วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese encephalitis JE)

โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง คิวเล็กซ์


สาเหตุ
เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus

ระบาดวิทยา
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด

อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง

การวินิจฉัยโรค 
จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด

การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน 

1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
    ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese encephalitis JE)

โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง คิวเล็กซ์

สาเหตุ 
เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus

ระบาดวิทยา 
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด

อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง

การวินิจฉัยโรค 

จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด

การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน 

1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
    ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติร่างกายมีการเจ็บป่วยไม่สบาย

สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจากพิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรซิส  พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี ฯลฯ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ ไวรัส ตับอักเสบ เอ บี ซี ดี อี ในที่นี้จะกล่าวถึงไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

ไวรัสตับอักเสบเอ : Hepatitis A

สาเหตุ เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาหารทะเลดิบ ๆ สุก ๆ ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับอุจจาระ ของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาหารของโรค เชื้อไวรัสนี้จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบว่ามีการระบาดในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร

อาการ ในเด็กหากได้รับเชื้อมักไม่มีอาการ แต่ในผู้ใหญ่มักมีอาการของตับอักเสบ โรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะหายขาดไม่มีโรคเรื้อรับและไม่ทำให้เกิดตับแข็ง


ไวรัสตับอักเสบบี : Hepatitis B

สาเหตุ  พบว่าคนเป็นพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่

           1.ได้รับเลือด น้ำเลือด ของผู้ที่มีเชื้อนี้  อาจเกิดจากการใช้ของมีคม ของใช้ที่เปื้อนเลือดร่วมกับผู้ติดเชื้อ  เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน การเจาะหูที่ไม่สะอาด เชื้อสามารถเข้าทางผิดหนัวที่ถลอกมีบาดแผล

            2.ทางเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อนี้ พบเชื้อไวรัสอักเสบบีได้ในน้ำอสุจิ น้ำช่องคลอด เมื่อคู่สมรส มีเชื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ต้องตรวจเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ

            3.ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจติดเชื้อได้ระหว่างคลอดการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดปัจจุบันแพทย์จะฉีดวัคซีนให้ทารกแรกคลอดทันทีร่วมกับการให้ภูมิคุ้มกันโรค

            4.ทางสัมผัสใกล้ชิด ระหว่างผู้มีเชื้อนี้กับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กในวัยเรียน

อาการ กรณีตับอักเสบเฉียบพลัน อาจมีการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ จุกใต้ชายโครงจากตับโต ตามมาด้วปัสสาวะเหลืองและตาเหลือง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2 - 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติตามด้วยเกิดภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการอะไร สามารถทำงานได้ตามปกติ

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

             ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการได้แก่  การพักผ่อนให้เพียงพอ งดการออกแรง ออกกำลังกาย การทำงานหนัก งดการดื่มสุรา ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเหลี่ยงอาการไขมันสูง ในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากและควรตรวจเช็คเลือด เป็นระยะ ๆ ถ้าพบปัญหาความผิดปกติของตับร่วมด้วย เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็ง เป็นต้น  ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 
  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนหลังทำสิ่งใด ๆ หลังการขับถ่ายการประกอบอาหารให้ถูกหลักอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่สุก ดื่มน้ำที่สะอาด
  2. หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้อื่น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่สำส่อนทางเพศ ควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

            4.1 ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
            4.2 เด็กทั่วไปเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมา
                  แล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีดวัคซีน ดังนี้
      • ถ้ามีผลตรวจ HbsAg, HbsAb เป็น ลบ ทั้งหมดควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
      • ถ้ามีผลตรวจเป็น บวก ตัวใดตัวหนึ่งไม่ต้องรับการฉีดวัคซีน
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ
  1. หลีกเหลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานที่หักโหมในช่วงที่มีตับอักเสบ แต่การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
  2. งดการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะจะทำให้ตับเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น
  3. รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควรรับประทานอาหารใหเป็น เวลาไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขั้นและทำให้ตับโต
  4. งดสูบบุหรี่ ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่มีผลโดยตรงกับโรคตับ แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย จึงควรงดสูบบุหรี่เพื่อทำให้สุขภาพแข็งแรง
  5. ทำจิตใจให้สบาย พยายามลดความเครียด หรือความวิตกกังวล
  6. หมั่นรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง พักผ่อนตามสมควร ไม่นอนดึกและไม่อดนอน
  7. ไม่ซื้อยากินเอง เพราะยาหลายชนิดเป็นพิษต่อตับก่อนซื้อยาทุกครั้งต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกร    ทราบว่าตนเองเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ข้อมูลจาก  
  1. ชมรมตับแห่งประเทศไทย
  2. ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเิดินอาหาร และ เวชาศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน

     เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ควรดูแลและป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมี 5 กลุ่ม รวมทั้งหมด 15 โรค ได้แก่
  

   1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ
     2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง
     3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม
     4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่
          4.1 ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน
          4.2 ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค
          4.3 โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค
     5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก กระเด็นเข้าตา

     นอกจากนี้ ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ถ้าเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองออก และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่องที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังคือการรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรคที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

     ในการป้องกันโรคในฤดูฝน ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูงอายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัยอื่นๆ อยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จงเตือนกันในวันนี้

        ในแต่ละวันมีอะไรมากมายที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ทุกคน มีทั้งสุข ทุกข์ หัวเราะ ร้องไห้ ตื่นเต้นท้าทาย แตกต่างกันไป โดยที่เราเองไม่อาจรู้ได้ว่าแต่ละวันเราจะต้องพบกับสถานการณ์และความรู้สึกอย่างไรบ้างในชีวิต พระวจนะของพระเจ้า ใน ฮีบรู 3:13 "ท่านจงเตือนสติกันและกันทุกวันตลอดเวลาที่เรียกว่า "วันนี้" เพื่อว่าจะไม่มีผู้ใดในพวกท่านมีใจแข็งกระด้านไปเพราะเล่ห์กลของบาป"

