วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
โดย นพ.สุทธิพันธ์  วงศ์วนากุล      ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค



       โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การที่ผู้ป่วยมีอาการอักเสบที่กระเพาะปัสสาวะบริเวณท้องน้อยซึ่งเป็นระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้



                  มักเกิดกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-50 ปี                                           
        โดย 50 % ของผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสักครั้งหนึ่งในชีวิต สาเหตุที่พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก มีความยาวเพียงประมาณ 3-4 เซนติเมตร ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย


ปัจจัยเสี่ยง

1.ดื่มน้ำน้อย
2.ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
3.หลังการมีเพศสัมพันธ์ , การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์, การติดเชื้อช่องคลอดและมดลูก
4.ชอบสวนล้างช่องคลอด
5.สตรีวัยหมดประจำเดือน
6.ต่อมลูกหมากโตในผู้ชายวัย 50 ปีขึ้นไป
7.กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ
8.ผู้ที่ป็นโรคเบาหวาน , ผู้ที่มีความคุ้มกันบกพร่อง , สูบบุหรี่
9.คนชรา
10.ผู้ป่วยโรคนิ่ว
11.ผู้ที่เคยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
12.การคุมกำเนิดโดยยาฆ่าอสุจิ , ฝาครอบปากมดลูก (Diaphoagm)

การวินิจฉัย
1.การซักประวัติและตรวจร่างกาย
2.การตรวจน้ำปัสสาวะและการเพาะเชื้อน้ำปัสสาวะ จะพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรียในน้ำปัสสาวะ


การรักษา 
1.การใช้ยาฆ่าเชื้อ (ปฏิชีวนะ) ซึ่งมีหลายชนิด ระยะเวลารักษาส่วนใหญ่ ประมาณ 3-7 วัน  ถ้าโรคมีความซับซ้อนต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาประมาณ 10-14 วัน โดยจำเป็นต้องรับประทานยาให้ถูกต้อง,ครบตามกำหนด เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้น ภายใน 2-3 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงจำเป็นต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด  เพื่อปรับยาฆ่าเชื้อหรือต้องรักษาวิธีอื่นเพิ่มเติม
2.ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร  หรือประมาณ 8-10 แก้ว เพื่อจะให้ปัสสาวะขับ
เชื้อแบคทีเรียออกมา
3.รับประทานยาลดอาการปวดเกร็งท้องน้อย ทำให้อาการปวดท้องน้อยปัสสาวะบ่อยดีขึ้น


การป้องกัน

                                     1.ดื่มน้ำวันละประมาณ 2 ลิตร

2.งดกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
3.งดสวนล้างช่องคลอด ล้างเฉพาะบริเวณด้านนอกและซับให้แห้ง
4.ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยถุงยางอนามัย
5.ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ เพื่อหาสาเหตุอื่นๆ เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต
6.ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
7.ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเองเป็นประจำเพราะจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)

Embed from Getty Images  โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)            ปัจจุบันโลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำ...