วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

การดื่มสุรา ภัยโรคตับที่คุณอาจไม่รู้ตัว


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเบียร์หรือสุรานั้น อย่คู่สังคมเรามากกว่า 4000 ปี ตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา ผลข้างเคียงของแอลกอฮอล์ซึ่งพบได้หลังจากดื่มเข้าไปคือทำให้เกิดอารมณ์ดีเมื่อได้รับในขนาดน้อยๆ ไปจนถึงอาละวาดและหมดสติได้ถ้าได้รับในปริมาณมาก เช่นกันมีการพบการเสียชีวิตของคนสำคัญของโลกจากการดื่มสุรา จนทำให้คนเหล่านั้นแทนที่จะทำประโยชน์แก่โลกเรากลับทำให้เสียชีวิตก่อนวัยที่ควรจะเป็น และโรคตับจากการดื่มสุราก็มีลักษณะแปลกๆอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีอาการแล้วมักมีอาการมากทรุดหนักอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีอาการเตือนมาก่อนเลย


“5 คำถามเกี่ยวกับภัยจากการดื่มสุรา”

  1. ในการดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณมากน้อยเท่าไหร่จึงทำให้เกิดปัญหาโรคตับแข็ง

    ตอบ  จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 80 กรัมหรือ 5 หน่วย เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี สามารถที่จะก่อให้เกิดตับแข็งได้ ผู้ที่บริโภคสุราในปริมาณดังที่กล่าวแล้วมีเพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้นที่จะเกิดตับแข็ง ในเมืองไทยอาจเป็นเร็ว และมากว่านี้ โดยปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ดีพอที่จะอธิบายว่าเพราะเหตุใด ผู้ที่บริโภคแอลกอฮอล์จำนวนมากจึงมิได้เป็นตับแข็ง และขอเตือนสำหรับคนที่ตับแข็งไปแล้วอาจไม่รู้ตัวว่าป่วยเพราะจะยังไม่มีอาการใดๆจนกว่าจะมีภาวะแทรกซ้อน ทางที่ควรเช็คกับแพทย์ ว่าเราเกิดปัญหาที่ตับบ้างหรือยัง
    Embed from Getty Images
  2. การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ อะไรบ้าง

    ตอบ โรคตับพอจะแบ่งได้ออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ โรคไขมันสะสมตับในตับ(Alcoholic fatty liver)เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มอย่างต่อเนื่องก็จะมีการลุกลามของโรคไปในระยะที่ 2ทำให้เป็นรุนแรงขึ้น คือโรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์(Alcoholic Hepatitis) ในระยะนี้ เป็นระยะซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ได้ด้วยอาการหลายแบบ ตั้งแต่ที่มีอาการน้อย เช่น จุกแน่นที่บริเวณชายโครงด้านขวาไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น อาการดีซ่าน ไข้สูง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางสติสัมปชัญญะตลอดจนตับวายได้ ผู้ที่ดื่มหยุดเหล้าในระยะนี้ ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นและอาจกลับเป็นปกติได้ สำหรับผู้ที่ยังดื่มต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ก็จะมีโอกาสลุกลามเข้าไปสู่ระยะที่ 3 ที่เรียกว่า ตับแข็งจากแอลกอฮอล์(Alcoholic Cirrhosis) เป็นระยะสุดท้ายที่พบว่ามีพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ผู้ที่เป็นตับแข็งยังจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของตับเพิ่มขึ้นอีกด้วย ผู้ที่หยุดดื่มในระยะนี้ตับจะมีการเสียหายอย่างถาวรและจะไม่สามารถกลับเป็นตับปกติได้อีก

  3. ทำไมแต่ละคนบางคนดื่มแล้วไม่ค่อยจะเป็นอะไร บางคนดื่มแล้วเกิดตับอักเสบ หรือตับแข็งได้เร็วกว่า
    Embed from Getty Images
    ตอบ ปัจจัยที่ทำให้ตับอักเสบ แต่ละคนไม่เหมือนกัน การเกิดการเมาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการทำลายตับของตัวเองโดยตรงใดๆ แต่การเกิดตับอักเสบและตับแข็งได้มากหรือน้อยกว่ากันมีปัจจัยต่างกันคือ

