแน่นอน ดูแลสุขภาพกันให้ดีๆจะได้แข็งแรง ทำงาน ไปเที่ยว และใช้ชีวิตอยู่กับคนที่เรารักไปนานๆ



    วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

    สัญญาณ เตือนปัสสาวะบ่อยในผู้สูงอายุ



            ชายที่มีอายุ 50-60 ขึ้นไปและเมื่อมีอายุมากขึ้น โอกาสในการเป็นต่อมลูกหมากโตก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ไม่ค่อยออกหรือปัสสาวะที่ออกมาไม่ค่อยพุ่ง กะปริบกะปรอย เป็นต้น บางคนคิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ ความจริงแล้วหากปล่อยไปโดยไม่รักษา อาจมีอาการรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะไม่ออกหรือภาวะไตวายได้

            โรคต่อมลูกหมากโตนั้น สาเหตุมาจากขนาดของต่อมลูกหมากที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้เกิดแรงดันที่ท่อปัสสาวะ ทำให้รูเปิดท่อปัสสาวะเล็กลงและอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลกระทบกับการปัสสาวะ การรักษาต่อมลูกหมากโตทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการและความสมบูรณ์ของร่างกาย หากมีอาการเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจยังไม่ทำการรักษาใดๆ เพียงแต่เฝ้าดูอาการ


            การรักษาต่อมลูกหมากโตทำได้ตั้งแต่การให้ยาไปจนถึงการผ่าตัด ในปัจจุบันมีวิธีการใหม่ในการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยการใช้เลเซอร์พีวีพี (Photoselective Vaporization of the Prostate: PVP) หรือเรียกกันว่า GreenLight TM Laser เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ทั่วโลกเพราะการผ่าตัดทำได้สะดวก ลดภาวะแทรกซ้อน และสามารถทำแบบคนไข้นอกได้

    ขั้นตอนการรักษา ด้วยเลเซอร์พีวีพี

            แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ ยาชาเข้าทางไขสันหลัง หรือยาสลบ หลังจากนั้นจะสอดเส้นใยบางๆเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ แล้วจึงยิงแสงเลเซอร์สีเขียวกำลังสูงผ่านเส้นใยเพื่อสลายเนื้อเยื่อส่วนเกินในต่อมลูกหมาก ทำให้ทางเดินปัสสาวะเปิดกว้างและระบายปัสสาวะได้อย่างเป็นปกติ ถ้าต่อมลูกหมากโตไม่มาก จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง แต่ถ้าโตมาก จะใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดผู้ป่วยบางรายอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่ในกรณีที่ต่อมลูกหมากใหญ่มาก อาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลาหลายวัน หลังจากถอดสายสวนปัสสาวะออกแล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยทดลองปัสสาวะเพื่อดูว่าอาการปัสสาวะเป็นปกติหรือไม่ ซึ่ง ข้อดีของการรักษาด้วยเลเซอร์พีวีพี เช่น

    ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลน้อยมาก ส่วนใหญ่เพียง 1 วัน หลังจากนั้นกลับไปทำงานตามปกติได้ในวันรุ่งขึ้น
    เลือดไม่ออกหรือออกน้อยมาก
          ส่วนใหญ่ไม่มีการให้เลือดหลังผ่าตัดลดการเกิดแผลเป็นปากกระเพาะปัสสาวะโอกาสสูญเสียสมรรถภาพทางเพศน้อยมากการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยมากไม่พบภาวะผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งอาจพบในการผ่าตัดต่อมลูกหมากแบบเดิม

            เนื่องจากโรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ และเมื่อมีอายุมากขึ้นจะยิ่งมีความเสี่ยง ดังนั้นชายที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจหาความผิดปกติของต่อมลูกหมากเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี


    โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

    Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...