วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อุบัติเหตุที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับลูกน้อย

บทความโดย  พญ.สิริรัตน์  วรปราณิ  กุมารแพทย์

      1. พลัดหกล้มหรือชนกระแทก การทิ้งเด็กไว้ลำพังอาจทำให้เด็ก
พลัดตกได้
      2. น้ำร้อนลวก เมื่อเด็กเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ จะชอบคว้าของ
ใกล้ตัว จึงอาจได้รับอันตรายจากของร้อน เช่น ถ้วยกาแฟ ชามน้ำแกง กาน้ำร้อน เป็นต้น
      3. สำลักของอุดตันทางเดินหายใจ เด็กเรียนรู้ด้วยการเอาสิ่งที่สนใจเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้สำลักอุดตัน  ทางเดินหายใจและทำให้สมองตาย หรือเสียชีวิตได้ในเวลาเพียง 4 นาที
      4. ถูกกดทับปาก จมูก โดยเฉพาะจากการนอนคว่ำ ใช้หมอนขนาดใหญ่ อ่อนนิ่ม การใช้
ผ้าห่มใหญ่และหนา การมีตุ๊กตาตัวใหญ่
      5. ติดค้างจนขาดอากาศหายใจ  เช่น ติดที่ซี่กรงเตียง เสื้อผ้าเกี่ยวรัดกับมุมเสา ทำให้เกิด
การรัดคอจนขาดอากาศหายใจ
      6. เลือดออกในสมอง เมื่อเด็กร้องไห้แล้วจับตัวเขย่าให้เงียบ ก่อให้เกิดเลือดออกในสมอง
และจอประสาทสมองพิการ ตาบอดหรือ เสียชีวิตได้
      7. บาดเจ็บทางรถยนต์ ทั้งจากการโดยสารรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการถูกรถชน
      8. จมน้ำ ตกน้ำ เด็กเล็กจมน้ำในอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำในบ้านได้บ่อย ขณะที่เด็กโตมีความเสี่ยง
ต่อการจมน้ำบริเวณละแวกบ้าน


เราป้องกันได้อย่างไร ?
      1. เลือกของเล่นที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นชิ้นเล็ก แตกหักง่าย และหลีกเลี่ยงของเล่นประเภทลูกกลมขนาดเล็ก เช่น ลูกหินและลูกแก้ว ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เป่าลูกโป่งเอง ไม่เล่นปืนอัดลม
      2. ดูแลอาหาร ไม่ควรให้อาหารที่เป็นชิ้นแข็ง กลม เช่น ถั่ว ผลไม้ที่มีเมล็ดกลมแข็ง ไส้กรอก เป็นต้น
      3. มีประตูกั้น ควรมีประตูกั้นทางขึ้นลงบันได ห้องน้ำ ห้องครัว ปะตูทางออกนอกบ้าน เฉลียงและระเบียง และใส่กลอนไว้เป็นประจำ เพื่อไม่ให้เด็กปีนป่ายโดยลำพัง
      4. ซี่ราวบันไดและระเบียง ต้องห่างกันไม่เกิน 8 ซม. เพื่อกันไม่ให้เด็กลอดและศีรษะติดค้างได้
      5. ดูแลเฟอร์นิเจอร์ เช่นโต๊ะ ตู้ ต้องไม่มีมุม หากมี ควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมขอบทุกมุม โต๊ะ ทีวี ของต่างๆต้องวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่ายเมื่อเด็กโหนหรือปีนป่าย หากไม่แน่ใจให้ยึดติดโต๊ะหรือตู้นั้นด้วยสายยึดกับกำแพง
      6. ไม่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเล่นน้ำโดยลำพังไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำ กะละมังหรืออ่างอาบน้ำ เด็กเล็กที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้านและละแวกบ้าน ควรกำจัดแหล่งน้ำเหล่านี้ หรือกั้นรั้วและประตู
ไม่ไห้เด็กเข้าใกล้ ถ้าจำเป็นก็ต้องดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา
      7. ไม่ถือของร้อนขณะอุ้มเด็ก เช่น ถ้วยกาแฟ ชามน้ำแกง ควรเก็บสายไฟของกาน้ำร้อนให้มิดชิด อย่าวางของร้อนบนพื้น เพราะลูกอาจสะดุดได้
      8. เก็บสารพิษให้พ้นมือเด็กหรือใส่ตู้ที่ป้องกันการเปิดออก หากเด็กดื่มกินสารพิษ ให้ติดต่อศูนย์พิษวิทยา หมายเลข 02201 1083, 02246 6232 เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฐมพยาบาล
      9. ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่เป็นสายยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเล่นที่ต้องนำมาคล้องคอ เช่น โทรศัพท์ที่มีสาย  สร้อยคอ กีตาร์คล้องคอ เพราะสายอาจรัดคอเด็ก ทำให้ขาดอากาศหายใจได้
    10. การโดยสารรถยนต์ที่ปลอดภัย ควรใช้ที่นั่งนิรภัย (car seat) โดยติดตั้งบนที่นั่งด้านหลังรถ ที่สำคัญไม่ควรไม่ควรให้เด็กนั่งตักพ่อแม่ขณะขับรถ และไม่ควรทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว เพราะความร้อน
ภายในรถจะทำให้เกิดอันตรายได้
    11. ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี นั่งรถจักรยานยนต์
    12.เด็กเล็กที่นั่งรถจักรยาน ควรจัดที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันมิให้เด็กตกและเท้าติด
เข้าที่ซี่ล้อ

จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องใกล้ตัวลูกน้อยและง่ายที่จะปฏิบัติ 
เพียงคุณพ่อคุณแม่มีความตระหนัก การป้องกันย่อมดีกว่าเสมอค่ะ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มารู้จัก (Glycemic Index: GI) กันเถอะ

บทความโดย  ศกุณตลา  อินถา  หัวหน้าแผนกโภชนาการ
                          

วันนี้อยากเอาความรู้มาแบ่งปันกับทุกท่าน 
กับคำว่า


ค่าไกลซิมิค อินเด็กซ์ (Glycemic Index: GI)

                หลายคนเข้าใจว่าการรับประทาน ผัก ผลไม้ ช่วยลดน้ำหนักได้ดี แต่บางครั้งอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น เนื่องจาก ผัก ผลไม้ แต่ละชนิดมีโครงสร้างโมเลกุลที่เอื้อต่อการดูดซึมต่างกัน การรู้จัก GI index จึงมีประโยชน์มากกับการวางแผนกำหนดอาหารลดน้ำหนักสำหรับทุกท่านค่ะ

                ไกลซิมิก อินเด็กซ์ เป็นดัชนีที่ใช้วัดเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซึมอาหาร ซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นของอาหารชนิดต่างๆ 

โดยอาหารประเภทที่มีค่า 
                  แสดงให้เห็นถึงอาหารชนิดนั้นร่างกายดูดซึมอาหารได้รวดเร็ว
                  ทำให้น้ำตาลในเสือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เราหิวได้ง่าย
                  อยากกินอาหารเพิ่มในปริมาณมากขึ้น และบ่อยขึ้น

ส่วนอาหารที่มีค่า
                  แสดงให้เห็นถึงอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น
                  หรือเพิ่มขึ้นช้าจึงช่วยให้เราอิ่มท้อง ไม่รู้สึกหิวได้ง่าย


                  ตัวอย่างเช่น การดื่มน้ำหวาน จะทำให้ร่างกายสดชื่นอย่างรวดเร็ว ได้รับพลังงานทันที แต่พลังงานที่ได้รับจะหายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อ่อนเพลีย และอยากกินของหวานๆ เพิ่มขึ้นอีก จนอ้วน     
ในที่สุดค่า GI จึงสามารถช่วยผู้เป็นเบาหวานในการเลือกกินอาหาร จริงๆแล้วค่า GI จะเป็นตัวเลขเปรียบเทียบแต่เห็นว่าสรุปเลยดีกว่าว่าอาหารประเภทไหนมีค่าGI สูงต่ำอย่างไร
                 แต่ในอีกมุมมองหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการยังคงมีข้อโต้แย้งกันว่าค่า GI จะให้ประโยชน์ต่อผู้เป็นเบาหวานในการเลือกกินอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้มากน้อยเพียงไร มีปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้
** อาหารยิ่งมีใยอาหารสูงเท่าไร ค่า GI ยิ่งต่ำลงเท่านั้น
** ผัก ผลไม้ ยิ่งสุก คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยและถูกดูดซึมได้เร็วขึ้น 
       ทำให้ค่า GI ยิ่งสูงขึ้น
** อาหารยิ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตมากเท่าใดก็ยิ่งมีค่า GI สูงเท่านั้น
** องค์ประกอบในอาหารมื้อนั้นๆ ที่คุณกินมีอะไรบ้าง
** ความเร็วในการกินอาหาร
** อาหารบางชนิด เช่น แครอทแม้จะมีค่า GI สูง แต่มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ 
      ในขณะที่ไอศกรีมมีค่า GI ต่ำ แต่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง 
       สารอาหารก็สู้  แครอทไม่ได้

