สาเหตุ
เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus
ระบาดวิทยา
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ
ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด
อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง
การวินิจฉัยโรค
จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด
การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
การป้องกัน
1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV
ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด
อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง
การวินิจฉัยโรค
จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด
การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
การป้องกัน
1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV
ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น