วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวดหลัง..ป้องกันไม่ยาก

ปวดหลัง.. ป้องกันไม่ยาก


โรคปวดหลังพบได้บ่อยรองจากโรคปวดหัว
เมื่อคุณอายุมากอาจจะต้องเผชิญกับโรคนี้
"คิดป้องกันตอนนี้จะได้ไม่เป็นโรคปวดหลัง"

สาเหตุ โรคป;ดหลังนั้นมีสาเหตุมากมาย ได้แก่ เป็นโดยกำเนิด อุบัติเหตุ เนื้องอก ติดเชื้อ อักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคในช่องท้อง โรคกระดูสันหลังเสื่อม แต่ สาเหตุที่เป็นกันมาก และสามารถป้องกันรักษาได้คือ

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

เกิดเนื่องจาก

  1. น้ำหนักตัวมาก
  2. ท่าทางที่ไม่เหมาะสม
  3. ขาดการออกกำลังกายทำให้ลงพุงเอวแอ่นมาก หลังค่อมมาข้างหน้า
 

คนที่ลงพุง น้ำหนักที่มากขึ้น คูณกับ พุงที่ยื่นมาด้านหน้าทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงดึงมากขึ้น การดึงเป็นเวลานานๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็ว ทำให้ปวดหลังได้



ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หลังจะค่อมทำให้เอวแอ่นมากขึ้นการที่เอวแอ่นมากขึ้นทำให้ช่องทางออกของเส้นประสาทแคบลง เส้นประสาทถูกเบียดมากขึ้น เป็นสาเหนุทำให้ปวดหลัง เอวแอ่นอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักไม่สมดุลย์กันจึงเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมตามมา



การรักษา ที่ดีที่สุด คืิอป้องกันสาเหตุได้แก่
     1.  ลดน้ำหนักตัว ไม่ใช่การอดอาหาร แต่ เป็นการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดเว้นการกินอาหารที่มีแคลอรีสูงมากเกินความจำเป็น เช่น ดื่มน้ำหวาน กินจุกจิระหว่างมื้อ

 2.  ท่าทางที่เหมาะสม 

ท่ายืนที่ถูกต้อง คือ แขม่วท้องอกผายไหล่ผึ่งเอวแอ่นน้อยที่สุด ถ้าต้องยืนเป็นเวลานานควรมีที่พักเท้า การยืนห่อไหล่พุงยื่น ทำให้เอวแอ่นมาก ปวดหลังได้   

ท่านั่งที่ถูกต้อง สันหลังตรงพิงพนัก เก้าอี้สูงพอดี และควรมีที่พักแขน การนั่งห่างจากโต๊ะมากทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมาก 

ท่านั่งที่เหมาะสม ในการพักผ่อน ควรเอียง 60องศา จากแนวตั้ง มีส่วนหนุนหลัง มีที่วางแขน ทำด้วยวัสดุนุ่มแต่แน่น

ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง หลังพิงพนัก เข่างอเหนือระดับตะโพก การนั่งห่างเกินไป ทำให้เข่าต้องเหยียดออกกระดูกสันหลังตึง

 ท่ายกของที่ถูกต้อง ควรย่อตัว ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา การก้มลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรงทำให้ปวดหลังได้ 

ท่าถือของที่ถูกต้อง ควรให้ชิดตัวมากที่สุด การถือของห่างจากลำตัวทำให้กล้ามเนื้อหลัง ทำงานหนัก ปวดหลังได้ 
ท่าเข็นรถที่ถูกต้อง ควรดันไปข้างหน้า ออกแรงที่กล้ามท้อง การดึงถอยหลังจะออกแรงที่กล้ามเนื้อหลังเป็นเหตุให้ปวดหลัง 

ท่านอน ที่นอน ควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำหรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่ง ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ปวดหลังได้

นอนคว่ำ จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
นอนหงาย ทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนใต้โคนขา จะช่วยให้กระดูกสันหลังไม่แอ่น
นอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรใช่ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอตะโพกและเข่ากอดหมอนข้าง
     3.  การออกกำลังกาย กระดูกสันหลังปกติรับน้ำหนักมากอาจทรุดได้ แต่นักกีฬายกน้ำหนักกระดูกไม่ทรุดเพราะมีกล้ามเนื้อท้องแข็งแรง เปรียบเสมือนมีลูกบอลคอยช่วยรับน้ำหนักไว้ การออกกำลังกายที่คนปกติควรทำเป็นประจำได้แก่
1.  ท่ากอดเข่า ยกหัวจนคางชิดเข่าพร้อมกับเบ่งลมในท้องเป็นการยึดกล้ามเนื้อหลัง ลดการแอ่นของเอว ทำให้ช่องประสาทกว้างขึ้น ควรทำประมาณ 5 นาที