                ดังนั้นในการเลือกอาหารก็ต้องพิจารณาหลายปัจจัยมิใช่แค่ดูค่า GI เพียงอย่างเดียว สรุปก็คือค่า GI เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะนำไปตัดสินการเลือกอาหารเราอาจใช้ GI เป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ควรยึดเป็นวิธีเดียวที่ใช้ตัดสินการเลือกอาหาร วิธีดีที่สุดก็คือยึดหลักแผนการกินที่ดีและออกกำลังกายตลอดโปรแกรม เพื่อช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีได้

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รู้ทันไวรัส HPV ตัวร้าย สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก


โดย  พญ.ธีรดา  คล้ายสุวรรณ  พยาธิแพทย์
  

            มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของหญิงไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) โดยการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นแล้ว มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าสามารถตรวจพบได้เร็วในระยะก่อนเป็นมะเร็ง แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคนี้ยังเป็นกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มักปฏิเสธการตรวจภายในเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกเพียงเพราะอายหรือไม่กล้ามาตรวจ

ไวรัส HPV กับโรคมะเร็งปากมดลูก
            ปัจจุบันข้อมูลทางวิชาการบ่งชัดว่าสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมีอยู่ประมาณหลายสายพันธุ์ ผู้หญิงเรามีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV อยู่แล้วในช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไปได้เองเรียกว่าติดเชื้อแบบชั่วคราว แต่ในบางครั้งร่างกายก็ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้โดยเฉพาะสาเหตุมาจากไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (โดยเฉพาะ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18) ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1.       ตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกหรือที่เรียกกันติดปากว่า ตรวจ Pap smear” เป็นการตรวจหาเซลล์
      ผิดปกติแบบดั้งเดิม สถานพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีนี้กัน มีข้อดีคือราคาถูก แต่ปัญหาคือ 
      มีความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติค่อนข้างต่ำ (40-70%)
2.       วิธี “Thin Prep” เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทางเซลล์วิทยาเช่นเดียวกับ Pap smear แต่เพิ่มความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ (80-90%)
3.       ปัจจุบันมีการตรวจที่เรียกว่า “Thin prep plus HPV” เป็นการตรวจการตรวจ Thin prep ร่วมกับ การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งการตรวจแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
  
ความแตกต่างระหว่าง “Thin prep plus HPV” และการตรวจ “Pap smear”
การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ “Pap smear” ปกตินั้น จะสามารถตรวจหาได้ก็ต่อเมื่อเกิดโรคแล้วเท่านั้น จึงต้องตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก แต่ การตรวจด้วย“Thin prep plus HPV”  เป็นการผนวกรวมของ (Thin prep + ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV)  ดังนั้น เมื่อผลการตรวจหาเชื้อ HPV และการตรวจ Thin Prep ให้ผลเป็นลบทั้งคู่ ก็จะสามารถสรุปได้ว่า ไม่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกอย่างแน่นอน 100% ในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ตรวจ จึงสามารถเว้นการตรวจเป็นทุก 3 ปีแทนการตรวจทุกๆ ปี

ข้อแนะนำสำหรับผู้หญิงในการเลือกวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
        -  การตรวจคัดกรองครั้งแรก  ควรเริ่มทำหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณ 3 ปี หรือเมื่อถึงอายุ 
                   21 ปี   แล้วแต่ว่าเวลาใดมาถึงก่อน  
              -   กลุ่มผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี  ควรทำการตรวจคัดกรองทุกปี เพราะมีหลักฐานพบว่า กลุ่มหญิงอายุ
                  น้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นที่มีอายุมากกว่า ในการติดเชื้อ human papillomavirus
                  (HPV ) ชนิดความเสี่ยงสูงที่ก่อมะเร็ง  
              -  กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี มีสองทางเลือก
                     1. ตรวจ “Pap smear” เพียงอย่างเดียว โดยทำการการตรวจปีละครั้ง หากผลเป็นปกติ (Negative) 
        ติดต่อกัน 3 ปี  หลังจากนั้นสามารถรับการตรวจคัดกรองทุกๆ 2-3 ปีได้
    2. ตรวจ“Thin prep plus HPV” ถ้าผลการตรวจคัดกรองปกติ(Negative) ทั้งสองอย่าง ให้ตรวจได้
        ห่างขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องรับการตรวจบ่อยขึ้น

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงทุกวัยจะหันมาดูแลสุขภาพภายในของตัวเองอย่างจริงจัง โดยมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองประจำปี เสียตั้งแต่วันนี้
 





โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...