สาเหตูของโรคความดันโลหิตสูง
โรคที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง พบเพียงร้อยละ 10 - 15 เช่น โรคไต ต่อมไร้ท่อ ต่อมหมวกไต เมื่อรักษาต้นเหตุแล้วความดันโลหิตสูง ก็จะหายไป
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 85 - 95 มักไม่ทราบสาเหตุ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดไป เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต
ความดันโลหิตสูงจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ตามระดับความดันโลหิต
2. ตามการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ คือ
- ไต
- หัวใจ
- สมอง
- จอภาพในตา
- หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
3. จำแนกตามสมมติฐาน
- ไม่ทราบสมมติฐานที่แน่ชัด
- ผลจากยาคุมกำเนิด
- จากครรภ์เป็นพิษ
ค่าของความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ค่าความดันโลหิตเป็นเลข 2 ชุด
ตัวเลขแรก เป็นค่าความดันโลหิตที่วัดเมื่อหัวใจบีบเต็มที่ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงร่างกาย
ตัวเลขหลัง เป็นค่าความดันที่วัดเมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่แล้ว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค
- อายุ คนที่อายุน้อยถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีอายุมาก
- เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นอัมพาตและภาวะหัวใจวายตายมากกว่าเพศหญิง
- น้ำหนัก ถ้าลดน้ำหนักจะทำให้ความดันโลหิตลดลง
- ความเครียด การทำให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียดร่วมกับการลดความเครียดทางจิตใจ สามารถลดความดันโลหิตลงได้ อย่างแน่นอน
- พันธุกรรม
อาการ
1. ปวดศรีษะ มักจะมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย ในตอนเช้า
2. ปวดศรีษะข้างเดียวแบบไมเกรน พบบ่อยในคนที่มีความดันโลหิตสูง
3. เลือดกำเดาออก
การรักษาความดันโลหิตสูง
หลักในการรักษา คือ พยายามควบคุมให้ความดันต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ในคนที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย) อย่างต่อเนื่องโดย
- ลดอาหารเค็ม
- ลดน้ำหนัก
- ทำจิตใจให้ผ่องใส
- รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- มาพบแพทย์ตามกำหนด
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
- สมอง อาจพบว่ามีเส้นเลือดในสมองแตก หรือมีอาการอุดตันของหลอดเหลือดในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้
- หัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ไต ทำให้เกิดภาวะไตวายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น