         ข้าพเจ้าขอหนุนใจเราทุกคนว่า แม้แต่ละวันเราไม่อาจรู้ได้ว่าเราจะพบกับสถานการณ์อย่างไรก็ตาม แต่ขอให้เราจงกระทำอย่างนี้

1. จงเตือนสติตัวเองทุกวัน บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมเตือนสติตัวเองในการใช้ชีวิตแต่ละวัน และสิ่งที่เราทำนั้นดีหรือไม่ มีผลอย่างไรต่อตัวเองกับผู้อื่น ในพระวจนะของพระเจ้าโคโลสี 3:17 "และเมื่อท่านจะกระทำสิ่งใดด้วยวาจาหรือด้วยกายก็ตามจงกระทำทุกสิ่งในพระนามของพระเยซูเจ้า และขอบพระคุณพระบิดาเจ้าโดยพระองค์นั้น" อย่าคอยที่จะแต่เตือนคนอื่น แต่ให้เตือนตัวเองอยู่ทุกวัน

2. จงเตือนสติกันและกันทุกวัน เราไม่ได้มีชีวิตอยู่แต่ลำพัง เราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อเราอยู่ร่วมกัน บางทีเราอาจจะมองไม่เห็นบางอย่างในตัวของเรา คนอื่นอาจจะมองเห็นเมื่อมีโอกาส จงเตือนสติกันและกันทุกวัน ไม่ว่าในครอบครัว ในที่ทำงาน คนรอบข้างเรา เตือนกันด้วยความรัก ความห่วงใย อย่างจริงใจ เพื่อจะทำให้เกิดความเข้าใจ และ กระทำสิ่งที่ถูกต้องต่อกันและกัน แต่อย่าให้เป็นการตำหนิ การเห็นแก่ตัว ไม่สนใจกัน เพราะนั่นไม่ใช่นัำพระทัยของพระเจ้า

ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ชูกำลังเราทุกคนเพื่อนเราจะสามารถเตือนสติกันและกันทุกวันที่เรียกว่า "วันนี้" แล้วเราจะได้ต้องเสียดาย ถ้าไม่มีโอกาสในวันพรุ่งนี้

คศ.สุดาทิพย์ ทรงศักดิ์ปรีชา
อนุศาสกโรงพยาบาลแมคคอร์มิค

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปวดข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome - CST )

เป็นโรคซึ่งพบบ่อยมากโรคหนึ่งในวัยกลางคนถึงคนสูงอายุ โรคนี้เกิดขึ้นเพราะเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกด ทำให้มีอาการ ปวด ชา และ อ่อนกำลังที่มือ โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือน จะหายขายได้

  สาเหตุ 

  1. เกิดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์การห่อของในโรงงาน เป็นต้น
  2. จากอุบัติเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูดหัก ข้ออักเสบ 
  3. จากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น
  อาการ 

อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึกต้องลุกขึ้นสะบัดมือสักพักแล้วค่อยทุเรา พอเป็นมากขึ้นจะมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา 

  การป้องกัน 
  1. พยายยามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่น การใช้คีมหยิบจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ
  2. เวลาที่ใช้เครื่องมือ ด้วยท่าที่ถือข้อมือจับแทนที่จะใช้นิ้วจับ
  3. พยายามใช้มือ ด้วยท่าทีถือข้อมือตรง ไม่งอมาก อาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย
  4. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย - ขวา พักการใช้มือครั้งคราว พยายามลดความกดดันมือเวลาใช้มือ
  การรักษา 
  1. ใช้ที่ดามข้อมือ ตลอดทั้งกลางคืน - กลางวัน
  2. รับประทานยาแก้อักเสบ
  3. การทำกายภาพบำบัด
  4. การฉีดยา
  5. การผ่าตัดผ้าเส้นพักผืดกดเส้นประสาทโดยการฉีดยาชาที่ข้อมือ อาการจะหายเร็วและได้ผลดีมาก
ในกรณีที่ปวดจากเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งเป็นโรคปวดข้อมือที่พบบ่อยที่สุด

  ช่วงที่ปวดอยู่ 
  • หลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
  • ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10-15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที  แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง
  ช่วงที่หายปวดแล้ว 
  • ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว วกางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยางขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
  • สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ สามารถทำได้ง่าย ๆ                ดังภาพต่อไปนี้

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)



     สาเหตูของโรคความดันโลหิตสูง

โรคที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง พบเพียงร้อยละ 10 - 15 เช่น โรคไต ต่อมไร้ท่อ ต่อมหมวกไต เมื่อรักษาต้นเหตุแล้วความดันโลหิตสูง ก็จะหายไป

ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 85 -  95 มักไม่ทราบสาเหตุ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดไป เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต

ความดันโลหิตสูงจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. ตามระดับความดันโลหิต
2. ตามการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ คือ

  • ไต
  • หัวใจ
  • สมอง
  • จอภาพในตา
  • หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ

3. จำแนกตามสมมติฐาน

  • ไม่ทราบสมมติฐานที่แน่ชัด
  • ผลจากยาคุมกำเนิด
  • จากครรภ์เป็นพิษ

      ค่าของความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ค่าความดันโลหิตเป็นเลข 2 ชุด

ตัวเลขแรก  เป็นค่าความดันโลหิตที่วัดเมื่อหัวใจบีบเต็มที่ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงร่างกาย
ตัวเลขหลัง เป็นค่าความดันที่วัดเมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่แล้ว



     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค

  1. อายุ   คนที่อายุน้อยถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีอายุมาก
  2. เพศ  เพศชายมีโอกาสเป็นอัมพาตและภาวะหัวใจวายตายมากกว่าเพศหญิง
  3. น้ำหนัก ถ้าลดน้ำหนักจะทำให้ความดันโลหิตลดลง
  4. ความเครียด การทำให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียดร่วมกับการลดความเครียดทางจิตใจ สามารถลดความดันโลหิตลงได้ อย่างแน่นอน
  5. พันธุกรรม

อาการ

1. ปวดศรีษะ  มักจะมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย ในตอนเช้า
2. ปวดศรีษะข้างเดียวแบบไมเกรน พบบ่อยในคนที่มีความดันโลหิตสูง
3. เลือดกำเดาออก

     การรักษาความดันโลหิตสูง

หลักในการรักษา คือ พยายามควบคุมให้ความดันต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ในคนที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย) อย่างต่อเนื่องโดย
  • ลดอาหารเค็ม
  • ลดน้ำหนัก
  • ทำจิตใจให้ผ่องใส 
  •  รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • มาพบแพทย์ตามกำหนด

       ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง


  1. สมอง อาจพบว่ามีเส้นเลือดในสมองแตก หรือมีอาการอุดตันของหลอดเหลือดในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้
  2. หัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. ไต     ทำให้เกิดภาวะไตวายได้

ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever)




ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ จะพบน้อยมาก ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างประปราย อาการมักไม่รุนแรง และมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มียุงลายชุกชุม

   สาเหตุของการเกิดไข้เลือดออก   

ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางวัน กล่าวคือยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงจะไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง ยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา หลุมที่มีน้ำขัง

   อาการ   เมื่อเป็นไข้เลือดออกแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน มีลักษณะไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง ปวดศรีษะ กระหายน้ำ ซึม มักมีอาการเบื่ออาหาร และอาเจียนร่วมด้วยเสมอ กินยาลดไข้ก็จะไม่ลด ในบางรายจะมีอาหารปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ ชายโครงขวา บางคนอาจมีผื่นแดงขึ้นตามลำตัว แขนและขา อาจจะพบรอยจ้ำเขียวด้วยก็ได้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง  2-7 วัน ถ้าไม่มีอาการรุนแรงไข้จะลดในวันที่ 5 - 7

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก

อาการจะเกิดระหว่างวันที่ 3-7 ของโรค อาการไข้จะลดลง แต่คนไข้จะมีอาการปวดท้อง และอาเจียน บ่อยขึ้น ซึม กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะบ่อย ชีพจรเบา เต้นเร็ว ความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการช็อก ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่รู้สึกตัว ปากเขียวคลำชีพจรไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือด มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
ระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลา 2 - 3 วัน ถ้าหากผู้ป่วยไม่เสียชีวิต ก็จะสามารถผ่านช่วงวิกฤตไปได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

ในรายที่ผ่านระยะที่ 2 แล้ว อาการก็จะค่อยดีขึ้นกลับเข้าสู่สภาพปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มกินอาหารได้ อาการปวดท้องจะลดลง อาการเลือดออกจะค่อย ๆ ดีขึ้น

   อาการแทรกซ้อน   

นอกจากภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะช็อคแล้วอาจะป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ แทรกซ้อนได้ หรืออาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำได้

ถ้าท่านสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรปฏิบัตตัวดังต่อไปนี้

1. กินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาจำพวก แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย
2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ
3. เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการดังกล่าวมาข้างต้น ควรพบแพทย์
4. ในรายที่ปวดท้องมาก อาเจียน รับประทานไม่ได้ กระสับกระส่าย ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

  การป้องกันไข้เลือดออกสามารถทำได้ดังนี้   

1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น

  • ปิดฝาโอ่งน้ำและล้างโอ่งน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • จานรองตู้กับข้าว ควรใส่ทรายอะเบทลงไปหรือเทน้ำเดือดทุก ๆ สัปดาห์ หรือเกลือแกง 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว
  • ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า ๆ ทิ้งเพื่อจะไม่เป็นที่ขังของน้ำ
2.  ระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น ควรนอนกลางมุ้ง หรือ ทายากันยุง


  อาการที่เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด   
  • อาการกระสับกระสาย หรือ ซึมมาก
  • ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
  • อาเจียนมาก
  • มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก
  • หายใจหอบ ปาก และ เล็บเขียว
  • มีรอยจ้ำตามตัวหลายแห่ง ถ้าพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพบแพทย์โดยเร็ว

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลิ่นปาก


การมีกลิ่นปากเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับหลาย ๆ คน ทำให้เกิดความรำคาญญใจและขาดความเชื่อมั่นเมื่อจะเข้าสังคม สาเหตุของกลิ่นปากนั้นส่วนใหญ่มาจากปัญหาในช่องปาก ส่วนน้อยมาจากสาเหตุภายนอกช่องปาก เช่น โรคของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารส่วนต้น

สาเหตุในช่องปากที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก

1.   การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีพอ ทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับเศษอาหารที่ตกค้างเกิดเป็นสารประกอบมีกลิ่นที่ระเหยได้
2.   เป็นโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ ซึ่งทำให้ร่องเหงือกลึกกว่าคนปกติ เชื้อโรคสะสมได้มากเกิดการอักเสบทำให้มีกลิ่นปาก
3.   ละเลยการทำความสะอาดลิ้น เนื่องจากลิ้นมีลักษณะที่ไม่เรียบ ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์และเศษอาหารมาสะสมมาก
4.   มีฟันผุหรือวัสดุบูรณะที่บกพร่อง ทำให้มีลักษณะเป็นช่อง หรือโพรงเป็นแหล่งกักเก็บเศษอาหารกรณีฟันผุมากจนเป็นหนองยิ่งทำให้เกิดกลิ่นปาก
5.  การใส่ฟันปลอมที่เหมาะสม บางครั้งฟันปลอมจะกดเนื้อเยื่อทำให้การไหลเวียนของน้ำลายใต้ฐานฟันปลอมไม่ดี
6.   การดูแลรักษาฟันปลอมไม่ดี โดยเฉพาะฟันปลอมชนิดถอนได้ ซึ่งมีส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นแหล่งกักเก็บเศษอาหารอย่างดี
7.   ใส่เครื่องมือจัดฟัน  โดยเฉพาะแบบติดแน่นซึ่งมีซอกหลืบต่าง ๆ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
8.  ไม่มีการไหลเวียนของน้ำลาย เช่น ระหว่างนอนหลับ หรือการไม่พูดคุย ทำให้มีการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์มาก เมื่อย่อยสลายอาหารที่ตกค้าง ก็จะทำให้เกิดกลิ่นปากได้
9.   เป็นมะเร็งในจช่องปาก อาจทำให้เกิดกลิ่นที่รุนแรง
10. รับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เช่น กระเทียม เครื่องเทศ เป็นต้น


การป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นปาก


1.   ดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก โดยการแปรงฟันให้ทั่วถึง ใช้ไหมขัดซอกฟันและแปรงลิ้นให้สะอาด
2.   หลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
3.   พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

การรักษา

ทันตแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เช่น อุดฟันที่ผุ รักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ แนะนำทำความสะอาดฟันปลอมเป็นต้น แต่ถ้าพบว่าสาเหตุไม่ได้มาจากภายในช่องปาก ทันตแพทย์จะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหาสาเหตุของกลิ่นปากต่อไป



กรณีของน้ำนยาบ้วนปากหรือสเปรย์ที่ช่วยดับกลิ่นปากนั้น เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดกลิ่นปากเพียงชั่วคราว ไม่ได้ช่วยกำจัดสาเหตุที่แท้จริงออกไป และไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เพระจะไปรบกวนสภาวะของเชื้อต่าง ๆ ในช่องปาก ทำให้เกิดเชื้อราในช่องปากได้




ด้วยความปราถนาดีจาก

คลินิคทันตกรรมโรงพยาบาลแมคคอร์มิค 053-921777 ต่อ 1326
เวลาทำการ 
จ-ศ 08.00 - 20.00 น.
ส - อ  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์ 08.00 - 16.00 น.

 ** วันและเวลาทำการ อาจเปลี่ยนแปลงได้ **

ทำไมเราต้องขูดหินปูน

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อรับประทานอาหาร เศษอาหารที่ตกค้างจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในช่องปากและสารประกอบในน้ำลายรวมกันเป็น "แผ่นคราบจุลินทรีย์" หรือที่เราเรียกว่า ขี้ฟันเมื่อเราแปรงฟังไม่สะอาดทำให้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์หลงเหลือจะพอกพูนหนาตัวขึ้นร่วมกับการตกตะกอนของแคลเซียมในน้ำลายร่วมด้วยทำให้เกิดหินปูน ซึ่งมีลักษณะแข็งสีคล้ายฟัน หรือเข้มจากการติดสีจากอาหารที่ทาน อยู่ติดเแน่นกับฟันทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกเท่านั้น

ทำไมเราต้องขูดหินปูน ??

เพราะไม่มีใครสามารถแปรงฟันได้สะอาดทุกซอกทุกมุม ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสที่จะมีหินปูน หินปูนเป็นแหล่งสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและมีการขับสารพิษที่เป็นกรดออกมาทำลายอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกว่าโรครำมะนาด

อาการของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวม แดง นิ่ม
  3. เหงือกแยกตัวออกจากฟัน
  4. มีคราบจุลินทรีย์ มีหินปูนเกาะบริเวณคอฟัน
  5. มีกลิ่นปาก
  6. มีหนองบริเวณคอฟัน
  7. ฟันโยกจากการทำลายกระดูกรองรับฟัน
การรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนอาการก็จะดีขึ้น
โรคปริทันต์ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งเป็นการกำจัดหินปูนที่เกาะบริเวณรากฟัน กรณีมีฝีหนองเกิดขึ้นก็จะทำการขูดกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออกไป กรณีที่มีฟันโยกมา ๆ จากการทำลายกระดูกรองรับฟันอาจพิจารณาถอนออกไป

การป้องกัน
  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยครั้งละ 2 - 3 นาที วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง และตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟันได้โดยใช้ลิ้นสัมผัสตามผิวฟัน ถ้าสะอาดแล้วจะมีความรู้สึกลื่นไม่สาก  มองด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีคราบขุ่น ๆ ที่ซอกเหงือกและฟัน
  2. พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุก 6 เดือน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการสะสมตัวของหินปูน
  4. ในบางกรณี การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดได้หมดจดโดยเฉพาะตามซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยเสริมในการทำความสะอาดด้วยเช่นไหมขัดฟัน

คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค : โทร.0-5392-1777 ต่อ 1326  
เวลาทำการ: 
จ - ศ    08.00 - 20 .00 น.
ส - อา  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์  08.00 - 16.00 น. 

ทำไมเราต้องขูดหินปูน และกลิ่นปาก

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อรับประทานอาหาร เศษอาหารที่ตกค้างจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในช่องปากและสารประกอบในน้ำลายรวมกันเป็น "แผ่นคราบจุลินทรีย์" หรือที่เราเรียกว่า ขี้ฟันเมื่อเราแปรงฟังไม่สะอาดทำให้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์หลงเหลือจะพอกพูนหนาตัวขึ้นร่วมกับการตกตะกอนของแคลเซียมในน้ำลายร่วมด้วยทำให้เกิดหินปูน ซึ่งมีลักษณะแข็งสีคล้ายฟัน หรือเข้มจากการติดสีจากอาหารที่ทาน อยู่ติดเแน่นกับฟันทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกเท่านั้น

ทำไมเราต้องขูดหินปูน ??