2.  ท่ายกศีรษะและลำตัว  ควรยกขึ้นลงประมาณ 30 ครั้ง หรือประมาณ 30 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อท้องแข็งแรง


3.  ท่ายกขาขึ้นลงทีละข้าง เป็นการออกแรงกล้ามเนื้อหน้ากระดูกสันหลัง เป็นยึดกล้ามเนื้อตะโพกและและเส้นประสาท ทำให้กระดูสันหลังมั่นคงขึ้น และช่วยให้เนื้อเยื่อที่กดเส้นประสาทลดน้อยลง ควรทำเพิ่มขึ้นวันละนิดจนถึงประมาณ 100 ครั้ง การทำหักโหมมากทันทีอาจทำให้เสียวที่เส้นประสาทได้



การออกกำลังกายยังมีอีกหลายท่า  แต่บางท่าอาจเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง จึงควรได้รับคำปรึกษาจากผู้ชำนาญก่อน

การรักษาวิธีอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย ได้แก่ การกินยา การใช้เครื่องพยุงหลัง การทำกายภาพบำบัดวิธีต่างๆ โดยการดึงหลัง การนวดด้วยความเย็นความร้อนคลื่นเสียง มีข้อดีข้อเสียต่างๆกัน แต่ท่านไม่ควรทดลองหากมีอาการดังนี้
     1.  กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก
     2.  กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นส่วนมาก
     3.  อาการค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
     4.  อาการเป็นอยู่นานไม่ดีขึ้นบ้างเลย
     5.  อาการเป็นๆ หายๆ ชีวิตไม่เป็นสุข
อาการเหล่านี้ เป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องทำการผ่าตัด โดยการเจาะผ่ากระดูกสันหลัง เพื่อเอาพยาธิสภาพออก โอกาสเสี่ยงย่อมมีอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันมีความปลอดภัยสูงมาก หากกระทำโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญ

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)
บทความโดย ..พญ.นิติภรณ์   แจวจันทึก  (อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา) โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

           

เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของการทำงานของสมองหลายส่วน โดยมีลักษณะเด่น คือ ความจำที่แย่ลง ร่วมกับภาวะเสื่อมถอยของทักษะต่างๆ เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา การใช้เหตุผล การตัดสินใจผิดปกติไป จนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตหรือกิจวัตรประจำวัน อาการหลักๆที่สังเกตได้ คือ มักจะมีปัญหาเรื่องความจำระยะสั้น จำเหตุการณ์เมื่อสองสามวันก่อนหรืออาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้แต่ความจำเก่าๆสมัยหนุ่มสาวยังดีอยู่

สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม แบ่งเป็น 

- ภาวะสมองเสื่อมที่อาจหายได้
เช่นภาวะเลือดออกในสมอง, โรคหลอดเลือดสมองตีบ,การขาดวิตามินบี 12 ,ต่อมไทรอย์
ทำงานผิดปกติ,การติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส 

- ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด 
เช่นโรคอัลไซเมอร์ 


หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อมต่างกันอย่างไร?

ผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย มักจะพอจำเหตุการณ์ได้บ้างแต่ไม่ทั้งหมด เช่น ลืมพวงกุญแจไว้ที่ไหน ไม่แน่ใจว่าล็อคประตูบ้านแล้วหรือยัง ในขณะผู้ที่มีอาการหลงลืมแบบสมองเสื่อมมักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้น หรือลืมแล้วลืมเลย เช่นจำไม่ได้เลยว่าต้องไขกุญแจ จำไม่ได้เลยว่าขณะนี้ตนเองอยู่ไหน ถ้าหุงข้าวไว้แล้วเดินไปทำอย่างอื่นปรากฏว่าข้าวไหม้ ได้กลิ่นไหม้ลอยมา ลูกหลานถามว่าหุงข้าวไว้เหรอก็จะบอกว่าไม่ได้หุง จำไม่ได้เลยว่าตัวเองเป็นคนหุงและในภาวะสมองเสื่อมมักจะมีอาการของสมองส่วนอื่นๆผิดปกติด้วยดังกล่าวข้างต้น


