วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โรคทอลซิลอักเสบ (Tonsillitis)

โรคทอลซิลอักเสบ(Tonsillitis)
         
     ทอลซิลอักเสบเป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล ส่วนคออักเสบ
(Phayngitis)หมายถึงภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ บางครั้งอาจเกิดเพียงทอลซิลอักเสบหรือคออักเสบอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อพูดว่าต่อมทอลซิลอักเสบ จะหมายความถึงการอักเสบของต่อมทอนซิลซึ่งโดยมากเป็นทั้งสองข้างและมักมีอาการของหลอดคอหอยร่วมด้วย
สาเหตุของต่อมทอลซิลอักเสบ
         เมื่อร่างกายติดเชื้อจากผู้อื่นทำให้เชื้อในคอมีปริมาณมาก ต่อมทอลซิลซึ่งมีหน้าที่กรองเชื้อจะบวมแดง โตและเจ็บเกิดภาวะที่เรียกว่าต่อมทอลซิลอักเสบ(Tonsillitis) สาเหตุขึ้นกับอายุ เด็กโตหรือผู้ใหญ่จะเกิดจากเชื้อที่เรียกว่า Streptococcus ส่วนเด็กมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส

อาการของต่อมทอลซิลอักเสบ
1.มีอาการเจ็บคอ อาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยมากจะเจ็บมากกว่า 48 ชั่วโมง
2.กลืนอาหารลำบากโดยเฉพาะ เวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก สำหรับเด็กจะมีอาการน้ำลายไหลเนื่องจากกลืนลำบาก
3.มีอาการไข้ หนาวสั่น ไข้จะสูงหรือไข้ต่ำๆขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วย เชื้อที่เป็นสาเหตุหากเป็นเชื้แบคทีเรียจะมีไข้สูง
4.หากต่อมอักเสบเฉียบพลันจะมีไข้สูง หากต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังไข้จะต่ำๆ
5.คัดจมูก มีน้ำมูกแต่ไม่มาก น้ำมูกมักใส
6.ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
7.ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเจ็บหูเพราะการอักเสบของต่อมทอนซิลอาจจะส่งผลถึงการอักเสบของหู
8.อาจจะมีอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร
9.อาจมีต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอส่วนบน โตทั้งสองข้าง
10.มีกลิ่นปาก
11.มีจุดหนองที่ต่อมทอลซิลและต่อมน้ำเหลืองโตกดเจ็บ



การรักษาต่อมทอลซินอักเสบ
          ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่นๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7วัน


การรักษาโดยการผ่าตัด
          ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดโดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาตัดต่อมทอนซิลก็ต่อเมื่อ เป็นภาวะต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือเกิดการอักเสบปีละหลายครั้ง หลายปีติดต่อกันทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เช่นต้องขาดงาน หรือขาดเรียนบ่อย หรือเมื่อต่อมทอลซิลโตมากๆทำให้เกิดอาการนอนกรน และ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อีกทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยมีต่อมทอลซิลโต และแพทย์สงสัยว่า อาจเป็นมะเร็งของต่อมทอลซิลโดยตรง หรือมีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอแล้วหาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ แต่แพทยืสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมทอลซิล
          ฉะนั้นในการป้องกันโรคต่อมทอลซิลไม่ให้ลุกลามไปมากควรรีบพบแพทย์เพื่่อรักษาและวินิจฉัยเพิ่มเติมเมื่อมีอาการไม่ดีขึ้น เช่นมีอาการมากกว่า 4 วันโดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย และในการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ควรที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และเมื่อมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นทอลซิลอักเสบ(หรือมีไข้ เจ็บคอ) ควรพยายามอย่าอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและระวังอย่าให้ผู้ป่วยไอหรือจามรด อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย และหมั่นล้างมือเพื่อชะล้างเชื้อที่อาจติดมากับมือที่ไปสัมผัสถูกสิ่งของที่แปดเปื้อนของผู้ป่วย เพียงเท่านี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...