เพราะไม่มีใครสามารถแปรงฟันได้สะอาดทุกซอกทุกมุม ดังนั้นทุกคนจึงมีโอกาสที่จะมีหินปูน หินปูนเป็นแหล่งสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและมีการขับสารพิษที่เป็นกรดออกมาทำลายอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกว่าโรครำมะนาด

อาการของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวม แดง นิ่ม
  3. เหงือกแยกตัวออกจากฟัน
  4. มีคราบจุลินทรีย์ มีหินปูนเกาะบริเวณคอฟัน
  5. มีกลิ่นปาก
  6. มีหนองบริเวณคอฟัน
  7. ฟันโยกจากการทำลายกระดูกรองรับฟัน
การรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนอาการก็จะดีขึ้น
โรคปริทันต์ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งเป็นการกำจัดหินปูนที่เกาะบริเวณรากฟัน กรณีมีฝีหนองเกิดขึ้นก็จะทำการขูดกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออกไป กรณีที่มีฟันโยกมา ๆ จากการทำลายกระดูกรองรับฟันอาจพิจารณาถอนออกไป

การป้องกัน
  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยครั้งละ 2 - 3 นาที วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง และตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟันได้โดยใช้ลิ้นสัมผัสตามผิวฟัน ถ้าสะอาดแล้วจะมีความรู้สึกลื่นไม่สาก  มองด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีคราบขุ่น ๆ ที่ซอกเหงือกและฟัน
  2. พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุก 6 เดือน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการสะสมตัวของหินปูน
  4. ในบางกรณี การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดได้หมดจดโดยเฉพาะตามซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยเสริมในการทำความสะอาดด้วยเช่นไหมขัดฟัน

คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค : โทร.0-5392-1777 ต่อ 1326  
เวลาทำการ: 
จ - ศ    08.00 - 20 .00 น.
ส - อา  08.00 - 16.00 น.
วันนักขัตฤกษ์  08.00 - 16.00 น. 

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไข้หวัดใหญ่...ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรค ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและแพทย์ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพราะ....

  • ช่วยลดอัตราการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ถึง 90%
  • หมดความกังวลกับภาวะแทรกซ้อน
  • ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • ช่วยให้การงานไม่สะดุด เพราะต้องลาหยุดเมื่อป่วย
ควรได้รับการฉีควัคซีนเมื่อไหร่...วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดก่อนฤดูฝนซึ่งเป็นช่วยระบาดสำคัญ เนื่องจากสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรฉีดวัคซีนป้องกัน  ไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

ใครคือกลุ่มเสี่ยง...คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือ  คนที่มีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น คือ

  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 18 ปี
  • ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต
  • หญิงตั้งครรภ์
  • บุคลากรทางการแพทย์ หรือบุคคลทั่วไปที่อาศัยกับกลุ่มเสี่ยง

ติดต่อสอบถามการฉีดวัคซีน  ได้ที่ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค  แผนกผู้ป่วยนอก และ ศูนย์บริการข้อมูล Call Center  โทร. 053-921777 ต่อ 1111 และ 1399

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โรคที่หนูน้อยควรระวัง ฉบับที่ 1

บทความโดย พญ.อาริดา จันทร์แจ่ม (กุมารแพทย์ ร.พ.แมคคอร์มิค)

1. โรคพิษสุนัขบ้า

    โรคพิษสุนัขบ้าหรือ โรคกลัวน้ำ  เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า เรบี่ส์ (Rabies) ซึ่งทำให้เกิดโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สุจัขและแมวเป็นสัตว์แพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญที่สุดมาสู่มนุษย์
     คนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสจะทำลายระบบประสาททำให้มีอาการปวดเมื่อย เพลีย มีไข้ ปวดศรีษะ กลัวน้ำ กลัวลม  กระสัมกระส่าย  มีอาการทางระบบประสาทเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้   หากติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีหรือปล่อยทิ้งไว้จะเสียชีวิตทุกราย

  • คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใด :  จากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า  เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอกที่ถูกสัตว์กัด ข่วน หรือ โดนน้ำลายจากสัตว์เลีย ทั้งบริเวณริมฝีปากหรือ เยื่อบุตา
  • รู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า  สัตว์จะมีอาการหงุดหงิด  ตื่นเต้น วิ่งพล่าน  ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ อย่างดุร้าย ถ้าเป็นสุนักจะดุร้าย 2-3 วัน หลังจากนั้นจะอ่อนเพลีย ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซและตายในที่สุด
  • จะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร  ควรหลีกห่างจากสุนัขจรจัด  ส่วนสตว์เลี้ยงในบ้านให้นำไปฉีดวัคซีนสัตว์ทุก ๆ ปี อคกประการคือในคนสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคแบบล่วงหน้าก่อนถูกสัตว์กัด ซึ่งปัจจุบันวัคซีนมีความปลอดภัยสูงและประทิทธิภาพดี

     ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกสัตว์กัด ข่วน เลีย
  1.  ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลาย ๆ ครั้ง  โยให้น้ำไหลผ่านมาก ๆ และทายาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน หรือ แอลกอฮอล์
  2. จดจำสัตว์น้ำให้ได้  เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า
  3. ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการดูแลที่ถูกต้อง  ซึ่งแพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและเซรุ่มตามความเหมาะสม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. โรคมือเท้าปากเปื่อย

  • เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี  พบมากช่วงหน้าฝนเด็กจะมาด้วยไข้  ร่วมกับมีผื่นเป็นตุ่มน้ำใสในช่องปากฝ่ามือและฝ่าเท้า
  • สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส  โดยได้รับไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยไวรัสอาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก  น้ำจากตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย
  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เด็กจะเริ่มมีไข้  อ่อนเพลียต่อมามีอาการเจ็บปาก  ไม่ยอมทานอาหาร จะสังเกตุพบตุ่มแดงบริเวณลิ้น  เหงือกและกระพุ้งแก้ม  ต่อมาตุ่มจะพองใสและแตกเป็นแผลตื้นและยังพบตุ่มลักษณะนี้บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าตุ่มนี้จะหายได้เองในเวลา 7 - 10 วัน
  • โรคนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่จะให้ยาตามอาการ เช่นยาลดไข้ ควรให้เด็กได้รับสารน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในเด็กที่เจ็บปากมากอาจแนะนำให้ทานอาหารเหลวและเย็นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปาก
  • ตามปกติเป็นโรคที่ไม่รุนแรง  แต่เชื้อไวรัสาบางชนิด อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูงลอย ซึม รับประทานอาการไม่ได้ อาเจียนบ่อย หายใจหอบ  แขนขาอ่อนแรง ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
  • โรคนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกัน  แต่ป้องกันด้วยรักษาสุขอนามัย  ควรตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร
------------------------------------- ติดตามโรคต่าง ๆ ได้ ใน ฉบับที 2 -----------------------------------