    3.1 เพศ ผู้หญิงจะเกิดเป็นทั้งตับอักเสบและตับแข็งได้เร็วกว่าแม้ว่าดื่มน้อยกว่าผู้ชายและผู้หญิงจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าในขณะที่ดื่มเท่ากันกับผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการกระจายของกล้ามเนื้อ ไขมันต่อแอลกอฮอล์น้อยกว่าผู้ชาย และผู้หญิงมีการดูดซึมแอลกอฮอล์มากว่าผู้ชายนั่นเอง

    3.2 กรรมพันธุ์ ปกติพิษของเหล้าจะเกิดหลังเหล้าผ่านตับ จะเปลี่ยนเป็นพิษที่เรียกว่ Acetaldehydeโดยผ่านเอนไซม์หลายชนิด พบว่ากรรมพันธุ์ในการสร้างสารพิษจากเหล้าในแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    3.3 ภาวะโภชนาการ ถ้าผอมจะเกิดโรคตับเร็วกว่าคนที่อ้วนกว่า

    3.4 การมีไวรัสตับอักเสบทำลายตับร่วมด้วย โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี ห้ามดื่มเหล้าเด็ดขาด ไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าด้วย

  4. เหล้าทำลายส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่

    ตอบ โรคแทรกซ้อนอื่นๆที่เกิดจากแอลกอฮอล์มีมากมาย ได้แก่
    - ระบบสมอง ระบบประสาท เกิดภาวะมือสั่น สับสนตกใจง่าย ตากลอกผิดปกติ เวียนศรีษะ งง มีอ่อนแรงแขนขา ตะคริวง่าย เป็นต้น
    -  ระบบทางเดินอาหาร เช่นกระเพาะอักเสบ อาจเป็นมะเร็งของคอ กล่องเสียง หลอดอาหารได้ง่ายกว่าคนปกติได้ ภาวะดูดซึมอาหารผิดปกติ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ภาวะท้องเสีย ถ่ายเป็นไขมัน เป็นต้น
    - โรคหัวใจ อาจมีหัวใจเต้นผิดปกติ โรคเส้นเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต
    -  ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะน้ำตาลสูงง่ายบางรายอาจเป็นเบาหวานได้ด้วย ภาวะไขมันสูงผิดปกติ เกลือแร่ แมกนีเซียมต่ำ ฟอสเฟตต่ำ
    -ภาวะกรดคีโตนสูง ภาวะเป็นหมัน หรืออัณฑะฟ่อโรคระบบเลือดผิดปกติ เช่นภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ และเกร็ดเลือดต่ำ หรือ สูง
  5. การรักษาภาวะตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ มีอะไรบ้าง

    ตอบ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การหยุดเหล้า ในรายที่ยังไม่มีตับแข็งแบบตับวาย หลังหยุดเหล้าแล้วการอยู่รอดมีอายุยืนยาวได้เท่าคนปกติ ถ้ามีตับแข็งแบบตับวายแล้ว ก็ตาม การอยู่รอดอายุยืนยาวก็ดีขึ้นด้วยกว่ายังดื่มต่อ

จะเห็นได้ว่าการดื่มสุรา ไม่ได้เป็นเป็นผลดีทั้งต่อสุขภาพและสังคม ฉะนั้นหนทางการเลิกสุราเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แรงกระตุ้นที่ทำให้เลิกเหล้า คือเราต้องหาต้นเหตุว่าอะไรที่ทำให้เราดื่ม เช่น สถานที่ ความเครียด เพื่อนชวน มีที่เก็บเหล้าทำให้หยิบดื่มง่าย การหยุดพักดูหนังทีไรชอบหาอะไรเข้าปาก ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหล้า ต้องแก้ต้นเหตุ รวมทั้งต้องประกาศวันเลิกเหล้าต่อเพื่อนหรือคนรัก
    Embed from Getty Images

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

    Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...