วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด OAE (Otoacoustic emission)

การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด                    
บทความโดยแพทย์หญิงอโณทัย  พรเลิศ  (
โสต ศอ นาสิกแพทย์)        

       

                การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญสำหรับเด็ก  มีผลต่อพัฒนาการทางภาษา การสื่อความหมายด้วยการพูด และการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมต่อไป  ดังนั้นเด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยินควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินและรับการช่วยเหลือฟื้นฟูในทันที  มีการศึกษาพบว่าเด็กหูเสื่อมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุยังน้อย จะได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูมากที่สุด
                ภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด เป็นปัณหาที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา  มีรายงานอัตราการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็กทารกได้มากถึง 1-2 ราย ต่อ 1,000 รายของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี  โดยพบในอัตราที่มากขึ้นในทารกกลุ่มเสี่ยงได้แก่

      ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัมหรือคลอดก่อนกำหนด
      มีความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า และหูตั้งแต่กำเนิด
·     มารดาได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อเด็กขณะตั้งครรภ์
      มารดามีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
      ภาวะตัวเหลืองจนต้องถ่ายเลือด
      มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิด
      มีปัญหาระหว่างคลอด แรกคลอดต้องอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยแรกเกิด
      ได้ใช้เครื่องช่วย หายใจ ได้รับยาที่มีพิษต่อหู
      ภาวะขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์มารดาหรือระหว่างคลอด
      มีลักษณะที่เข้ากับโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน
การตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดจึงมีความสำคัญ  ในประเทศอเมริกาแนะนำให้เด็กแรกเกิดจนถึง 1 เดือน ต้องได้รับการตรวจการได้ยินเบื้องต้นเพื่อคัดกรอง  และเด็กควรได้รับการยืนยันการวินิจฉัยอายุไม่เกิน 3 เดือน  ปัจจุบันมีการนำเครื่องมือเพื่อตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดที่เรียกว่า OAE (Otoacoustic emission) โดยใช้ตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน  




ทำได้ง่ายขณะเด็กหลับตามธรรมชาติหรือนอนนิ่งๆในห้องที่เงียบ  ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ  ไม่ทำให้เด็กเจ็บปวด เพียงใช้เสียงกระตุ้นเข้าไปในหูทั้งสองข้าง แล้วรอการประมวลผลจากเครื่องตรวจ ทราบผลทันทีเมื่อสิ้นสุดการตรวจ  หากผลการตรวจไม่ผ่านในครั้งแรก  แพทย์หู คอ จมูกจะมีการนัดเพื่อตรวจซ้ำ หรือส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและให้การฟื้นฟูต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...