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดนตรีสื่อรักของพระเจ้า

บทความโดย  อ.สุภัทรา แก้วควายงาม ผู้ช่วยอนุศาสก

"ชนใดไม่มีดนตรีการ ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
  อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
  หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
  และดวงใจยอมดำสกปรก ราวนรก ชนเช่นกล่าวมานี่
  ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ"
  - บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่อง เวนิสวานิส

จากบทพระราชนิพนธ์นี้ จะเห็นว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าชนชาติใดล้วนมีนิสัยอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือการชอบเสียงดนตรี ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างตรงแนวดนตรีซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สังคมชุมชนที่มนุษย์อาศัยอยู่ แนวดนตรีในโลกนี้มีมากมาย เช่น ดนตรีไทย ดนตรีร๊อค ดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีศาสนา ฯลฯ เป็นต้น และไม่ว่ามนุษย์จะมีอารมณ์ความรู้สึกเศร้า เหงา หรือมีความสุข แม้แต่ผู้ที่มีร่างกายพิการแขนขาด ขาขาด หูหนวก ตาบอด ก็ยังมีความพยายามที่จะฟัง ที่จะร้องเพลงหรือเล่นเครื่องดนตรีให้ได้ ดังเช่น เรน่า มาเรีย ซึ่งเธอเกิดมาไม่มีแขนและขาทั้งสองข้างก็ยาวไม่เท่ากัน เรน่าเรียนจบทางด้านดนตรี เธอมีความสุขมากเมื่อได้ร้องเพลงและบทเพลงที่เธอร้องออกมานั้นก็สามารถสื่อให้ผู้ฟังสัมผัสได้ว่าเธอมีความสุขอย่างมากที่ได้ร้องเพลง

ในพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ปฐมกาล 1:27 ได้บันทึกว่า "พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์" พระฉายาของพระเจ้าอีกอย่างหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไปคือความรักในเสียงดนตรี ในพระคัมภีร์มีหลายตอนที่เรียกร้องให้มนุษย์สรรเสริญพระเจ้าด้วยเสียงดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง เต้นรำ หรือ บรรเลงเครื่องดนตรี โดยเฑาะในพระธรรมสดุดีมีทั้งหมด 150 บท ซึ่งเป็นพระธรรมที่ยาวที่สุดในพระคัมภีร์ทั้งหมด 66 เล่ม เมื่อเราเปิดพระคัมภีร์ เราจะพบพระธรรมสดุดีอยู่กลางเล่มพอดี ผู้เขียนหลักของพระธรรมสดุดีคือกษัตริย์ดาวิด ผู้มีความสามารถทางด้านดนตรีเป็นเลิศและเป็นกษัตริย์ของอิสราเอลที่พระเจ้าทรงพอพระทัยมากที่สุดเนื่องจากท่านสรรเสริญพระเจ้าตลอดชีวิตของท่านทั้งในยาทุกข์และในยามสุข

เมื่อพระเจ้าตรัสว่าจะสร้างมนุษย์นั้นพระองค์ทรงสร้างเราให้เป็นเครื่องดนตรีที่วิเศษที่สุดคือมีหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะ มีมือสำหรับปรบให้เป็นจังหวะ มีปากที่ส่งเสียงออกมาเป็นทำนอง เป็นต้น จุดประสงค์ก็เพื่อให้ทุกคนสรรเสริญพระเจ้า ให้มีความชื่นชมยินดีตลอดเวลา ดังในพระคัมภีร์ฟิลิปปี 4:4 กล่าวว่า "จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่า จงชื่นชมยินดีเถิด" การที่พระเจ้าทรงเรียกร้องให้สิ่งมีชีวิตทุกอย่างสรรเสริญพระองค์ (สดด. 150) ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพระองค์เท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์ต่อตัวของมนุษย์ผู้สรรเสริญพระองค์ด้วย คือ เมื่อเรามีความชื่นชมยินดีนั้น ร่างกายของเราก็จะหลั่งสาร Endorphin ออกมา ซึ่งช่วยให้ร่างกายของเราเกิดความผ่องคลายและช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียดได้นั่นเอง

ดังนั้น ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะมีความชื่นชมยินดีตลอดเวลา ให้ความสนใจต่อเสียงดนตรีมากขึ้น เพราะนั่นหมายถึงว่าเราเห็นความสำคัญต่อชีวิตและสุขภาพของเราด้วย

