วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โรคที่หนูน้อยควรระวัง ฉบับที่ 1

บทความโดย พญ.อาริดา จันทร์แจ่ม (กุมารแพทย์ ร.พ.แมคคอร์มิค)

1. โรคพิษสุนัขบ้า

    โรคพิษสุนัขบ้าหรือ โรคกลัวน้ำ  เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า เรบี่ส์ (Rabies) ซึ่งทำให้เกิดโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สุจัขและแมวเป็นสัตว์แพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญที่สุดมาสู่มนุษย์
     คนที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสจะทำลายระบบประสาททำให้มีอาการปวดเมื่อย เพลีย มีไข้ ปวดศรีษะ กลัวน้ำ กลัวลม  กระสัมกระส่าย  มีอาการทางระบบประสาทเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้   หากติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีหรือปล่อยทิ้งไว้จะเสียชีวิตทุกราย

  • คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใด :  จากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า  เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอกที่ถูกสัตว์กัด ข่วน หรือ โดนน้ำลายจากสัตว์เลีย ทั้งบริเวณริมฝีปากหรือ เยื่อบุตา
  • รู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า  สัตว์จะมีอาการหงุดหงิด  ตื่นเต้น วิ่งพล่าน  ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ อย่างดุร้าย ถ้าเป็นสุนักจะดุร้าย 2-3 วัน หลังจากนั้นจะอ่อนเพลีย ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซและตายในที่สุด
  • จะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร  ควรหลีกห่างจากสุนัขจรจัด  ส่วนสตว์เลี้ยงในบ้านให้นำไปฉีดวัคซีนสัตว์ทุก ๆ ปี อคกประการคือในคนสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคแบบล่วงหน้าก่อนถูกสัตว์กัด ซึ่งปัจจุบันวัคซีนมีความปลอดภัยสูงและประทิทธิภาพดี

     ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกสัตว์กัด ข่วน เลีย
  1.  ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลาย ๆ ครั้ง  โยให้น้ำไหลผ่านมาก ๆ และทายาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน หรือ แอลกอฮอล์
  2. จดจำสัตว์น้ำให้ได้  เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า
  3. ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการดูแลที่ถูกต้อง  ซึ่งแพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและเซรุ่มตามความเหมาะสม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. โรคมือเท้าปากเปื่อย

  • เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี  พบมากช่วงหน้าฝนเด็กจะมาด้วยไข้  ร่วมกับมีผื่นเป็นตุ่มน้ำใสในช่องปากฝ่ามือและฝ่าเท้า
  • สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส  โดยได้รับไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยไวรัสอาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก  น้ำจากตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย
  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เด็กจะเริ่มมีไข้  อ่อนเพลียต่อมามีอาการเจ็บปาก  ไม่ยอมทานอาหาร จะสังเกตุพบตุ่มแดงบริเวณลิ้น  เหงือกและกระพุ้งแก้ม  ต่อมาตุ่มจะพองใสและแตกเป็นแผลตื้นและยังพบตุ่มลักษณะนี้บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าตุ่มนี้จะหายได้เองในเวลา 7 - 10 วัน
  • โรคนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่จะให้ยาตามอาการ เช่นยาลดไข้ ควรให้เด็กได้รับสารน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในเด็กที่เจ็บปากมากอาจแนะนำให้ทานอาหารเหลวและเย็นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปาก
  • ตามปกติเป็นโรคที่ไม่รุนแรง  แต่เชื้อไวรัสาบางชนิด อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูงลอย ซึม รับประทานอาการไม่ได้ อาเจียนบ่อย หายใจหอบ  แขนขาอ่อนแรง ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
  • โรคนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกัน  แต่ป้องกันด้วยรักษาสุขอนามัย  ควรตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร
------------------------------------- ติดตามโรคต่าง ๆ ได้ ใน ฉบับที 2 -----------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...