วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาวะปัสสาวะเล็ด


Embed from Getty Images

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดขึ้นได้กับทุกคน เราอาจจะเคยคิดว่าปัญหาหูรูดเสื่อมสภาพ ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการปัสสาวะเล็ดเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ในเด็กเล็กๆ วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงวัยกลางคน และผู้สูงอายุ

Embed from Getty Images

ภาวะปัสสาวะเล็ด คือปัญหาสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้องรังที่พบมากในผู้หญิงทั่วโลก อาการปัสสาวะเล็ด แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก มักพบในคนที่มีโรคทางระบบประสาทและสมองร่วมด้วยโดยมีปัสสาวะไหลตลอดเวลาจนต้องใช้แผ่นอนามัยซับ แค่เดินปกติหรือเดินเร็วหน่อยปัสสาวะก็เล็ดแล้ว กลุ่มที่สอง ปัสสาวะเล็ดเวลาออกแรงโดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่นไอ จาม เล่นกีฬา ยกของหนัก กลุ่มนี้จะพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด และกลุ่มที่สาม เรียกว่ากระเพาะปัสสาวะไวเกินไป เมื่อเริ่มรู้สึกปวดกำลังจะลุกไปเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะมักเล็ดออกมาเสียก่อนและจะมีอาการปัสสาวะบ่อย

4 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด

Embed from Getty Images

  •  กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง   เกิดจากกล้ามเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกราน มีการยืด หย่อนยานและอ่อนแรง หูรูดท่อปัสสาวะซึ่งอยู่ในกล้ามเนื้อส่วนนี้ด้วยก็เลยพลอยอ่อนแรงไปด้วย  ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ เกิดการเปิดออก ปล่อยให้ปัสสาวะเล็ดออกมา อาจเกิดจากการคลอดบุตรหลายคน อายุที่มากขึ้น หรือแม้แต่กรรมพันธุ์
  •  กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง   โดยปกติแล้ว แม้กระเพาะปัสสาวะจะเต็มแล้ว ก็จะไม่มีการปล่อยปัสสาวะออกมา ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะปัสสาวะ แต่สำหรับคนที่มีปัญหา แม้จะยังไม่อยากปล่อยก็กลั้นไมอยู่
Embed from Getty Images

  •  ความอ้วน   พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลทำให้เกิดการเพิ่มแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะขึ้นนั่นเอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเล็ดของปัสสาวะได้บ่อยๆ รวมถึงน้ำหนักตัวที่มากขึ้น อาจทำให้เกิดการยืดขยายของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานมากไป เช่นเดียวกับคนที่ตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเกิดอาการหย่อนยาน ไม่แข็งแรง
  •  การรับประทานอาหาร   อาหารที่รับประทานก็มีผลอย่างมากต่อกระเพาะปัสสาวะ เพราะก่อให้เกิดความระคายเคืองกับกระเพาะปัสสาวะ เช่นกลุ่มผลไม้ตระกูลส้มทั้งหลาย เครื่องดื่มพวกน้ำอัดลมทุกชนิด ชา กาแฟ และช๊อคโกแลต 

อาการปัสสาวะเล็ด

Embed from Getty Images
  • มีปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม โดยเกิดขึ้นมากกว่า 7 ครั้งต่อวัน
  • รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน และมีปัสสาวะเล็ดออกมาก่อนถึงห้องน้ำเป็นประจำ
  • ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ(มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้ง) โดยไม่มีการติดเชื้อหรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • ปัสสาวะราดโดยไม่รู้ตัว มักมีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
  • พบปัสสาวะหยดเปื้อนกางเกงชั้นใน หลังปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

แนวทางการรักษา

Embed from Getty Images

  1. เปลี่ยนพฤติกรรม พยายามอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อีกทั้งควรงดเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้มีอาการปวดปัสสาวะโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยๆได้
  2. ฝึกกลั้นปัสสาวะ  โดยการขมิบหูรูด ลักษณะเหมือนตอนที่กลั้นปัสสาวะ ทำอย่างน้อยวันละ  100 ครั้ง แล้วเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อยๆ วิธีนี้ต้องมีความอดทน เพราะต้องใช้เวลานับเดือนกว่าจะเห็นผลและควรทำต่อเนื่องเพื่อลดการเกิดซ้ำ
  3. บริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรง เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และได้ผลดี เพียงขมิบกล้ามเนื้อหูรูดอย่างแรงเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ และขมิบทำเช่นนั้นนานประมาณ 5 นาที หยุดขมิบ 10 วินาที แล้วทำซ้ำ ให้ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง ในตอนเช้า กลางวัน เย็น ทุกวันแล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งของการขมิบ
Embed from Getty Images

ที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่นไอ จาม หัวเราะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยยา หรือการรักษาด้วยยาไม่บรรลุเป้าหมาย    ในการรักษา แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาแบบอื่น เช่นการฉีดสาร Botulinum toxin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติก  ทำการกระตุ้นเส้นประสาท Sacral หรือ tibial ด้วยไฟฟ้า และทำการผ่าตัด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...