วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)



            ปัจจุบันในการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรานั้น การบริโภคอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของที่เราทำอยู่เป็นประจำอาจทำให้เราหลงลืมที่จะระมัดระวังในการเลือกบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่เราคำนึงถึงแต่รสชาติอาหารมากกว่าคุณประโยชน์ที่เราจะได้รับ และอาหารบางประเภทอาจส่งผลต่อร่างกายเราอย่างเงียบๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวทั้งนี้ ในกระบวนการของร่างกาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป อาหารจะถูกย่อยในกระเพาะอาหารและถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก จากนั้นเศษอาหารจะเคลื่อนสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 ฟุต โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางอย่างที่เหลือจากการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ทำให้กากอาหารมีลักษณะแข็งขึ้นเรื่อยๆและผ่านเข้าสู่ทวารหนักก่อนที่จะขับออกจากร่างกาย แต่ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ได้ถูกขับถ่ายออกปกติก็จะทำให้กากอาหารเหล่านั้นสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา และอาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ ซึ่งการค้นหาความผิดปกติต่างๆมีอยู่หลายวิธี การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นอีกวิธีที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการประเมินปัญหาลำไส้ใหญ่




การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) 

      เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่ โดยใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ (colonoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ผอม ยาว  ยืดหยุ่นและโค้งงอได้ มีกล้องวีดีโอและดวงไฟขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อทำการขยับและปรับกล้องส่องลำไส้อย่างเหมาะสมแล้ว แพทย์จะสามารถเคลื่อนไหวกล้องดังกล่าวในลำไส้ให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ภาพที่กล้องบันทึกได้ในลำไส้ใหญ่จะปรากฏบนจอโทรทัศน์ ให้คุณภาพความคมชัดที่ดี และสามารถเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งจะให้ความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการทำเอกซเรย์



ใครบ้างที่ควรตรวจ

            ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่นท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสียหรือมีอาการดังนี้

1. ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสด หรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ

2. เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก

3. มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้องร่วมด้วย

4. มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย

5ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หากผลการตรวจปกติแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 10 ปี

6ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเริ่มคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 40 ปีหากผลการตรวจปกติ แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 5 ปี

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

1.ใช้ในการประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ เช่น การเสียเลือด ความเจ็บปวด และอาการเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่นท้องเสียเรื้อรัง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจตรวจพบมาแล้วจากการตรวจร่างกายก่อนหน้านี้

2.บ่งชี้ให้แพทย์ทราบและช่วยในการรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่

3.ใช้ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง(polyps)ที่เจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้อง

            หนึ่งวันก่อนส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารอ่อน งดผัก ผลไม้ ยาบำรุงเลือด ยาแก้ท้องเสีย ผู้ป่วยจะได้รับยาระบายรับประทานเพื่อทำความสะอาดลำไส้ทั้งหมด เพราะขณะแพทย์ทำการส่องกล้องจะได้เห็นลักษณะพื้นผิวของลำไส้อย่างชัดเจน การเตรียมลำไส้ดังกล่าวสามารถทำมาจากที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาล หลังรับประทานยาระบาย ผู้ป่วยอาจมีถ่ายเหลวได้เฉลี่ย  6-8 ครั้ง หากผู้ป่วยถ่ายมากเกินไปและมีอาการอ่อนเพลียอาจดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนได้ แต่ในบางรายที่ถ่ายท้องมากเกินไปและเพลียมาก อาจให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อลดอาการอ่อนเพลีย
            ก่อนทำการส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยานอนหลับและยาลดอาการปวด เพื่อลดความรู้สึกตึงแน่นในท้องจากการเป่าลมเข้าไปเพื่อให้ลำไส้ขยายตัวออกเหมือนลูกโป่งที่พองตัว แพทย์จะได้เห็นความผิดปกติภายในได้อย่างละเอียด ใช้ระยะเวลาในการทำโดยเฉลี่ย 15-30 นาที

อาการที่อาจพบได้ภายหลังการตรวจ
1. อาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดมวนท้องเล็กน้อยหลังรับการส่องกล้อง ซึ่งจะหายไปภายใน
   24 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น
2. เจ็บบริเวณท้องน้อย หรือทวารหนัก อาการเหล่านี้จะค่อยๆทุเลาลง และหายไป

การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจ

1. ให้สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์

2. รายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ โดยผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

3. ต้องรอให้ถึงวันนัด

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...