วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

มะเร็งปอด(Lung Cancer)

Embed from Getty Images

 มะเร็งปอด(Lung Cancer) 

             มะเร็งปอด คือ การเติบโตของเซลล์ปอดอย่างควบคุมไม่ได้ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอกในปอดในบางครั้งอาจเป็นเนื้อดี(ไม่ใช่มะเร็ง)หรือเนื้อร้าย(มะเร็ง)ก็ได้ มะเร็งปอดจะเกิดขึ้นบริเวณท่อลมหรือเนื้อเยื่อปอดซึ่ง เรียกว่า มะเร็งปอดปฐมภูมิ แต่หากมะเร็งที่แพร่กระจายไปปอดผ่านทางกระแสเลือด เรียกว่า มะเร็งปอดทุติยภูมิ โดยการเรียกชื่อมะเร็งจะขึ้นอยู่กับ ต้นกำเนิดของมะเร็ง เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายมาปอดก็ยังคงเรียกว่ามะเร็งเต้านมเหมือนเดิม

Embed from Getty Images

              มะเร็งปอดส่วนใหญ่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ และเนื่องจากมะเร็งปอดมีการลุกลามเร็ว เมื่อมีอาการแสดงชัดเจนมักตรวจพบว่าเป็นระยะท้ายรักษาไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นทางที่ดีควรหาทางป้องกันด้วยการไม่สูบบุหรี่ ซึ่งร้อยละ 80-90 มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ซึ่งมีสารก่อมะเร็งอยู่หลายชนิด ยิ่งสูบปริมาณมากและนาน ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นแม้แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่รับควันบุหรี่จากคนข้างเคียง(เช่น คนในบ้านเดียวกัน หรือในที่ทำงานที่สูบบุหรี่)มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ถ้าเลิกสูบ ก็จะลดความเสี่ยงลงได้

Embed from Getty Images

 สาเหตุของมะเร็งปอด 

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด รวมไปถึงการสูบบุหรี่มือสองด้วยการสูดดมควันบุหรี่ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การสัมผัสกับแร่ใยหิน การสัมผัสกับก๊าซเรดอน กินผักผลไม้น้อย เคยเป็นดรคปอดบางอย่าง เช่น วัณโรค และเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นโรคเอดส์

Embed from Getty Images

 อาการของโรคมะเร็งปอด 

มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น สามารถสังเกตได้จาก
  1. อาการไอเล็กน้อยเกือบตลอดเวลาและไอมากขึ้นเรื่อยๆหรือไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
  2. ไอปนเลือด
  3. หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
  4. เจ็บหน้าอก
  5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  6. ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ

นอกจากนี้ยังมีบางอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อย เช่น หายใจมีเสียงวีด รูปร่างของปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนแปลงไป ไข้ขึ้นสูง กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ ใบหน้าและคอมีอาการบวม

Embed from Getty Images

 การวินิจฉัยมะเร็งปอด 

          แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น และทำการถ่ายภาพรังสีทรวงอก หากอาการหรือภาพรังสีทรวงอกเข้าได้กับมะเร็งปอด คุณจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางทรวงอกเพื่อได้รับการดูแลต่อไป โดยแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย รวมถึงระบุระยะของโรคมะเร็งด้วยการทำ CT scan และ การส่องกล้องทางหลอดลม

Embed from Getty Images

 ระยะของมะเร็งปอด 

 ระยะที่ 1  มะเร็งจำกัดอยู่ภายในปอด อาจลุกลามถึงหลอดลม หรือเยื่อหุ้มปอดชั้นใน แต่ยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
 ระยะที่ 2  มะเร็งลุกลาม ไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด หรือรอบๆ หลอดลม หรือลุกลามไปยังผนังทรวงอก(กระดูก ซี่โครง) กะบังลม เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก หรือเยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก
 ระยะที่ 3  มะเร็งลุกลาม ไปยังผนังทรวงอก กะบังลม เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก ร่วมกับแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอดหรือรอบๆหลอดลม หรือไปยังเนื้อเยื่อภายใน หัวใจ ท่อลม หลอดอาหาร หรือกระดูกสันหลัง หรือแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าหรือประจันอก ข้างเดียวกัน หรือแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดหรือประจันอกในทรวงอกข้างตรงข้าม
 ระยะที่ 4  มะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆที่นอกปอด เช่น สมอง ไขสันหลัง ตับ กระดูกทั่วร่างกาย เป็นต้น

Embed from Getty Images

 การรักษามะเร็งปอด 

          เมื่อได้รับผลการวินิจฉัยที่แน่นอนว่าเป็นมะเร็งปอด แพทย์จึงสามารถระบุถึงวิธีที่ใช้ในการรักษาได้ แต่ทั้งนี้ยังต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบกันด้วย เช่น ความรุนแรงของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นใด ชนิดของมะเร็งปอด วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล หรือแม้แต่โอกาสในการรักษามะเร็งให้หายขาด เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยหลักๆการรักษามี 3 วิธี คือ
  1. การผ่าตัด (Surgery) 
  2. การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือคีโม(Chemotherapy)
  3. การฉายแสง(Radiation Therapy)
Embed from Getty Images

 การป้องกันโรคมะเร็งปอด 

โรคมะเร็งปอดยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
  1. ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่
  3. เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  4. ป้องกันตนเองจากมลภาวะหรือควันพิษ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Embed from Getty Images

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...