อาการที่ต้องสังเกตุและควรปรึกษาแพทย์


1.   หลงลืมบ่อยๆจนน่าเป็นห่วง

2.   นึกถึงสิ่งที่ทำไปแล้วไม่ออก

3.   นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทน ทำให้ฟังไม่เข้าใจ

4.   หลงทางกลับบ้านไม่ถูก

5.   แต่งตัว ไม่ถูกกาลเทศะ  ไม่สนใจดูแลตัวเอง

6.   บวกลบเลขง่ายๆไม่ได้ หรือเอารองเท้าเก็บในตู้เย็น


7.   อารมณ์แปรปรวน ไม่มีเหตุผล

8.   บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง

9.   เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา



เมื่อมาพบแพทย์ จะมีการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ทำแบบทดสอบประเมินความจำ การทำงานของสมอง ตรวจเลือดและเอกซเรย์สมองเพื่อแยกว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นรักษาได้หรือไม่ และต้องรักษาอย่างไร


แม้ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่อาจป้องกันได้ แต่การดูแลสุขภาพที่ดี อาจช่วยให้สุขภาพของสมองดีกว่าในระยะยาว เช่น

- ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุของ
โรคสมองเสื่อม 

- นอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน  

- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ

- ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเช่น ทานอาหารด้วยมือซ้าย 

- ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที ทุกวัน  

--------------------
คลินิกโรคระบบประสาท โดย พญ.นิติภรณ์ แจวจันทึก  โทร. 053-921-777 ต่อ 1399

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด OAE (Otoacoustic emission)

การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด                    
บทความโดยแพทย์หญิงอโณทัย  พรเลิศ  (
โสต ศอ นาสิกแพทย์)        

       

                การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญสำหรับเด็ก  มีผลต่อพัฒนาการทางภาษา การสื่อความหมายด้วยการพูด และการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมต่อไป  ดังนั้นเด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยินควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินและรับการช่วยเหลือฟื้นฟูในทันที  มีการศึกษาพบว่าเด็กหูเสื่อมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุยังน้อย จะได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูมากที่สุด
                ภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด เป็นปัณหาที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา  มีรายงานอัตราการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็กทารกได้มากถึง 1-2 ราย ต่อ 1,000 รายของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี  โดยพบในอัตราที่มากขึ้นในทารกกลุ่มเสี่ยงได้แก่

      ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัมหรือคลอดก่อนกำหนด
      มีความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า และหูตั้งแต่กำเนิด
·     มารดาได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อเด็กขณะตั้งครรภ์
      มารดามีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
      ภาวะตัวเหลืองจนต้องถ่ายเลือด
      มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิด
      มีปัญหาระหว่างคลอด แรกคลอดต้องอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยแรกเกิด
      ได้ใช้เครื่องช่วย หายใจ ได้รับยาที่มีพิษต่อหู
      ภาวะขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์มารดาหรือระหว่างคลอด
      มีลักษณะที่เข้ากับโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน
การตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดจึงมีความสำคัญ  ในประเทศอเมริกาแนะนำให้เด็กแรกเกิดจนถึง 1 เดือน ต้องได้รับการตรวจการได้ยินเบื้องต้นเพื่อคัดกรอง  และเด็กควรได้รับการยืนยันการวินิจฉัยอายุไม่เกิน 3 เดือน  ปัจจุบันมีการนำเครื่องมือเพื่อตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดที่เรียกว่า OAE (Otoacoustic emission) โดยใช้ตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน  




ทำได้ง่ายขณะเด็กหลับตามธรรมชาติหรือนอนนิ่งๆในห้องที่เงียบ  ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ  ไม่ทำให้เด็กเจ็บปวด เพียงใช้เสียงกระตุ้นเข้าไปในหูทั้งสองข้าง แล้วรอการประมวลผลจากเครื่องตรวจ ทราบผลทันทีเมื่อสิ้นสุดการตรวจ  หากผลการตรวจไม่ผ่านในครั้งแรก  แพทย์หู คอ จมูกจะมีการนัดเพื่อตรวจซ้ำ หรือส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและให้การฟื้นฟูต่อไป

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...