ขอพระเจ้าอวยพระพร

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

เชื้อราในช่องคลอด ตอนที่ 2

โดย นพ.นิรันดร์ ภัทรนุกูล , สูตินรีแพทย์


ป้องกันเชื้อราในช่องคลอดด้วยคุณเอง
  • ควรตากกางเกงใน ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และต้องให้โดนแสงด้วยเพราะเชื้อราพวกนี้จะตายด้วยความร้อน
  • เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีควรสวมใส่กางเกงในที่ทำด้วยผ้าฝ้าย ที่จะช่วยระบายความอับชื้นได้ดีกว่ากางเกงชั้นในที่เป็นใยสังเคราะห์
  • ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาใด ๆ ล้างช่องคลอด เพราะนั่นคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง ควรทำความสะอาดด้วยสบู่ธรรมดา และไม่ควรล้างภายในช่องคลอด
  • ก่อนและหลังการร่วมเพศให้ปัสสาวะออกให้หมดกระเพาะปัสสาวะ
  • หลีกเหลี่ยงการสวมกางเกงยีนส์คับ ๆ ซึ่งทำให้การระบายอากาศไม่ดี เกิดการอับชื้น
  • สำหรับคนที่เริ่มอาการของโรคช่องคลอดติดเชื้อรา ควรเปลี่ยนชุดชั้นในใหม่ทั้งหมด หรือ ควรต้มน้ำเดือน 10-15 นาที แล้วตากให้แห้งก่อนนำมาใช้งาน
  • ถ้าเริ่มรู้สึกคัน ๆ ผิดปกติ ให้รับประทานโยเกิร์ตหรือ นมเปรี้ยวให้มาก ๆ เข้าไว้ แลคโตบาซิรัส ช่วยคุณได้
  • ควรรับประทานผักผลไม้ วิตามินจะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันโรค จะพบได้มากในพวกข้าวสาลี ขนมปัง ถั่ว ไข่ นม ผักใบเขียว ข้าวโอ๊ต เนื้อ และ ปลา
  • หากมีอาการติดเชื้อแล้ว ควรงดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น แป้ง และขนมปังขาวและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล รวมทั้งแอลกอฮอล์ด้วย รู้ไว้ก่อนจะสาย
  • การใช้ยาลดกรด ยากแก้กระเพาะอาหารอักเสบ และการใช้ยาสเตรียรอยด์ นอกจากจะทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นแล้ว ยังทำลายเชื้อ lactobacilli ในช่องคลอดลดลง เกิดภาวะความเป็นกรดลดลง ก็จะทำให้เชื้อราเติบโตได้เร็วขึ้น
  • ช่วงก่อนมีประจำเดือนเป็นช่วงที่มีแนวโน้มในการติดเชื้อราสูง เพราะมีภาวะความเป็นกรดต่ำ
  • การร่วมเพศถ้ามีน้ำหล่อลื่นน้อยก็เกิดการติดเชื้อราได้ และน้ำอสุจิจากฝ่ายชายก็มีลักษณะเป็นด่างย่อมทำให้เกิดภาวะติดเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน
  • ในผู้ที่เป็นเบาหวาน สามารถติดเชื้อได้มากที่สุดเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะสูงส่งผลทำให้มีน้ำตาลในสารหล่อลื่นช่องคลอดมากขึ้นด้วย

เห็นไหมว่าเจ้ากางเกงในชิ้นเล็ก ๆ ที่คุณมองข้าม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อราศัตรูตัวร้ายได้เป็นอย่างดี คุกคามคุณได้อย่างไม่คาดคิด อย่ามัวแต่อายและอย่าซื้อยามาใช้เอง เพราะหากชะล่าใจปล่อยทิ้งไว้อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นเชื้อราในมดลูกได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน อย่างเช่นเชื้อราตัวเล็ก ๆ ที่มองแทบไม่เห็นที่มีทั้งคุณและโทษ แม้ในส่วนที่ก่อให้เกิดโรคถ้ารู้เท่าทัน ปรับสมดุลให้ดีก็สามารถอยู่ห่างไกลมันได้

ฉะนั้นให้เรารู้จักปรับสมดุลในชีวิตให้ดีก็ทำให้เราห่างไกลจากทุกย์ทั้งหลายได้อย่างมากมาย น่าคิดอีกอย่างก็คือว่า ความเครียดครับ เพราะมันทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง เมื่อนั้นเชื้อราที่ว่าก็มาเยือนได้ง่าย ๆ เช่นกัน ให้เรามาสร้างสันติสุขให้แก่ใจก่อนแล้วที่เหลือก็ไม่น่าจะยากจนเกินไปนักที่จะทำให้ร่างกายและจิตใจของเราแข็งแรง จริงไหมครับ....

เชื้อราในช่องคลอด ตอนที่ 1

โดย นพ.นิรันดร์ ภัทรานุกลู , สูตินารีแพทย์

เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรพิลล์ มีสปอร์ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านแต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นในมนุษย์
  1. ความสำคัญทางด้านการแพทย์ ได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1880 พบว่ามีเชื้อราประมาณ 25 genera ที่ทำให้เกิดโรคแก่คนและสัตว์ พบแพร่ระบาดมากในแถบร้อน

  2. เชื้อราที่ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมใช้ในการผลิตอาหาร เช่น ผลิดเนยแข็งทำให้เนยแข็งมีกลิ่นและรสดี ใช้ยีสต์ผลิตขนมปัง ไวน์ เบียร์
    - ใช้ผลิดซีอิ้ว เต้าเจี้ยว
    - ใช้เป็นอาหารโดยตรง
    - ใช้ในการผลิตน้ำย่อยและกรดบาง
    - ใช้ในการผลิตยาและยาปฎิชีวนะ
  3. เชื้อราที่ทำลายสิ่งของ เครื่องใช้ และผลิตทางเกษตรกรรม ที่พบมาก คือ ราใน genus Penicillium และ Aspergillus พวกเมล็ดพืชที่เก็บเกี่ยวได้ต้องเก็บในที่ที่ทำให้ความชื้นต่ำกว่า 12% ถ้าความชื้นสูงกว่านี้ เชื้อราเจริญได้ดี
  4. ใช้เชื้อราในการควบคุมแมลง โดยวิธีที่เรียกว่า biological control เช่น เชื้อราพวก Entomophthora grulli เป็นปาราสิตที่แท้จริงของแมลงพวกตั๊กแตน ถ้าเลี้ยงให้เชื้อรานี้เจริญสร้างสปอร์จำนวนมากก็จะช่วยควบคุมจำนวนตั๊กแตนได้
  5. ใช้ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เป็นการศึกษาเชื้อราโดยตรง เช่น ศึกษาทาง พันธุศาสตร์ สรีรวิทยา เซลวิทยา เป็นต้น

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของราทั่วไปคืออุณหภูมิห้องหรือประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส เชื้อราก่อโรคส่วนใหญ่มักจะเจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิห้องจนถึง 37 องศาเซลเซียส ราบางชนิดเจริญได้ดีในอุณหภูมิสูง 40 - 50 องศาเซลเซียส เชื้อราสามารถเกิดได้ตามที่ต่าง ๆ เช่น

