วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน

     เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ควรดูแลและป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมี 5 กลุ่ม รวมทั้งหมด 15 โรค ได้แก่
  

   1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ
     2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง
     3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม
     4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่
          4.1 ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน
          4.2 ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค
          4.3 โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค
     5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก กระเด็นเข้าตา

     นอกจากนี้ ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ถ้าเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองออก และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่องที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังคือการรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรคที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

     ในการป้องกันโรคในฤดูฝน ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูงอายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัยอื่นๆ อยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จงเตือนกันในวันนี้

        ในแต่ละวันมีอะไรมากมายที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ทุกคน มีทั้งสุข ทุกข์ หัวเราะ ร้องไห้ ตื่นเต้นท้าทาย แตกต่างกันไป โดยที่เราเองไม่อาจรู้ได้ว่าแต่ละวันเราจะต้องพบกับสถานการณ์และความรู้สึกอย่างไรบ้างในชีวิต พระวจนะของพระเจ้า ใน ฮีบรู 3:13 "ท่านจงเตือนสติกันและกันทุกวันตลอดเวลาที่เรียกว่า "วันนี้" เพื่อว่าจะไม่มีผู้ใดในพวกท่านมีใจแข็งกระด้านไปเพราะเล่ห์กลของบาป"

         ข้าพเจ้าขอหนุนใจเราทุกคนว่า แม้แต่ละวันเราไม่อาจรู้ได้ว่าเราจะพบกับสถานการณ์อย่างไรก็ตาม แต่ขอให้เราจงกระทำอย่างนี้

1. จงเตือนสติตัวเองทุกวัน บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมเตือนสติตัวเองในการใช้ชีวิตแต่ละวัน และสิ่งที่เราทำนั้นดีหรือไม่ มีผลอย่างไรต่อตัวเองกับผู้อื่น ในพระวจนะของพระเจ้าโคโลสี 3:17 "และเมื่อท่านจะกระทำสิ่งใดด้วยวาจาหรือด้วยกายก็ตามจงกระทำทุกสิ่งในพระนามของพระเยซูเจ้า และขอบพระคุณพระบิดาเจ้าโดยพระองค์นั้น" อย่าคอยที่จะแต่เตือนคนอื่น แต่ให้เตือนตัวเองอยู่ทุกวัน

2. จงเตือนสติกันและกันทุกวัน เราไม่ได้มีชีวิตอยู่แต่ลำพัง เราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อเราอยู่ร่วมกัน บางทีเราอาจจะมองไม่เห็นบางอย่างในตัวของเรา คนอื่นอาจจะมองเห็นเมื่อมีโอกาส จงเตือนสติกันและกันทุกวัน ไม่ว่าในครอบครัว ในที่ทำงาน คนรอบข้างเรา เตือนกันด้วยความรัก ความห่วงใย อย่างจริงใจ เพื่อจะทำให้เกิดความเข้าใจ และ กระทำสิ่งที่ถูกต้องต่อกันและกัน แต่อย่าให้เป็นการตำหนิ การเห็นแก่ตัว ไม่สนใจกัน เพราะนั่นไม่ใช่นัำพระทัยของพระเจ้า

ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ชูกำลังเราทุกคนเพื่อนเราจะสามารถเตือนสติกันและกันทุกวันที่เรียกว่า "วันนี้" แล้วเราจะได้ต้องเสียดาย ถ้าไม่มีโอกาสในวันพรุ่งนี้

คศ.สุดาทิพย์ ทรงศักดิ์ปรีชา
อนุศาสกโรงพยาบาลแมคคอร์มิค

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปวดข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome - CST )

เป็นโรคซึ่งพบบ่อยมากโรคหนึ่งในวัยกลางคนถึงคนสูงอายุ โรคนี้เกิดขึ้นเพราะเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกด ทำให้มีอาการ ปวด ชา และ อ่อนกำลังที่มือ โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือน จะหายขายได้

  สาเหตุ 

  1. เกิดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์การห่อของในโรงงาน เป็นต้น
  2. จากอุบัติเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูดหัก ข้ออักเสบ 
  3. จากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น
  อาการ 

อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึกต้องลุกขึ้นสะบัดมือสักพักแล้วค่อยทุเรา พอเป็นมากขึ้นจะมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา 

  การป้องกัน 
  1. พยายยามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่น การใช้คีมหยิบจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ
  2. เวลาที่ใช้เครื่องมือ ด้วยท่าที่ถือข้อมือจับแทนที่จะใช้นิ้วจับ
  3. พยายามใช้มือ ด้วยท่าทีถือข้อมือตรง ไม่งอมาก อาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย
  4. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย - ขวา พักการใช้มือครั้งคราว พยายามลดความกดดันมือเวลาใช้มือ
  การรักษา 
  1. ใช้ที่ดามข้อมือ ตลอดทั้งกลางคืน - กลางวัน
  2. รับประทานยาแก้อักเสบ
  3. การทำกายภาพบำบัด
  4. การฉีดยา
  5. การผ่าตัดผ้าเส้นพักผืดกดเส้นประสาทโดยการฉีดยาชาที่ข้อมือ อาการจะหายเร็วและได้ผลดีมาก
ในกรณีที่ปวดจากเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งเป็นโรคปวดข้อมือที่พบบ่อยที่สุด

  ช่วงที่ปวดอยู่ 
  • หลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
  • ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10-15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที  แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง
  ช่วงที่หายปวดแล้ว 
  • ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว วกางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยางขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
  • สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ สามารถทำได้ง่าย ๆ                ดังภาพต่อไปนี้

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)



