วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese encephalitis JE)

โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง คิวเล็กซ์


สาเหตุ
เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus

ระบาดวิทยา
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด

อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง

การวินิจฉัยโรค 
จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด

การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน 

1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
    ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese encephalitis JE)

โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง คิวเล็กซ์

สาเหตุ 
เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus

ระบาดวิทยา 
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทย จะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด

อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง

การวินิจฉัยโรค 

จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด

การรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน 

1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี
    ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติร่างกายมีการเจ็บป่วยไม่สบาย

สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจากพิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรซิส  พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี ฯลฯ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ ไวรัส ตับอักเสบ เอ บี ซี ดี อี ในที่นี้จะกล่าวถึงไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

ไวรัสตับอักเสบเอ : Hepatitis A

สาเหตุ เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาหารทะเลดิบ ๆ สุก ๆ ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับอุจจาระ ของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาหารของโรค เชื้อไวรัสนี้จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบว่ามีการระบาดในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร

อาการ ในเด็กหากได้รับเชื้อมักไม่มีอาการ แต่ในผู้ใหญ่มักมีอาการของตับอักเสบ โรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะหายขาดไม่มีโรคเรื้อรับและไม่ทำให้เกิดตับแข็ง


ไวรัสตับอักเสบบี : Hepatitis B

สาเหตุ  พบว่าคนเป็นพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่

           1.ได้รับเลือด น้ำเลือด ของผู้ที่มีเชื้อนี้  อาจเกิดจากการใช้ของมีคม ของใช้ที่เปื้อนเลือดร่วมกับผู้ติดเชื้อ  เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน การเจาะหูที่ไม่สะอาด เชื้อสามารถเข้าทางผิดหนัวที่ถลอกมีบาดแผล

            2.ทางเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อนี้ พบเชื้อไวรัสอักเสบบีได้ในน้ำอสุจิ น้ำช่องคลอด เมื่อคู่สมรส มีเชื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ต้องตรวจเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ

            3.ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจติดเชื้อได้ระหว่างคลอดการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดปัจจุบันแพทย์จะฉีดวัคซีนให้ทารกแรกคลอดทันทีร่วมกับการให้ภูมิคุ้มกันโรค

            4.ทางสัมผัสใกล้ชิด ระหว่างผู้มีเชื้อนี้กับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กในวัยเรียน

อาการ กรณีตับอักเสบเฉียบพลัน อาจมีการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ จุกใต้ชายโครงจากตับโต ตามมาด้วปัสสาวะเหลืองและตาเหลือง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2 - 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติตามด้วยเกิดภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการอะไร สามารถทำงานได้ตามปกติ

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

             ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการได้แก่  การพักผ่อนให้เพียงพอ งดการออกแรง ออกกำลังกาย การทำงานหนัก งดการดื่มสุรา ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเหลี่ยงอาการไขมันสูง ในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากและควรตรวจเช็คเลือด เป็นระยะ ๆ ถ้าพบปัญหาความผิดปกติของตับร่วมด้วย เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็ง เป็นต้น  ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 
  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนหลังทำสิ่งใด ๆ หลังการขับถ่ายการประกอบอาหารให้ถูกหลักอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่สุก ดื่มน้ำที่สะอาด
  2. หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้อื่น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่สำส่อนทางเพศ ควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

            4.1 ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
            4.2 เด็กทั่วไปเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมา
                  แล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีดวัคซีน ดังนี้
      • ถ้ามีผลตรวจ HbsAg, HbsAb เป็น ลบ ทั้งหมดควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
      • ถ้ามีผลตรวจเป็น บวก ตัวใดตัวหนึ่งไม่ต้องรับการฉีดวัคซีน
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ
  1. หลีกเหลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานที่หักโหมในช่วงที่มีตับอักเสบ แต่การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
  2. งดการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะจะทำให้ตับเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น
  3. รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควรรับประทานอาหารใหเป็น เวลาไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขั้นและทำให้ตับโต
  4. งดสูบบุหรี่ ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่มีผลโดยตรงกับโรคตับ แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย จึงควรงดสูบบุหรี่เพื่อทำให้สุขภาพแข็งแรง
  5. ทำจิตใจให้สบาย พยายามลดความเครียด หรือความวิตกกังวล
  6. หมั่นรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง พักผ่อนตามสมควร ไม่นอนดึกและไม่อดนอน
  7. ไม่ซื้อยากินเอง เพราะยาหลายชนิดเป็นพิษต่อตับก่อนซื้อยาทุกครั้งต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกร    ทราบว่าตนเองเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ข้อมูลจาก  
  1. ชมรมตับแห่งประเทศไทย
  2. ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเิดินอาหาร และ เวชาศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...