  1. เชื้อราที่ศรีษะ
  2. เชื้อราที่ลำตัว แขน ขา
  3. เชื้อราที่ขาหนีบ
  4. เชื้อราที่เล็บ
  5. เชื้อราที่มือและเท้า
  6. และที่สำคัญคือ เชื้อราในช่องคลอด

จากการวินิจฉัยยังพบว่าเป็นเชื้อราตรงจุดซ่อนเร้นร้อยละ 40 ติดเชื้อแบคทีเรียร้อยละ 20 โดยการแสดงอาการการติดเชื้อราพบมากเป็นอันดับต้น ๆ จุดซ่อนเร้นอาจะเป็นเชื้อราได้ แต่จะไม่เกิดปัญหาถ้าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หากระบบสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนจากกรดเป็นด่าง จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรามากขึ้น และแสดงอาการตกขาวมากผิดปกติ เป็นก้อนสีขาวขุ่นคล้ายแหวะเด็กหรือ นมบูด มีอาการแสบและคัน ซึ่งเกิดได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ การมีเพศสัมพันธ์สามารถติดสเชื้อได้เช่นกัน เพราะน้ำอสุจิมีฤทธิ์เป็นด่าง สำหรับการรักษา ควรพบแพทย์ซึ่งการรักษามียาทั้งแบบรับประทานและแบบสอดช่องคลอด แต่ปัญหาคือมักกลับมาเป็นซ้ำ เนื่องจากไม่ปรับพฤติกรรมให้จุดซ่อนเร้นระบายอากาศได้ดี ไม่มีกลิ่นอับชื้น

เคล็ดลับการดูแลรักษา แนะนำว่าควรล้างและทำความสะอาด ไม่ให้บริเวณจุดซ่อนเร้นเสียสมดุล (ห้ามสวนเพราะเชื้อราจะเข้าสู่ภายในช่องคลอดได้) หรือใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ใกล้เคียบกับกรดแลคติกจะช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีที่มีชื่อว่า "แลคโตบาซิลไล" ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียได้อย่างดี จึงสามารถลดการระคายเคืองกลิ่นอับชื้นได้ และไม่ควรใช้สบู่เพราะมีค่าเป็นด่านไปทาลายกรดแลคติก

กางเกงที่สวมใส่ไม่ควรรัดรูปจนเกินไป จะเกิดการอับชื้นระบายอากาศได้ไม่ดี เลือกชุดชั้นในทำจากผ้าคอตตอนเพื่อระบายอากาศดีกว่าผ้าไนลอนและไม่ระคายเคือง ซักให้สะอาด ผึ่งแดด ผึ่งลให้แห้ง ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้ใส่แผ่นอนามัยตลอดเวลา เพราะก่อให้เกิดความอับชื้น ขอให้ใช้ช่วงที่จำเป็น เช่น ตกขาวมากกว่อนมีประจำเดือน การเป็นเชื้อราไม่เกี่ยวกับกับโรคมะเร็งปากมดลูกเพียงก่อให้เกิดความรำคาญ บางคนคันเกาเป็นแผลเกิดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็น่อยให้ปรึกษาแพทย์แต่อาการตกขาวเรื่องรังหรือมีอาการตกขาวปนเลือดอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ จึงควรไปพบแพทย์เพื่อหาเหตุที่แท้จริง

ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน หาโอกาสตากผ้ายากมาก ทำให้ต้องตากผ้าในที่ร่ม หลาย ๆ คนที่เคยซักผ้าแล้วพอถึงเวลาเอาผ้าไปตาก ฝนดันมาตกช่วงนั้นหล่ะก็ เพื่อนๆจะทำอย่างไรดี อย่าบอกนะว่าเอาผ้ามาตากในที่ร่มแล้วเอาพัดลมมาเป่า ๆ หรือว่าตากไว้ในห้องน้ำ วันนี้มีเรื่องมาเตือนว่าการตากผ้าในที่ร่มส่งผลเสียมากกว่าผลดี

โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิง เวลาอยู่ในวัยที่มีประจำเดือนจะสังเกตได้ว่า จะมีคราบขาวติดอยู่ที่กางเกงชั้นใน จะมากน้อยแค่ไหนหรือมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็เป็นตามช่วงระยะของการมีประจำเดือน เนื่องจากช่องคลอดของผู้หญิงจะมีการทำความสะอาดตัวเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว จึงถือว่าเป็นกระบวนการทำความสะอาดตัวเองตามปกติ

แต่หากเมื่อไหร่ที่ตกขาวมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีสี มีกลิ่นผิดไปจากปกติ แล้วยิ่งถ้ามีอาการคัน ๆ ตรงน้องหนูอยู่ด้วย ก็สันนิษฐานได้เลยว่าคุณอาจโดยเจ้าเชื้อราเล่นงานเข้าแล้วก็ได้

เจ้าเชื้อแคนดิด้า แอลบิคันล์(Candida Albicans) จริง ๆ มันอาศัยอยู่ในร่างกายคนเราและชอบอาศัยอยู่ในช่องคลอดคุณผู้หญิง นั่นก็เพราะว่าเป็นที่ชื้นแฉะและไม่มีภาวะความเป็นกรดเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นที่สุด

ทั้งสาวน้อยและสาวไม่น้อยก็เป็นได้ทั้งนั้นและที่สำคัญยังสามารถติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย น้อง ๆ สามารถสังเกตอาการเหล่านี้ได้ด้วยตนเองจาก อาการเริ่มแรกจะรู้สึกคัน ๆ บริเวณช่องคลอดหรือปากช่องคลอด ตกขาวมีสีและมีกลิ่นผิดปกติ สีขุ่นจับเป็นก้อน อวัยวะเพศภายนอกบวมแดงและรู้สึกเจ็บ และทรมารมากเมื่อร่วมเพศ

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...