วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัญญาณ เตือนปัสสาวะบ่อยในผู้สูงอายุ



        ชายที่มีอายุ 50-60 ขึ้นไปและเมื่อมีอายุมากขึ้น โอกาสในการเป็นต่อมลูกหมากโตก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ไม่ค่อยออกหรือปัสสาวะที่ออกมาไม่ค่อยพุ่ง กะปริบกะปรอย เป็นต้น บางคนคิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ ความจริงแล้วหากปล่อยไปโดยไม่รักษา อาจมีอาการรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะไม่ออกหรือภาวะไตวายได้

        โรคต่อมลูกหมากโตนั้น สาเหตุมาจากขนาดของต่อมลูกหมากที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้เกิดแรงดันที่ท่อปัสสาวะ ทำให้รูเปิดท่อปัสสาวะเล็กลงและอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลกระทบกับการปัสสาวะ การรักษาต่อมลูกหมากโตทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการและความสมบูรณ์ของร่างกาย หากมีอาการเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจยังไม่ทำการรักษาใดๆ เพียงแต่เฝ้าดูอาการ


        การรักษาต่อมลูกหมากโตทำได้ตั้งแต่การให้ยาไปจนถึงการผ่าตัด ในปัจจุบันมีวิธีการใหม่ในการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยการใช้เลเซอร์พีวีพี (Photoselective Vaporization of the Prostate: PVP) หรือเรียกกันว่า GreenLight TM Laser เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ทั่วโลกเพราะการผ่าตัดทำได้สะดวก ลดภาวะแทรกซ้อน และสามารถทำแบบคนไข้นอกได้

ขั้นตอนการรักษา ด้วยเลเซอร์พีวีพี

        แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ ยาชาเข้าทางไขสันหลัง หรือยาสลบ หลังจากนั้นจะสอดเส้นใยบางๆเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ แล้วจึงยิงแสงเลเซอร์สีเขียวกำลังสูงผ่านเส้นใยเพื่อสลายเนื้อเยื่อส่วนเกินในต่อมลูกหมาก ทำให้ทางเดินปัสสาวะเปิดกว้างและระบายปัสสาวะได้อย่างเป็นปกติ ถ้าต่อมลูกหมากโตไม่มาก จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง แต่ถ้าโตมาก จะใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดผู้ป่วยบางรายอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่ในกรณีที่ต่อมลูกหมากใหญ่มาก อาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลาหลายวัน หลังจากถอดสายสวนปัสสาวะออกแล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยทดลองปัสสาวะเพื่อดูว่าอาการปัสสาวะเป็นปกติหรือไม่ ซึ่ง ข้อดีของการรักษาด้วยเลเซอร์พีวีพี เช่น

ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลน้อยมาก ส่วนใหญ่เพียง 1 วัน หลังจากนั้นกลับไปทำงานตามปกติได้ในวันรุ่งขึ้น
เลือดไม่ออกหรือออกน้อยมาก
      ส่วนใหญ่ไม่มีการให้เลือดหลังผ่าตัดลดการเกิดแผลเป็นปากกระเพาะปัสสาวะโอกาสสูญเสียสมรรถภาพทางเพศน้อยมากการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยมากไม่พบภาวะผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งอาจพบในการผ่าตัดต่อมลูกหมากแบบเดิม

        เนื่องจากโรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ และเมื่อมีอายุมากขึ้นจะยิ่งมีความเสี่ยง ดังนั้นชายที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจหาความผิดปกติของต่อมลูกหมากเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...