โดยปกติ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด ไม่เฉพาะหลอดเลือดหัวใจ ยังรวมถึงหลอดเลือดทั่วร่างกาย ได้แก่ หลอดเหลือดสมอง ไต แขนขา เกิดจากปัจจัยหลัก อาจแบ่งง่าย ๆ เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่อายุที่มากขึ้น อายุที่มากขึ้นนำมาซึ่งความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงระบบหลอดเลือดเช่านกัน ปัจจัยเสี่ยงอันเป็นผลจากภาวะความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ที่ส่งต่อมาให้สู่ลูกหลาน เป็นต้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันหรือดูแลให้น้อยลงได้ มีตั้งแต่ปัจจัยเสี่ยงที่ตั้งใจให้เกิดขึ้นเองได้แก่การสูบบุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการกินอยู่ รูปแบบการดำเนินชีวิต เป็นผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงตามมา
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดทั่วร่างกาย มีผลทำให้เกิดความผิดปกติของผนังหลอดเลือดตีบตันในที่สุด
เบาหวาน ผู้เป็นเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ถือว่ามีความเสี่ยงเท่ากับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมาแล้วครั้งหนึ่ง ผู้เป็นเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดภาวะไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตาทำให้ตาบอดเกิดอาการชาจากเส้นประสาทผิดปกติ แผลเรื้อรัง
ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโดยตรง ระดับความดันปกติควรอยู่ในระดับที่น้อยกว่า 120/80 มม.ปรอท ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่ามีความดันโลหิตสูง ส่วนผู้มีความดันโลหิตอยู่ระหว่างค่าดังกล่าว มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต การรักษาความดันโลหิตสูงควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ ควรได้รับยาเพื่อลดระดับความดัน รวมถึงการควบคุมอาหารโดยเฉพาะอาหารเค็มและการควบคุมน้ำหนัก
ไขมันในเส้นเลือดสูง ระัดับไขมันในเลือดที่เหมาะสมขึ้นกับภาวะความผิดปกติของร่างกาย ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวอาจยอมรับระดับไขมันในเกณฑ์สูงได้ สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมถึงโรคของหลอดเลือดอื่น ๆ ควรควบคุมระดับไขมันชนิด LDL ให้น้อยกว่า 100 mg/dl กรณีที่มีความเสี่ยงมาก การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงมีวิธีการตั้งแต่การกินยา การลดอาหารไขมัน แป้ง รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จึงควรหลีกเหลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว หมั่นตรวจสุขภาพ กรณีมีข้อสงสัยหรือความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์
ภาวะหัวใจวาย
อาจแบ่งภาวะหัวใจวายตามสาเหตุการเกิดได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. หัวใจวายจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ปกติลิ้นหัวใจทำหน้าที่คอยเปิด ปิด เพื่อให้เลือดผานจากหัวใจห้องหนึ่งไปยังอีกห้องได้อย่างมีระบบ และเป็นไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วที่รุนแรง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น เกิดภาวะหัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด
2. หัวใจวายจากปัญหาการบีบตัวที่ลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาที่ตัวกล้ามเนื้อหัวใจเป็นหลัก โดยปกติกล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่ในการบีบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อมีความผิดปกติของการบีบตัว จะส่งผลให้ความดันในปอดสูงขึ้นเกิดน้ำท่วมปอด เหนื่อยหอบ สาเหตุของความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากการดื่มสุรา ขาดสารอาหาร วิตามินบี กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
3. หัวใจวายในผู้ที่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นปกติ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การบีบตัวของหัวใจ แต่เกิดจากความผิดปกติในการขยายหรือคลายตัวรับเลือด พบว่ามีการพยากรณ์โรคหรืออัตราการเสียชีวิตเทียบเท่ากับในกลุ่มที่มีการบีบตัวของหัวใจไม่ดี อาจเกิดได้จากความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่พบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว หรือมีอาการดังกล่าวที่เข้าได้ โดยเฉพาะเหนื่อยหอบบวม ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ วินิจฉัยโรค และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป.
โดย นพ.กลกฤตย์ เขียนประสิทธิ์
อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ.แมคคอร์มิค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น