     สาเหตูของโรคความดันโลหิตสูง

โรคที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง พบเพียงร้อยละ 10 - 15 เช่น โรคไต ต่อมไร้ท่อ ต่อมหมวกไต เมื่อรักษาต้นเหตุแล้วความดันโลหิตสูง ก็จะหายไป

ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 85 -  95 มักไม่ทราบสาเหตุ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดไป เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต

ความดันโลหิตสูงจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. ตามระดับความดันโลหิต
2. ตามการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ คือ

  • ไต
  • หัวใจ
  • สมอง
  • จอภาพในตา
  • หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ

3. จำแนกตามสมมติฐาน

  • ไม่ทราบสมมติฐานที่แน่ชัด
  • ผลจากยาคุมกำเนิด
  • จากครรภ์เป็นพิษ

      ค่าของความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ค่าความดันโลหิตเป็นเลข 2 ชุด

ตัวเลขแรก  เป็นค่าความดันโลหิตที่วัดเมื่อหัวใจบีบเต็มที่ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงร่างกาย
ตัวเลขหลัง เป็นค่าความดันที่วัดเมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่แล้ว



     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค

  1. อายุ   คนที่อายุน้อยถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีอายุมาก
  2. เพศ  เพศชายมีโอกาสเป็นอัมพาตและภาวะหัวใจวายตายมากกว่าเพศหญิง
  3. น้ำหนัก ถ้าลดน้ำหนักจะทำให้ความดันโลหิตลดลง
  4. ความเครียด การทำให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียดร่วมกับการลดความเครียดทางจิตใจ สามารถลดความดันโลหิตลงได้ อย่างแน่นอน
  5. พันธุกรรม

อาการ

1. ปวดศรีษะ  มักจะมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย ในตอนเช้า
2. ปวดศรีษะข้างเดียวแบบไมเกรน พบบ่อยในคนที่มีความดันโลหิตสูง
3. เลือดกำเดาออก

     การรักษาความดันโลหิตสูง

หลักในการรักษา คือ พยายามควบคุมให้ความดันต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ในคนที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย) อย่างต่อเนื่องโดย
  • ลดอาหารเค็ม
  • ลดน้ำหนัก
  • ทำจิตใจให้ผ่องใส 
  •  รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • มาพบแพทย์ตามกำหนด

       ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง


  1. สมอง อาจพบว่ามีเส้นเลือดในสมองแตก หรือมีอาการอุดตันของหลอดเหลือดในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้
  2. หัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. ไต     ทำให้เกิดภาวะไตวายได้

ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever)




ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ จะพบน้อยมาก ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างประปราย อาการมักไม่รุนแรง และมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มียุงลายชุกชุม

   สาเหตุของการเกิดไข้เลือดออก   

ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางวัน กล่าวคือยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงจะไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง ยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา หลุมที่มีน้ำขัง

   อาการ   เมื่อเป็นไข้เลือดออกแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน มีลักษณะไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง ปวดศรีษะ กระหายน้ำ ซึม มักมีอาการเบื่ออาหาร และอาเจียนร่วมด้วยเสมอ กินยาลดไข้ก็จะไม่ลด ในบางรายจะมีอาหารปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ ชายโครงขวา บางคนอาจมีผื่นแดงขึ้นตามลำตัว แขนและขา อาจจะพบรอยจ้ำเขียวด้วยก็ได้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง  2-7 วัน ถ้าไม่มีอาการรุนแรงไข้จะลดในวันที่ 5 - 7

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก

อาการจะเกิดระหว่างวันที่ 3-7 ของโรค อาการไข้จะลดลง แต่คนไข้จะมีอาการปวดท้อง และอาเจียน บ่อยขึ้น ซึม กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะบ่อย ชีพจรเบา เต้นเร็ว ความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการช็อก ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่รู้สึกตัว ปากเขียวคลำชีพจรไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือด มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
ระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลา 2 - 3 วัน ถ้าหากผู้ป่วยไม่เสียชีวิต ก็จะสามารถผ่านช่วงวิกฤตไปได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

ในรายที่ผ่านระยะที่ 2 แล้ว อาการก็จะค่อยดีขึ้นกลับเข้าสู่สภาพปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มกินอาหารได้ อาการปวดท้องจะลดลง อาการเลือดออกจะค่อย ๆ ดีขึ้น

   อาการแทรกซ้อน   

นอกจากภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะช็อคแล้วอาจะป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ แทรกซ้อนได้ หรืออาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำได้

ถ้าท่านสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรปฏิบัตตัวดังต่อไปนี้

1. กินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาจำพวก แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย
2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ
3. เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการดังกล่าวมาข้างต้น ควรพบแพทย์
4. ในรายที่ปวดท้องมาก อาเจียน รับประทานไม่ได้ กระสับกระส่าย ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

  การป้องกันไข้เลือดออกสามารถทำได้ดังนี้   

1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น

  • ปิดฝาโอ่งน้ำและล้างโอ่งน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • จานรองตู้กับข้าว ควรใส่ทรายอะเบทลงไปหรือเทน้ำเดือดทุก ๆ สัปดาห์ หรือเกลือแกง 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว
  • ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า ๆ ทิ้งเพื่อจะไม่เป็นที่ขังของน้ำ
2.  ระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น ควรนอนกลางมุ้ง หรือ ทายากันยุง


  อาการที่เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด   
  • อาการกระสับกระสาย หรือ ซึมมาก
  • ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
  • อาเจียนมาก
  • มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก
  • หายใจหอบ ปาก และ เล็บเขียว
  • มีรอยจ้ำตามตัวหลายแห่ง ถ้าพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพบแพทย์โดยเร็ว

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...