วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images

 โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder) 

          ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆทางจิตเวช อย่างเช่นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพล่าร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้น เหมือนกินน้ำตาลมากในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเบาหวาน

Embed from Getty Images

          โรคไบโพล่าร์หรือที่เราเรียกว่าโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ มีอารมณ์สองขั้วที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน แบบที่หนึ่ง มีพฤติกรรมเศร้า และแบบที่สอง มีอาการพลุ่งพล่านหรือเรียกว่าแบบเมเนีย อารมณ์ของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆไป อาจมีอาการแบบแรกคือแบบเศร้าก่อน แล้วสักพักก็จะมีอาการเมเนีย บางคนอาจมีอาการแบบเมเนียก่อน แล้วจึงมีอาการแบบเศร้าขึ้นมา หรืออาจจะสลับกับอาการปกติต่อเนื่องกันไป

Embed from Getty Images

 สาเหตุการเกิดโรคไบโพล่าร์ 

        โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น  จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือมีความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม

Embed from Getty Images

 อาการ 

อาการของโรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกทางอารมณ์ มีอาการ 2 แบบดังนี้

  1. อาการระยะซึมเศร้า ระยะของอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเบื่อหน่าย อ่อนไหว ซึมเศร้า อยู่ๆก็ร้องไห้ เบื่ออาหาร หลงๆลืมๆขาดความมั่นใจในตนเอง มองสิ่งต่างๆรอบตัวในแง่ลบไปหมด
  2. อาการระยะเมเนีย ระยะนี้จะผิดแปลกจากอารมณ์ที่มีความเศร้าปกติ จะอารมณ์ดี มีความมั่นใจในตนเอง คิดเร็ว ทำเร็ว คล่องแคล่ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ป่วยจะมีความขยันขันแข็ง มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง ต้องทำทุกอย่างไปหมด มีความอดทนน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆหากจะทำอะไรก็จะทำทันที จะแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อมีใครขัดขวาง ทำให้ไม่พอใจ
Embed from Getty Images

 8 สัญญาณเตือนของโรคไบโพล่าร์ 


  1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ คือเมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นงานต่างๆที่ยังค้างคายาวเป็นหางว่าวคือหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไบโพล่าร์
  2. มีอาการต่างๆของโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอน ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง
  3. พูดเร็ว จะพูดเร็วขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้น หรือพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้างและมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ
  4. หงุดหงิดง่าย ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะถึงจุดที่มีความหงุดหงิดเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของความสัมพันธ์ต่างๆกับคนรอบข้าง
  5. ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้ทั้งสองอย่างเพื่อช่วยคลายอาการซึมเศร้าระหว่างที่อยู่ในช่วงซึมเศร้า
  6. อารมณ์ดีมากเกินไป(ไฮเปอร์)
  7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน เขามักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากจึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาภายหลัง ทำให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆที่พวกเขาไม่มีทางทำหากอยู่ในภาวะปกติ


Embed from Getty Images

 การรักษา 

         สำหรับการรักษาโรคความผิดปกติ ไบโพล่าร์ แพทย์จะมีการใช้ยาเป็นวิธีหนึ่งในการรักษา โดยจะมีการจ่ายยาไปพร้อมๆกับการให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและจัดการกับปัญหาต่างๆได้มากขึ้น ผู้ป่วยต้องได้รับยาต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งราว 1-2 ปี หากน้อยกว่านี้อาจจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ซ้ำได้

Embed from Getty Images

       ผู้ป่วยไบโพล่าร์ ขอเพียงความเข้าใจ เพราะผู้ป่วยโรคนี้ไม่ใช่อารมณ์ร้ายเพียงเพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่ใช่คนนิสัยเอาแต่ใจหรือเห็นแก่ตัว แต่เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติจากความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย ฉะนั้นเราต้องเข้าใจ เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...